หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-CIPH-596A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3212 เจ้าหน้าที่เทคนิคในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะและความสามารถในตรวจสอบจัดการสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบ การจัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ โดยคงสภาพความปลอดเชื้อตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักจัดการงานปราศจากเชื้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
แนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 1 ทำความสะอาดมือและสวมเสื้อคลุมสะอาดและเปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าห้องเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

CSS10041.01 181443
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 2 ตรวจสอบสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

CSS10041.02 181444
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 3 ตรวจนับจำนวนเครื่องมือแพทย์คงคลัง และคัดแยกเครื่องมือหมดอายุออกนำไปผ่านกระบวนการปราศจากเชื้อใหม่

CSS10041.03 181445
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 4 นำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)ที่เหมาะสมตามมาตรฐานเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ(sterilizer)

CSS10041.04 181446
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 5 ตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อก่อนนำไปจัดเก็บในตู้หรือชั้นเก็บ

CSS10041.05 181447
CSS10041

จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 6 จัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อทั้งระบบเปิดและระบบปิด

   (1) ยกประเภทเครื่องมือจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ชัดเจน

   (2) จัดเรียง แบบ First in First Out (FIFO)


CSS10041.06 181448
CSS10042

แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 1 ตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและยังคงสภาพการปราศจากเชื้อตามมาตรฐานกำหนด

CSS10042.01 181449
CSS10042

แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 2 จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ พร้อมตรวจนับให้ถูกต้องตามรายการ หน่วยงาน ก่อนใส่ภาชนะบรรจุและรถขนส่งเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อที่ถูกต้องตามมาตรฐาน 

CSS10042.02 181450
CSS10042

แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 3 ทำความสะอาดมือด้วย alcohol hand rub ก่อนนำเครื่องมือแพทย์เพื่อจ่ายให้หน่วยงาน

CSS10042.03 181451
CSS10042

แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

PC 4 แจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ให้ถูกต้อง ครบถ้วน

CSS10042.04 181452

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถทำความสะอาดมือก่อนจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ

2. สามารถจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. สามารถนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ

4. สามารถตรวจสอบสภาพห่อบรรจุเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง

5. สามารถจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง 

6. สามารถแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

2. ความรู้เกี่ยวกับการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อและงานอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกันงานจ่ายกลาง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  แสดงและอธิบายวิธีการทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ

2.  แสดงและอธิบายวิธีการตรวจสอบห่ออุปกรณ์เครื่องแพทย์ปราศจากเชื้อผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน

3.  แสดงและอธิบายวิธีการจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. แสดงและอธิบายวิธีการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

4. แสดงและอธิบายวิธีการเตรียมอุปกรณ์ในการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

5. แสดงและอธิบายวิธีการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ 

6. เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ (ตามข้อ 14)

14.2 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุและอธิบายวิธีทำความสะอาดมือก่อนจับเครื่องมือปราศจากเชื้อ

2. ระบุและอธิบายวิธีจัดเตรียมพื้นที่ และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

3. ระบุและอธิบายวิธีนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ

4. ระบุและอธิบายวิธีตรวจสอบสภาพห่อบรรจุเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง

5. ระบุและอธิบายวิธีจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง

6.  ระบุและอธิบายวิธีแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง

7.  เอกสาร หนังสือรับรอง หรือวุฒิบัตร ที่แสดงถึงการผ่านการศึกษา การอบรม ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานปราศจากเชื้อ อาทิ วุฒิบัตรด้านการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ (ตามข้อ 14)

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและแจกจ่ายเครื่องมือปราศจากเชื้อและบันทึกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

2. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ13

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการที่ต้องมีกิจกรรมการทำลายเชื้อหรือฆ่าเชื้อ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความมุ่งหมายใช้เฉพาะสำหรับมนุษย์และสัตว์ โดยปฏิบัติงานในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเป็นไปตามแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(ก)    คำแนะนำ

ศึกษาและทำความเข้าใจแนวปฏิบัติการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อแพทย์ (Thailand CSSA Guidelines for Disinfection and Sterilization of Medical Devices)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การถูมือด้วยแอลกอฮอล์ (70%Alcohol hand rub) อย่างน้อย 6 ขั้นตอนทุกครั้งก่อนหยิบจับห่อเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ

2. จัดเตรียมพื้นที่และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในห้องจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การทำความสะอาด เตรียมพื้นที่การจัดเก็บ ได้ถูกต้อง ทั้งการจัดเก็บ แบบระบบเปิด และระบบปิด โดยมีการตรวจสอบ ให้อุณหภูมิ ภายในห้องไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% หรือตามมาตรฐานสากล บันทึกผลและสามารถรายงานได้ เมื่อพบความผิดปกติ และตรวจสอบชั้นวางสูงจากพื้น อย่างน้อย 8 นิ้ว ห่างจากผนัง 2 นิ้ว ต่ำกว่าฝ้าเพดาน 18 นิ้ว

3. การนำห่อเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ หมายถึง การนำห่อเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว โดยวางไว้นานอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อรอให้เย็นและไม่สัมผัสห่อระหว่างรอให้เย็นลง (เฉพาะเครื่องนึ่งไอน้ำ)  จอดรถเข็นบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่จอดใกล้กับเครื่องปรับอากาศหรือช่องระบายอากาศ 

การนำเครื่องมือแพทย์ออกจากเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อชนิดที่ใช้สารเคมี เช่น แก๊สเอทธิลีนออกไซด์

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พลาสม่า  ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นต้น บุคลากรควรสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

4. การตรวจสอบสภาพเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อหมายถึง การตรวจสอบสภาพห่อเครื่องมือแพทย์หลังการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว เช่น วัสดุที่ใช้ห่อไม่ฉีกขาด ไม่หลุดลุ่ย ไม่เปียกชื้น มีชื่อเครื่องมือ มีวันที่ผลิต วันหมดอายุ มีเครื่องหมายบ่งชี้ทางเคมีผ่านเกณฑ์ ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (IFU) ก่อนการนำไปจัดเก็บและแจกจ่ายอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน 

5. การจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง การจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วและมาทำการจัดเก็บ ให้คงสภาพความปราศจากเชื้อ (Shelf Life) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคระหว่างการจัดเก็บ

6. การคงสภาพความปราศจากเชื้อ (Shelf life) หมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องมือที่อยู่ภายในห่อคงสภาพปราศจากเชื้อได้จนถึงระยะเวลาการใช้งานและมีความปลอดภัยต่อการไปใช้งานกับผู้ป่วย

7.การจัดเรียงเครื่องมือปราศจากเชื้อ แบบ First In First Out (FIFO) หมายถึง รูปแบบการหยิบเครื่องมือปราศจากเชื้อที่จะจัดเรียงตามวันหมดอายุของเครื่องมือปราศจากเชื้อนั้น ๆ โดยเครื่องมือปราศจากเชื้อที่ใกล้หมดอายุจะถูกจัดเรียงเพื่อให้ถูกหยิบออกไปก่อน และเครื่องมือปราศจากเชื้อที่ผลิตนำเข้ามาใหม่ จะต้องถูกจัดเก็บไปไว้ด้านใน Shelf ท้ายสุดเสมอ โดยยึดหลักตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เช่น วางซ้าย:ใช้ขวา วางใน:ใช้นอก  วางล่าง:ใช้บน เป็นต้น

8. การแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ หมายถึง ตรวจนับและจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อให้ตรงตามรายการ จำนวน ครบถ้วนถูกต้องที่แผนกจ่ายกลางหรือนำเครื่องมือแพทย์ใส่กล่องปิดมิดชิดขึ้นรถขนส่งเครื่องมือปราศจากเชื้อแล้วไปแจกจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ตามเส้นทางที่กำหนด เมื่อแจกจ่ายเสร็จสิ้น ทำความสะอาดกล่องและรถขนส่งเครื่องมือปราศจากเชื้อทุกครั้ง (แยกกล่องและรถขนส่งระหว่างเครื่องมือปราศจากเชื้อและเครื่องมือปนเปื้อน ห้ามใช้ร่วมกัน)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า แล้วให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

1)   ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียน

2)   ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

3)   ประเมินภาคความสามารถด้วยสาธิตการปฏิบัติงาน

4)  ประเมินภาคความรู้ก่อนหน้าด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

5)   ประเมินภาคความรู้และความสามารถก่อนหน้าด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ