หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวและจัดการรังไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-JWWR-656A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวและจัดการรังไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ      6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ      6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวและจัดการรังไหม  การเก็บรังไหมและการคัดแยกรังไหม (รังไหมดีและรังไหมเสีย) การบรรจุหีบห่อและเก็บรักษารังไหมได้ถูกวิธีตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้อง  เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย  จัดการและ ตัดสินแก้ไขปัญหาที่พบในระหว่างการปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้องได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มกษ. 8001–2553  มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องรังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11061

กำหนดวันเก็บเกี่ยวรังไหมได้ถูกต้อง 

1. กำหนดเวลาการเก็บเกี่ยวรังไหมได้ถูกต้อง

A11061.01 181199
A11061

กำหนดวันเก็บเกี่ยวรังไหมได้ถูกต้อง 

2. เก็บเกี่ยวรังไหมได้อย่างถูกวิธี โดยเก็บเกี่ยวหลังจากที่หนอนไหมเปลี่ยนเป็นเป็นดักแด้อย่างสมบูรณ์ และผนังลำตัวดักแด้มีสีเหลืองน้ำตาล

A11061.02 181200
A11061

กำหนดวันเก็บเกี่ยวรังไหมได้ถูกต้อง 

3. ลอกปุยไหมส่วนที่หุ้มเปลือกรังออกได้อย่างถูกวิธี

A11061.03 181201
A11062

จัดการคัดแยกรังไหมรังดี รังบกพร่องออกจากกัน

1. อธิบายลักษณะรังดี และรังบกพร่องได้ถูกต้อง

A11062.01 181202
A11062

จัดการคัดแยกรังไหมรังดี รังบกพร่องออกจากกัน

2. คัดแยกรังบกพร่องออกจากรังดีได้อย่างถูกวิธี

A11062.02 181203
A11062

จัดการคัดแยกรังไหมรังดี รังบกพร่องออกจากกัน

3. คัดแยกรังบกพร่องที่ติดเชื้อออกจากรังบกพร่องลักษณะอื่นเพื่อนำไปกำจัด และ/หรือทำลาย หรือใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี

A11062.03 181204
A11063

จัดการบรรจุภัณฑ์รังไหมสด/แห้งที่ปลอดภัยต่อการขนส่ง

1. บรรจุหีบห่อรังไหมลงบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งจำหน่าย ได้อย่างถูกวิธีโดยต้องไม่ทำให้รังไหมเสียหาย โดยเลือกภาชนะที่สะอาด ถ่ายเทอากาศได้ดี

A11063.01 181205
A11063

จัดการบรรจุภัณฑ์รังไหมสด/แห้งที่ปลอดภัยต่อการขนส่ง

2. จัดสภาพการเก็บรังไหมระหว่างรอการขนส่งได้อย่างถูกวิธี โดยต้องไม่ให้เกิดการทับกันหนาแน่นที่ทำให้เกิดการสะสมความร้อนและความชื้น ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของรังไหม

A11063.02 181206

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระยะเวลาการเก็บรังไหม หลังจากไหมสุกเข้าทำรัง การคัดแยก รังไหมดี และรังไหมเสียออกจากกัน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การคัดแยกประเภทรังไหม คัดแยกรังไหมดีและรังไหมเสีย  

2. การเก็บรังไหมจากจ่อ การลอกปุยไหม

3. บรรจุภัณฑ์รังไหม และการเก็บรักษารังไหมเพื่อรอจำหน่วย หรือรอการนำไปสาวไหม

3. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

4. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ลักษณะรังไหมดี และรังไหมเสีย

2. วิธีการ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยกรังไหม   เก็บเกี่ยวรังไหม และลอกปุ๋ยไหม

3. บรรจุภัณฑ์และเก็บรักษารังไหมหลังเก็บเกี่ยว เพื่อรอจำหน่าย หรือรอการนำไปสาวไหม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ  

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

1. การเก็บเกี่ยวรังไหม คือการนำรังไหมออกจากจ่อซึ่งเป็นที่หนอนไหมได้อาศัยเพื่อสร้างรังไหม โดยต้องมีการคัดแยกรังดี ออกจากรังบกพร่อง ลอกปุยไหมออกจากรัง 

2. ระยะเวลาเก็บเกี่ยวรังไหมสดที่เหมาะสม คือ เมื่อหนอนไหมกลายเป็นดักแด้อย่างสมบูรณ์และผนังลำตัวของดักแด้มีสีเหลืองน้ำตาล ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของหนอนไหม และสภาพภูมิอากาศ โดย

    - ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน อายุประมาณ 4 วัน ถึง 5 วัน (นับจากวันที่หนอนไหมสุกเริ่มทำรัง)

    - ไหมพันธุ์ไทยปรับปรุง อายุประมาณ 5 วัน ถึง 7 วัน (นับจากวันที่หนอนไหมสุกเริ่มทำรัง)

    - ไหมพันธุ์ลูกผสม อายุประมาณ 5 วัน ถึง 7 วัน (นับจากวันที่หนอนไหมสุกเริ่มทำรัง)

3. รังดี หมายถึงรังไหมที่มีรูปร่างตามลักษณะพันธุ์ เปลือกรังไหมไม่เปื้อน  และไม่ด้าน ดักแด้ไม่ตาย และเส้นใยไหมเกาะรวมตัวกันดี   

4. รังบกพร่อง  หมายถึงรังไหมที่มีรูปร่างผิดปกติไปจากลักษณะของพันธุ์ หรือมีลักษณะผิดปกติ ได้แก่ รังแฝด  รังเจาะ  รังเปื้อนภายใน  รังเปื้อนภายนอก รังบาง รังหลวม  รังบางหัวท้าย  รังผิดรูปร่าง  รังติดข้างจ่อ รังบุบ และรังขึ้นรา

5. ภาชนะที่ใช้บรรจุรังไหมต้องเป็นภาชนะที่โปร่งและถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนและความชื้นทำความเสียหายแก่รังไหม  และเนื่องจากภายในรังไหมมีดักแด้ที่มีชีวิต หากถ่ายเทอากาศไม่ได้อาจทำให้ดักแด้ตาย และรังไหมเป็นรังบกพร่อง (รังเปื้อนภายใน หรือรังขึ้นรา) ได้  ตัวอย่างภาชนะบรรจุรังไหมที่นิยมใช้ เช่น ถุงตาข่ายพลาสติก ลังหรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ ถุงผ้า เข่งไม้ไผ่  เนื่องจากรังไหมยังมีชีวิตอยู่จีงต้องยังคงให้รังไหมหายใจได้ ทั้งนี้บางครั้งผู้ซื้อจะเป็นผู้กำหนดภาชนะที่ใช้บรรจุ 

6. สภาพการเก็บเกี่ยวรังไหม ควรเก็บในสถานที่ร่ม แห้ง ไม่มีแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ