หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตรังไหม และเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตรังไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZOUO-662A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตรังไหม และเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตรังไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ      6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ      6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ      9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรอบรู้ในการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นระบบ เป็นแบบอย่างหรือผู้นำในกลุ่มอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สามารถคำปรึกษาด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้นแบบการผลิตรังไหมที่ดี สร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่นำไปสู่การปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตไหมได้อย่างเป็นรูปธรรม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มกษ. 3500-2553  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2.  มกษ. 8001–2553 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์3.  มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11121

สร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมวิชาการแผนใหม่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตไหมได้อย่างเป็นรูปธรรม

1.  พัฒนาและประมวลองค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมที่สามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในแปลงหม่อนได้

A11121.01 181258
A11121

สร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมวิชาการแผนใหม่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตไหมได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. ถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำปรึกษาในการปฏิบัติงานปลูกและควบคุมคุณภาพในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่เกษตรกรผู้ปฏิบัติงานปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมเพื่อให้ได้คุณภาพ  

A11121.02 181259
A11121

สร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมวิชาการแผนใหม่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตไหมได้อย่างเป็นรูปธรรม

3. สร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมที่ต้องการเพิ่มผลผลิตไหมได้ 

A11121.03 181260
A11122

มีต้นแบบระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีกำรผลิตรังไหมที่ดี/เป็นแหล่งการศึกษาดูงาน เรียนรู้แก่ผู้สนใจได้

1. รวบรวมข้อมูลนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพิ่มผลผลิตในการปลูกหม่อน และเลี้ยงไหมได้ โดยสอดคล้องกับพื้นที่และความจำเป็น

A11122.01 181261
A11122

มีต้นแบบระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีกำรผลิตรังไหมที่ดี/เป็นแหล่งการศึกษาดูงาน เรียนรู้แก่ผู้สนใจได้

2. แสดงต้นแบบระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตรังไหมที่ดีและสอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรังไหมให้ผู้สนใจได้

A11122.02 181262
A11122

มีต้นแบบระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีกำรผลิตรังไหมที่ดี/เป็นแหล่งการศึกษาดูงาน เรียนรู้แก่ผู้สนใจได้

3. นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิตรังไหมที่ดีให้แก่ผู้สนใจด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การบรรยาย/การสาธิตหรือแสดงผลงาน/การจัดทำคูมือการปฏิบัติได้

A11122.03 181263

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การพัฒนาองคความรู้และภูมิปัญญาด้านการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  

2.  การถ่ายทอดองค์ความรู้และและภูมิปัญญาด้านการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม เพื่อสร้างเครือข่าย  การเรียนรู้ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

3. ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและให้คำปรึกษาแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

2. องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    หลักฐานที่แสดงว่าได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลต้นแบบ หรือปราชญ์ด้านหม่อนไหม

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด    

1. เทคนิคและปัจจัยที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิตในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ประกอบด้วย การจัดการแปลงหม่อนที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูง  การวางแผนผลิตรังไหมให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามข้อตกลง การเลี้ยงไหมและการเก็บเกี่ยวรังไหมที่ดีมีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูง ที่ส่งผลให้เกษตรกรสามารถปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้ตลอดทั้งปี และมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน

2. นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิตในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และลดต้นทุนการดำเนินการ  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  

3. การนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำ  การสอนงาน การฝึกอบรม เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ