หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดตั้งเป็นผู้ผลิตเส้นไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XUXC-664A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดตั้งเป็นผู้ผลิตเส้นไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    ช่างงานหัตถกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และวัสดุที่เกี่ยวข้อง

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    7318    คนกรอเส้นไหม เส้นด้าย

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    7318    คนสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการวางแผนและกำหนดแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี โดยเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงาน วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมตามแผนที่กำหนด  ควบคุมกระบวนการปฏิบัติงาน สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการผลิตเส้นไหมได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ทางหลักการที่เกี่ยวข้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO - 08 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.  มกษ. 8000-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องเส้นไหมดิบ: เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2.  มกษ. 8002-2556 เส้นไหมดิบ: เส้นไหมสาวด้วยเครื่องจักร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์3.  มกษ. 5900-2564 การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ:เส้นไหมไทยสาวมือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B12011

กำหนดแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี

1. วางแผนการผลิตเส้นไหมประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและศักยภาพของกลุ่ม

B12011.01 181269
B12011

กำหนดแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี

2. จัดทำแผนการผลิตเส้นไหมต่อปี

B12011.02 181270
B12012

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การผลิตเส้นไหมตามแผนที่กำหนด

1. เตรียมวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมให้ครบถ้วนและสอดคล้องกับแผนการผลิตเส้นไหม

B12012.01 181271
B12012

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การผลิตเส้นไหมตามแผนที่กำหนด

2.  ตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องมืออุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมให้สะอาดและใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

B12012.02 181272
B12012

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การผลิตเส้นไหมตามแผนที่กำหนด

3. มีระบบการบำรุงรักษา ทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมให้เป็นเส้นไหมอย่างถูกต้องและเหมาะสม  

B12012.03 181273

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปรังไหมเป็นเส้นไหม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผนการผลิตเส้นไหมประเภทต่าง ๆ  ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 

2. การเตรียมและใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการแปรรูปรังไหมเพื่อผลิตเส้นไหม

3. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี  

4. ทักษะการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประเภทเส้นไหมและขั้นตอนการผลิตเส้นไหมเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิตเส้นไหม

2. การเตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตเส้นไหม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการผลิตเส้นไหม หรือในวิชาที่เกี่ยงข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข)    คำอธิบายรายละเอียด  

      1.  จัดทำแผนการผลิตเส้นไหม ภายใต้ปริมาณรังไหมที่มีแผนการรับเข้าเป็นวัตถุดิบในการผลิตตามที่กำหนดอย่างชัดเจน พร้อมกับแหล่งตลาดในการจำหน่ายเส้นไหม

         2. วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการผลิตเส้นไหมมีสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ ดังนี้

        1)  ชุดอุปกรณ์สาวไหมแบบพื้นบ้านหรือแบบปรับปรุง หรือที่มีเครื่องทุ่นแรงช่วยในการสาวเส้นไหม จะใช้หม้อต้มสาวไหม   พวงสาวไหมแบบพื้นบ้านหรือแบบปรับปรุง ไม้คืบ (ใช้สำหรับกดรังไว้) กรรไกร เตา อุปกรณ์เก็บเส้นไหม เช่น อัก เหล่ง หรือภาชนะรองรับเส้นไหม เป็นต้น

        2)  ชุดเครื่องสาวไหมขนาดเล็ก  จะใช้เครื่องสาวไหมขนาดเล็กไม่เกิน 5 แรงม้า หม้อต้มรังไหม เทอร์โมมิเตอร์ อ่างสาวไหม  และอัก 

        3) เหล่งกรอเส้นไหมเพื่อทำเข็ดไหม พร้อมอุปกรณ์สำหรับทำไพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ