หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบการทำให้ปราศจากเชื้อ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HROP-598A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบการทำให้ปราศจากเชื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3212 : เจ้าหน้าที่เทคนิคในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดทำนโยบายและวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำให้ปราศจากเชื้อ  การจัดการงานบุคคลและควบคุมกำกับ รวมทั้งการจัดการพื้นที่ในงานจ่ายกลางให้ได้มาตรฐานตามหลักของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักจัดการเครื่องมือปราศจากเชื้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
แนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
CSS20011

จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (Work instruction)  ในการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์  

PC 1.จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (Work instruction) เช่น การนำเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ซ้ำมาทำให้ปราศจากเชื้อ,เครื่องมือแพทย์ที่นำมาจากภายนอกสถานพยาบาล การเรียกคืนเครื่องมือแพทย์กลับ(recalling process) กรณีเกิดอุบัติการณ์ เป็นต้น

CSS20011.01 181498
CSS20011

จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (Work instruction)  ในการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์  

PC 2.จัดทำแนวทางการปฏิบัติเรื่องการนำเครื่องมือแพทย์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาใช้ซ้ำ (Reuse of single use) เป็นลายลักษณ์อักษร

CSS20011.02 181499
CSS20012

ออกแบบ ควบคุม กำกับการจัดเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงประเมินผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

PC 1. ออกแบบ ควบคุม กำกับการวิธีการจัดเก็บเอกสารและข้อมูล แบบบันทึกต่าง ๆ ของงานปราศจากเชื้อ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  

CSS20012.01 181500
CSS20012

ออกแบบ ควบคุม กำกับการจัดเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงประเมินผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

PC 2. ประเมินผลลัพธ์ของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ และแนวทางการแก้ไข อย่างต่อเนื่อง

CSS20012.02 181501
CSS20013

จัดการให้บริการงานปราศจากเชื้อ

PC 1. วางแผนและกำหนดแผนปฏิบัติการในการให้บริการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อตามบริบทขององค์กร (บริการแบบเชิงรุกหรือเชิงรับ) 

CSS20013.01 181502
CSS20013

จัดการให้บริการงานปราศจากเชื้อ

PC 2. วางแผนและกำหนดแผนปฏิบัติการ ในการจัดหาวัสดุ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ เหมาะสมตามบริบท ทั้งในกรณีปฏิบัติงานประจำ ฉุกเฉิน หรือเมื่อเกิดอุบัติภัย

CSS20013.02 181503
CSS20014

จัดการเครื่องมือแพทย์สำหรับให้บริการในการรักษาพยาบาลและการผลิต


PC 1. วางแผนและกำหนดแผนปฏิบัติการ ในการประสานงานและจัดการด้านทรัพยากรเครื่องมือแพทย์ ที่ให้บริการรักษาพยาบาลและการผลิต 

CSS20014.01 181504
CSS20014

จัดการเครื่องมือแพทย์สำหรับให้บริการในการรักษาพยาบาลและการผลิต


PC 2. วางแผนและกำหนดแผนปฏิบัติการ ในการจัดเตรียม จัดหา และ บำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องมือแพทย์ได้อย่างเพียงพอเหมาะสม คุ้มค่าและทันสมัยต่อสถานการณ์ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

CSS20014.02 181505
CSS20015

จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

PC 1. วางแผนจัดอัตรากำลังที่เหมาะสม ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

CSS20015.01 181506
CSS20015

จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

PC 2.มอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

CSS20015.02 181507
CSS20015

จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

PC 3.ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

CSS20015.03 181508
CSS20015

จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

PC 4.กำกับ ดูแล ติดตามสุขภาพบุคลากร และอาชีว อนามัยความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

CSS20015.04 181509
CSS20016

จัดการงานด้านพื้นที่ เส้นทางสัญจรของบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และสาธารณูปโภค

PC 1. จัดสรรพื้นที่ในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน และบริบทองค์กร โดยแยกสัดส่วนชัดเจน ดังนี้
(1) พื้นที่ทำความสะอาด (dirty zone)  (2) พื้นที่จัดเตรียมและบรรจุห่อ (cleaning zone) 
(3) พื้นที่จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (sterile storage zone) 


CSS20016.01 181510
CSS20016

จัดการงานด้านพื้นที่ เส้นทางสัญจรของบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และสาธารณูปโภค

PC 2. จัดระบบสัญจรของบุคลากร (People flow)  การถ่ายเทอากาศ (Air flow)  และการลำเลียงเครื่องมือแพทย์ (Work flow) ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

CSS20016.02 181511
CSS20016

จัดการงานด้านพื้นที่ เส้นทางสัญจรของบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และสาธารณูปโภค

PC 3.จัดระบบด้านสาธารณูปโภค ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ ระบบแสงสว่าง ระบบไหลเวียนและระบบปรับอากาศ

CSS20016.03 181512

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (Work instruction) ในการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์  

2. สามารถแนะนำและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องมือแพทย์

3. สามารถควบคุมกำกับ และนิเทศงานการทำให้ปราศจากเชื้อ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ 7 ขั้นตอน

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวางแผน วิเคราะห์ ประเมินคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพ

3. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การบริหารจัดการความเสี่ยง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงและอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work instruction) เกี่ยวกับกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ 7 ขั้นตอน การนำเครื่องมือแพทย์จากภายนอกมาใช้ (Loaner Management) ขั้นตอนการเรียกคืนเครื่องมือ (recall) และการนำเครื่องมือแพทย์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาใช้ซ้ำ (Reuse)

2. แสดงและอธิบายวิธีการรายงานบันทึกการปฏิบัติงาน แสดงข้อมูลต่างๆที่ได้ปฏิบัติในการทำให้ปราศจากเชื้อ 7 ขั้นตอน โดยแสดงเป็นข้อมูลดิบหรือข้อมูลเชิงสถิติที่แปลความหมายเป็นตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ฯลฯ

3. แสดงและอธิบายวิธีการมอบหมายงานรายวัน (Daily Assignment) และการจัดทำตารางเวร

3. แสดงและอธิบายวิธีการมอบหมายภาระงานในความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง (Job Assignment)

4. แสดงและอธิบายวิธีจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และการประเมินสมรรถนะประจำปี

5. แสดงและอธิบายวิธีการเขียน Service profile บอกว่าหน่วยงานหรือทีมมีหน้าที่ทำอะไร ให้แก่ใคร ทำให้เกิดคุณค่าอะไร ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนและติดตามการพัฒนาคุณภาพ และการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน

6. แสดงหรืออธิบายวิธีการจัดเก็บเอกสารและข้อมูล แบบบันทึกต่าง ๆ ของงานปราศจากเชื้อ

7. แสดงหรืออธิบายผลลัพธ์ของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ

8. แสดงหรืออธิบายวิธีการให้บริการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อตามบริบทขององค์กร

9. แสดงหรืออธิบายวิธีการจัดหาวัสดุ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ เหมาะสมตามบริบท ทั้งในกรณีปฏิบัติงานประจำ ฉุกเฉิน หรือเมื่อเกิดอุบัติภัย

10. แสดงหรืออธิบายวิธีการประสานงานในการจัดการด้านทรัพยากรเครื่องมือแพทย์ ที่ให้บริการรักษาพยาบาลและการผลิต

11. แสดงหรืออธิบายวิธีการจัดเตรียม จัดหา และ บำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องมือแพทย์ได้อย่างเพียงพอเหมาะสม คุ้มค่าและทันสมัยต่อสถานการณ์ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

14.2 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุและอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work instruction) ในแต่ละขั้นตอนของการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์      

2. ระบุและอธิบายหลักการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น การสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน การได้รับวัคซีน การล้างมือ ฯลฯ โดยการสัมภาษณ์

3. เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน (ตามข้อ 13) หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานในการทำให้ปราศจากเชื้อ การจัดการงานบุคคลและควบคุมกำกับ รวมทั้งการจัดการพื้นที่ในงานจ่ายกลางให้ได้มาตรฐานตามหลักของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

2. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14


15. ขอบเขต (Range Statement)

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการที่ต้องมีกิจกรรมการทำลายเชื้อหรือฆ่าเชื้อ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความมุ่งหมายใช้เฉพาะสำหรับมนุษย์และสัตว์ โดยปฏิบัติงานในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเป็นไปตามแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(ก)    คำแนะนำ

(1)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(2)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติสำหรับการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์ในสถานพยาบาล;  The APSIC Guidelines for Disinfection and Sterilization of Instruments in  Health Care Facilities.

(3)    ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางประเมินสมรรถนะงานจ่ายกลาง; ชมรมศูนย์กลางงานปราศจากเชื้อแห่งประเทศไทย.(2556).

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

มาตรฐานตามหลักของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ประกอบด้วย 

(1)    การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work instruction) ในแต่ละขั้นตอนของการทำให้ปราศจากเครื่องมือแพทย์  

(2)    การจัดเก็บบันทึกข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการ และมีการควบคุมกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

(3)    การเขียนขั้นตอนการนำเครื่องมือแพทย์จากภายนอกมาใช้ ( loaner management)

(4)    การเขียนขั้นตอนในการเรียกคืนเครื่องมือแพทย์ (recall) 

(5)    การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และวิธีการที่นำมาใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์

(6)    วิธีการปฏิบัติในการจัดหา คัดสรร วัสดุ เวชภัณฑ์  เครื่องมือแพทย์

(7)    การเขียนระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณสมบัติ การศึกษา การฝึกอบรมของผู้บริหารและบุคลากร 

(8)    การดำเนินงานด้านควบคุมป้องกันการติดเชื้อ

(9)    การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพของบุคลากร

(10)    การจัดการภาวะฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ

(11)    การกำหนดตัวชี้วัด ครอบคลุมมิติของคุณภาพด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของประสิทธิภาพการทำงาน

(12)    การจัดการพื้นที่ เส้นทางสัญจรของบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และสาธารณูปโภค ได้แก่ ระบบระบายอากาศ ระบบน้ำ ระบบแสงสว่าง 

กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ คือ การปฏิบัติงานตามกระบวนการ 7 ขั้นตอนตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ 

(1)    การรับเครื่องมือปนเปื้อน (Received)

(2)    การล้างทำความสะอาด (Cleaning)

(3)    การห่อบรรจุ (Packaging)

(4)    การจัดเรียงเข้าเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ (Loading)

(5)    การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization)

(6)    การจัดเก็บ (Storage)

(7)    การจ่ายเครื่องมือแพทย์ปลอดเชื้อ (Distribution)

การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization) คือ การกำจัดหรือทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย โดยวิธีการทางกายภาพ ได้แก่ การอบไอน้ำภายใต้ความดัน (autoclave) การอบไอร้อน การอบแก๊สหรือการใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง

เครื่องมือแพทย์จากภายนอกโรงพยาบาล (Loaner) คือ เครื่องมือแพทย์ที่ขอยืมจากบริษัทมาใช้ในการทำหัตถการทางการแพทย์ให้ผู้ป่วย

Recall คือ การเรียกคืนเครื่องมือแพทย์กลับคืนมายังหน่วยงานที่ทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

ภาวะฉุกเฉิน (ทางสาธารณสุข) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน  เหตุการณ์การเกิดโรคและภัยคุกคามสุขภาพ ได้แก่ โรคและภัยสุขภาพที่มากับภัยธรรมชาติ ภัยสุขภาพที่เกิดจากสารเคมี ภัยสุขภาพที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสี โรคติดต่อ และเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและอุบัติภัย

ภัยพิบัติ คือ ภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ตัวชี้วัด คือ หน่วยวัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหน่วยที่วัดควรเป็นตัวเลขที่นับได้จริง และสื่อถึงเป้าหมายในการปฏิบัติงาน เพื่อความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมาย การติดตามและการประเมินผลในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

คุณภาพ คือ ระดับของคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์บริการ กระบวนการ  ตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผลงาน (Performance appraisal) คือ กระบวนการที่เป็นระบบ (Systematic Process) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำการวัดคุณค่าของบุคลากรในการปฏิบัติงานภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบและมีมาตรฐานแบบเดียวกัน

การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) คือ กระบวนการในการประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ พฤติกรรมการทำงานของบุคคล รวมทั้งคุณลักษณะที่แสดงออกและเปรียบเทียบกับระดับสมรรถนะที่คาดหวังในตำแหน่งงานนั้นๆ เพื่อกำหนดวิธีการพัฒนาบุคคลหรือนำไปใช้ในการวางแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) คือการวางแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลที่เน้นการสื่อสาร การตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ในการพัฒนาจุดเด่นและข้อควรพัฒนา/ปรับปรุงสิ่งที่จำเป็นของแต่ละบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามสายอาชีพและบรรลุเป้าหมายขององค์กร

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าแล้วให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2) ประเมินภาคความรู้ก่อนหน้าด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

3) ประเมินภาคความรู้และความสามารถก่อนหน้าด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ