หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านสร้างต้นแบบการผลิตเส้นไหมคุณภาพ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RWVX-672A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านสร้างต้นแบบการผลิตเส้นไหมคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรอบรู้ในการผลิตเส้นไหมที่สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตเส้นไหมทั้งกระบวนการ ให้ได้คุณภาพเส้นไหมเป็นตามมาตรฐาน เพื่อจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวอย่างเป็นระบบ มีทักษะในบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม และพัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมการสาวไหมเพื่อการปฏิบัติการผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ สามารถให้คำปรึกษาและถ่ายทอดภูมิปัญญาจากประสบการณ์และความชำนาญในด้านการผลิตเส้นไหมเป็นแบบอย่างในกลุ่มอาชีพผู้ผลิตเส้นไหม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.  มกษ. 8000-2565 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง  เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2.  มกษ. 5900-2565 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง  การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B12091

จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

1. ประสานการรวมกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

B12091.01 181321
B12091

จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

2. พัฒนาวิธีการสาวไหมให้ได้คุณภาพที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานให้แก่กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม

B12091.02 181322
B12091

จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

3. ประยุกต์นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการสาวไหมที่เพื่อพัฒนาคุณภาพเส้นไหมที่สาวได้จากกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม

B12091.03 181323
B12092

พัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้การสาวไหมเพื่อการปฏิบัติจริง

1. ประมวลองค์ความรู้และภูมิปัญญาเกี่ยวกับชนิดเส้นไหม และวิธีการสาวไหมอย่างเป็นระบบ

B12092.01 181324
B12092

พัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้การสาวไหมเพื่อการปฏิบัติจริง

2. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการสาวไหมและการควบคุมคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากการสาวไหมแก่ผู้ปฏิบัติงานสาวไหมในกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม

B12092.02 181325
B12092

พัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้การสาวไหมเพื่อการปฏิบัติจริง

3. จัดทำรูปแบบและสื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสาวไหมให้ผู้ปฏิบัติงานสาวไหมในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานสาวไหมเพื่อการปฏิบัติได้จริง

B12092.03 181326

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตเส้นไหม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การประสานงานให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

2.  การพัฒนาเทคนิคการผลิตเส้นไหมที่สามารถยกระดับคุณภาพเส้นไหมและเพิ่มผลผลิตให้แก่กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน 

3.  การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสาวไหมให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐานเพื่อการปฏิบัติจริงของกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม

4. ทักษะในการถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกษตรกรในกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเส้นไหม 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางเทคนิคในการผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐานระดับประเทศ

2. องค์ความรู้และภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐาน

3.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการผลิตเส้นไหมให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม  

 (ข)   หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    หลักฐานที่แสดงว่าได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลต้นแบบ หรือปราชญ์ด้านหม่อนไหม

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

               แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

1. เทคนิควิธีการผลิตเส้นไหมให้ได้คุณภาพดีตามมาตรฐานมีกระบวนการต่าง ๆ ที่สามารถศึกษาได้จากมาตรฐานสินค้าเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น มกษ. 5900-2565 การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ:เส้นไหมไทยสาวมือ มกษ. 8001–2553  รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง มกษ 8000-2565 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ และเอกสารจากกรมหม่อนไหม 

เช่น การผลิตเส้นไหมคุณภาพมาตรฐานมกษ. 8000-2555 การศึกษาระบบการผลิตเส้นไหมไทยในโรงสาวไหม 

ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน เป็นต้น  

2. การถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการผลิตเส้นไหมแก่เกษตรกรผู้ผลิตเส้นไหมสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำเทคนิควิธี การสาธิตวิธีการ การสอนงาน การเป็นวิทยากรฝึกอบรม การจัดทำคู่มือการผลิตเส้นไหม เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ