หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความเสี่ยงในงานการทำให้ปราศจากเชื้อ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-EHND-599A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความเสี่ยงในงานการทำให้ปราศจากเชื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3212 : เจ้าหน้าที่เทคนิคในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประเมินค้นหารายงานความเสี่ยง ปัจจัยอันตราย สามารถเฝ้าระวัง จัดการความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง มีการจัดเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์และติดตามเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรวมถึงการพัฒนาระบบ การทํางานที่สามารถป้องกันการเกิดความเสี่ยงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักจัดการงานปราศจากเชื้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
แนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Prevention of Nosocomial Infections Principles and Guidelines) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
CSS20021

ค้นหาความเสี่ยงทั้งเชิงรุก / เชิงรับ (Risk Identification)


PC1.ค้นหาความเสี่ยงและสิ่งที่คุกคามในกระบวนการ/ขั้นตอนการทำให้ปราศจากเชื้อ

CSS20021.01 181513
CSS20021

ค้นหาความเสี่ยงทั้งเชิงรุก / เชิงรับ (Risk Identification)


PC 2.ระบุและจัดทำข้อมูลความเสี่ยง/สิ่งที่คุกคามด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของบุคลากรในหน่วยงาน

CSS20021.02 181514
CSS20022

วิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)


PC 1.วิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยง

CSS20022.01 181515
CSS20022

วิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)


PC 2.ประเมินโอกาสเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง

CSS20022.02 181516
CSS20023

จัดการความเสี่ยง (Risk Treatment)


PC 1.ออกแบบและวางระบบควบคุมความเสี่ยง 

CSS20023.01 181517
CSS20023

จัดการความเสี่ยง (Risk Treatment)


PC 2.จัดทำมาตรการป้องกันความเสี่ยง

CSS20023.02 181518
CSS20024

ติดตามและประเมินผล (Risk Monitor and Review)


PC 1.ควบคุม ติดตามมาตรการความเสี่ยงที่กำหนดไว้

CSS20024.01 181519
CSS20024

ติดตามและประเมินผล (Risk Monitor and Review)


PC 2. ทบทวนและปรับปรุงมาตรการความเสี่ยง หลังจากประเมินความเสี่ยงคงเหลือ (Review of Residual Risk)

CSS20024.02 181520

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงด้านงานปราศจากเชื้อ

2. ความสามารถในการระบุ บ่งชี้ ความเสี่ยงด้านงานปราศจากเชื้อ

3. ความสามารถในการจัดทำแผนและรายงานการจัดการความเสี่ยงด้านงานปราศจากเชื้อ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือแพทย์ 

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงในงานปราศจากเชื้อ

3. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงในงานปราศจากเชื้อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงหรือรายงานรายละเอียดในบัญชีความเสี่ยงหน่วยงาน

2. แสดงเอกสารหรืออธิบายหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงในหน่วยงาน

14.2 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แสดงหรือระบุหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงในงานปราศจากเชื้อของหน่วยงาน

2. เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยง หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผน และวิธีการปฏิบัติในการทำให้ปราศจากเชื้อ การบริหารงานบุคคลและควบคุมกำกับ รวมทั้งการบริหารจัดการพื้นที่ในงานจ่ายกลางให้ได้มาตรฐานตามหลักของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

2. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ13

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการที่ต้องมีกิจกรรมการทำลายเชื้อหรือฆ่าเชื้อ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความมุ่งหมายใช้เฉพาะสำหรับมนุษย์และสัตว์ โดยปฏิบัติงานในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเป็นไปตามแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(ก)    คำแนะนำ

(1)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(2)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติสำหรับการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์ในสถานพยาบาล;  The APSIC Guidelines for Disinfection and Sterilization of Instruments in  Health Care Facilities.

(3)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางประเมินสมรรถนะงานจ่ายกลาง; ชมรมศูนย์กลางงานปราศจากเชื้อแห่งประเทศไทย. (2556).

(4)    ศึกษาและทำความเข้าใจหลักและแนวทางปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (2554) (Prevention of Nosocomial Infections Principles and Guidelines); อะเคื้อ อุณหเลขกะ . 

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

การบริหารความเสี่ยง เป็นระบบงานที่สำคัญที่สถานพยาบาลต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 4 ขั้นตอนได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยง และการประเมินผล เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง แต่ละชนิดใช้ในสถานการณ์แตกต่างกัน ได้แก่ FMEA (failure mode affect analysis) เป็นกระบวนการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกเมื่อยังไม่เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยง RCA (root cause analysis) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าเมื่อเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้นแล้ว นำไปสู่แนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ ส่วน system tracer เป็นกระบวนการตามรอยระบบงานเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางที่กำหนดไว้

ปัจจัยอันตราย หมายถึง แสงสว่างไม่เพียงพอ เสียงดัง ความร้อน การถ่ายเทอากาศไม่ดี อุบัติเหตุ การยศาสตร์ เคมี จิตสังคม

ระบาดวิทยาของการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Epidemiology of Hospital-Associated Infection) หมายถึง ลักษณะการกระจายของการติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมทั้งวิธีการแพร่กระจายเชื้อและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้รับเชื้อและเกิดการติดเชื้อ

องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Epidemiologic Triad )ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผู้ป่วย (Host) เชื้อก่อโรค (Agent) สิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่ให้การดูแลผู้ป่วย(environment) 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าแล้วให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

1)   ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียน

2)   ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3) ประเมินภาคความรู้ก่อนหน้าด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4)  ประเมินภาคความรู้และความสามารถก่อนหน้าด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน   

 



ยินดีต้อนรับ