หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเลี้ยงไหมถูกต้องตามสุขลักษณะ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RVIH-660A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเลี้ยงไหมถูกต้องตามสุขลักษณะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานเลี้ยงไหมถูกต้องตามสุขลักษณะ  โดยควบคุมดูแลรักษาความสะอาดฆ่าเชื้อโรคโรงเลี้ยงไหม/สถานที่เลี้ยงไหม และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงไหม  กำหนดมาตรการป้องกันโรค แมลง สัตว์ ศัตรูไหม และควบคุมสภาพแวดล้อมสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหม และได้ผลผลิตสูง  สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหมในสถานที่เลี้ยงไหมให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ  ได้โดยใช้หลักการ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ด้วย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8001–2553 รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11101

ทำความสะอาดอบฆ่าเชื้อโรคโรงเลี้ยงไหม/สถานที่เลี้ยงไหม วัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังเลี้ยงไหม

1. อธิบายการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และสารเคมีที่เหมาะสมกับการทำความสะอาดและการอบฆ่าเชื้อโรค ที่โรงเลี้ยงไหม/สถานที่เลี้ยงไหม และวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังเลี้ยงได้ถูกต้อง

A11101.01 181238
A11101

ทำความสะอาดอบฆ่าเชื้อโรคโรงเลี้ยงไหม/สถานที่เลี้ยงไหม วัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังเลี้ยงไหม

2. ดูแลบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อความแข็งแรงของ

ไหมได้อย่างถูกต้อง 


A11101.02 181239
A11101

ทำความสะอาดอบฆ่าเชื้อโรคโรงเลี้ยงไหม/สถานที่เลี้ยงไหม วัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังเลี้ยงไหม

3. กำหนดมาตรการและวิธีการกำจัดขยะที่เกิดจากการเลี้ยงไหมเช่น มูลของไหม กิ่งหม่อน และใบหม่อน ทั้งในบริเวณและรอบบริเวณที่เลี้ยงไหม และการแยกมูลไหมได้อย่างถูกต้อง

A11101.03 181240
A11102

ปรับอุณหภูมิ ความชื้นบริเวณพื้นที่เลี้ยงไหมให้อยู่ระดับที่เหมาะสม

1. ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมในแต่ละช่วงวัย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

A11102.01 181241
A11102

ปรับอุณหภูมิ ความชื้นบริเวณพื้นที่เลี้ยงไหมให้อยู่ระดับที่เหมาะสม

2. จัดการให้มีมาตรการป้องกันแสงแดดส่องโดนไหมโดยตรง และป้องกันฝนที่จะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไหมในสถานที่เลี้ยงไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A11102.02 181242
A11103

 จัดพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อปริมาณหนอนไหมที่เลี้ยงไหมแต่ละวัย

1. เลือกสถานที่ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการรองรับไหมที่เลี้ยงแต่ละวัยได้ถูกต้อง

A11103.01 181243
A11103

 จัดพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อปริมาณหนอนไหมที่เลี้ยงไหมแต่ละวัย

2. ขยายพื้นที่เลี้ยงไหมให้สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของไหมแต่ละวัยได้อย่างถูกวิธี

A11103.02 181244
A11103

 จัดพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อปริมาณหนอนไหมที่เลี้ยงไหมแต่ละวัย

3. จัดการดูแลไหมในพื้นที่เลี้ยงไม่ให้อยู่หนาแน่นเกินไป จนเกิดความร้อนและได้รับอาหารไม่เพียงพอ

A11103.03 181245
A11103

 จัดพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อปริมาณหนอนไหมที่เลี้ยงไหมแต่ละวัย

4. จัดพื้นที่ดูแลแยกไหมที่ผิดปกติเช่น อ่อนแอ แคระแกรน ไหมตื่นช้าหรือเจริญเติบโตช้ากว่าไหมวัยเดียวกัน ไปแยกเลี้ยงได้อย่างถูกวิธีหรือไหมเป็นโรค เพื่อไปกำจัด/ทำลายอย่างถูกวิธี

A11103.04 181246
A11103

 จัดพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อปริมาณหนอนไหมที่เลี้ยงไหมแต่ละวัย

5. จัดการดูแลพื้นที่เลี้ยงไหมแต่ละช่วงเวลาอย่างถูกวิธี โดยต้องแยกมูลของไหมก่อนไหมนอน และใบหม่อนที่เหลือออกจากสถานที่เลี้ยง และหลังจากไหมตื่นและก่อนการให้อาหารครั้งแรกในแต่ละวัย มีการป้องกันและฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับไหม 

A11103.05 181247
A11104

บริหารจัดการป้องกัน กำจัดโรคและแมลงศัตรูหนอนไหม บนชั้น/กระด้งเลี้ยงไหม

1. ระบุบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค และแมลงที่จะส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของไหมได้อย่างถูกต้อง

A11104.01 181248
A11104

บริหารจัดการป้องกัน กำจัดโรคและแมลงศัตรูหนอนไหม บนชั้น/กระด้งเลี้ยงไหม

2. กำหนดมาตรการป้องกันสัตว์ที่เป็นศัตรูของไหมและรังไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A11104.02 181249
A11104

บริหารจัดการป้องกัน กำจัดโรคและแมลงศัตรูหนอนไหม บนชั้น/กระด้งเลี้ยงไหม

3. กำหนดวิธีป้องกันพาหะนำโรคที่มีผลต่อการเลี้ยงไหมและรังไหมและวิธีป้องกันกำจัดโรคไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


A11104.03 181250
A11104

บริหารจัดการป้องกัน กำจัดโรคและแมลงศัตรูหนอนไหม บนชั้น/กระด้งเลี้ยงไหม

4. อธิบายวิธีเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี ในการป้องกันหรือกำจัดสัตว์ที่เป็นศัตรูของไหมและรังไหมได้อย่างถูกต้อง

A11104.04 181251

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสถานที่เลี้ยงไหมให้มีถูกสุขลักษณะ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สะอาด ปลอดจากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูไหม

4. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับไหมแต่ละวัย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดการและควบคุมงานดูแลสถานที่เลี้ยงไหมให้ถูกสุขลักษณะ โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมสะอาด ปลอดจากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูไหม

2. การจัดการพื้นที่การเลี้ยงไหมให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมแต่ละวัย

3.  การจัดการพื้นที่ในการคัดแยกไหมดีและไหมบกพร่อง 

4.  การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารให้ผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี   

5. การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคในโรงเลี้ยงไหม และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 

2. การจัดการสถานที่เลี้ยงไหมให้มีสภาวะที่เหมาะสม ทั้งอุณหภูมิ และความชื้น มีการป้องกันโรค แมลง สัตว์ ศัตรูไหมลักษณะอาการโรคไหม และวิธีการป้องกันไหมเป็นโรค

3.  การจัดการพื้นที่ในการคัดแยกไหมดีและไหมบกพร่อง 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ 

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด   

1. การดูแลทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงไหมต้องให้มีการทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค โดยใช้น้ำสะอาดผสมผงซักฟอกขัดล้างพื้นให้สะอาด และลดการสะสมของเชื้อโรคโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายสารเคมีฆ่าเชื้อ เช่น สารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (calcium hypochlorite; Ca(OCl)2) หรือน้ำปูนคลอรีนความเข้มข้น 1% หรือ 5% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ฉีดพ่นในอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร  สารละลายแคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide; CaO) หรือ น้ำปูนใส ความเข้มข้น 0.5% หรือ 1% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ฉีดพ่นในอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร สารละลายแอลคิล แอมิโน แอซีติกแอซิด หรือแอลคิลแอมีน (alkyl amino acetic acids หรือ alkyl amines; C18H39N3O2) ความเข้มข้น 2 % โดยปริมาตร ฉีดพ่นในอัตรา 3 – 10 ลิตร/ตารางเมตร ระหว่างการเลี้ยงไหม   และต้องเก็บขยะที่เกิดจากการเลี้ยงไหม เช่น มูลของไหมกิ่งหม่อน และใบหม่อน ออกไปทิ้งนอกสถานที่เลี้ยงไหม และหลังการเลี้ยงหนอนไหมต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงไหมทุกครั้งก่อนการเลี้ยงไหมรุ่นต่อไป

2. โรค แมลง และ สัตว์ ศัตรูไหมที่ต้องป้องกันไม่ให้เข้าไปในพื้นที่เลี้ยงไหมในสถานที่เลี้ยงไหม ซึ่งมีวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

2.1 โรคระบาดที่พบในหนอนไหม เช่น 

-    โรคเพบบรินทำให้ลำตัวหดสั้น แคระแกร็น ป้องกันโดยฉีดสารเคมีทำลายเชื้อในห้องเลี้ยง และอุปกรณ์การเลี้ยงไหมทุกชนิดด้วยน้ำปูนคลอรีน 1 เปอร์เซ็นต์ 

-    โรคแกรสเซอรี่ทำให้ลำตัวเหลืองขุ่น น้ำเหลืองไหล  ป้องกันและกำจัดโดยเก็บหนอนไหมที่เป็นโรคทิ้งในภาชนะที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ (น้ำปูนคลอรีน 1 เปอร์เซ็นต์) แล้วโรยด้วยสารโรยตัวไหม หรือปูนคลอรีนผง 3.5 เปอร์เซ็นต์ บนตัวหนอนไหมปกติ หรือก่อนไหมนอนและหลังไหมตื่น  

-    โรคแอสเปอร์จิลลัส (หูด) ทำให้เกิดเชื้อราสีดำบนตัว ลำตัวแห้งแข็ง โรคมัสคาดีนทำให้ลำตัวเป็นซากแข็งสีดำคล้ายมัมมี่ ขึ้นเชื้อรา  ป้องกันและกำจัดโดยเก็บหนอนไหมที่เป็นโรคทิ้งในภาชนะที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วโรยด้วยสารโรยตัวไหม หรือปูนคลอรีนผง 3.5 เปอร์เซ็นต์ บนตัวหนอนไหมปกติ หรือก่อนไหมนอนและหลังไหมตื่น  ถ้ามีการระบาดมาก ให้ทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงไหม โดยฉีดพ่นน้ำปูนใส 1 เปอร์เซ็นต์ (ปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) ปล่อยให้แห้งแล้วจึงอบสถานที่เลี้ยงไหมด้วยคลอรีน 1 เปอร์เซ็นต์ และลดความชื้นในห้องเลี้ยงไหม   เป็นต้น

2.2 แมลงและศัตรูไหม มีวิธีการป้องกันและกำจัดเช่น 

-    แมลงวันก้นขนที่จะเจาะเข้าไปในตัวหนอนไหมกัดกินอวัยวะภายใน   ป้องกันโดยติดมุ้งลวดในสถานที่เลี้ยงไหมและปิดอย่างมิดชิด วางกาวดักแมลงวัน   แขวนขวดน้ำส้มสายชูห้อยรอบๆ สถานที่เลี้ยงไหมเพื่อดับกลิ่นคาวของหนอนไหม โดยเฉพาะช่วงไหมวัย 5

-    มดที่จะกัดกินไข่ไหม ทำให้ไข่ไหมไม่สามารถฟักออกเป็นตัว   ป้องกันโดยทำร่องน้ำรอบๆ โรงเลี้ยง  และมีน้ำหล่อที่ขาของชั้นเลี้ยงไหม หรืออาจใช้น้ำมันทาเพื่อป้องกันมดไต่ขึ้นไปในกระด้งเลี้ยงไหม  

-    หนูที่จะกัดกินไข่ไหม หนอนไหม รังไหม ผีเสื้อไหมเป็นอาหาร  ป้องกันโดยมีมุ้งลวดมิดชิด และวางกาวดักหนู  เป็นต้น

3. การป้องกันกำจัดโรคระบาดที่เกิดขึ้นในสถานที่เลี้ยงไหม  โดยการคัดแยกไหมที่เป็นโรคออกเพื่อป้องการระบาดของโรคที่เกิดขึ้น และคัดแยกเลี้ยงไหมที่ไม่สมบูรณ์ โตช้า ไม่ปกติออกจากสถานที่เลี้ยงไหม

4. สภาพแวดล้อมของสถานที่เลี้ยงไหม ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย ป้องกันแสงแดดส่องโดนไหมและจ่อรังไหม และต้องมิดชิดเพื่อป้องกันโรค แมลง สัตว์ ศัตรูไหม   เช่น แมลงวันก้นขน แมงมุม มด จิ้งจก ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อหนอนไหมหรือสร้างความเสียหายแก่รังไหม หรืออาจเป็นพาหะของการนำเชื้อโรคเข้าสู่สถานที่เลี้ยงไหมได้ การป้องกันอาจทำได้โดยทำร่องน้ำรอบๆ สถานที่เลี้ยงไหม  ทำประตูทางเข้าออกเป็น 2 ชั้น ทำห้องมืดดักแมลงวันก้นขน  ติดมุ้งลวด หรือมุ้งตาข่ายบริเวณหน้าต่างของสถานที่เลี้ยงไหมอย่างมิดชิด – มีถ้วยรองที่น้ำล้อมรอบหรือทาน้ำมันบริเวณขาชั้นเลี้ยงไหม โดยต้องมีการควบคุม มีดังนี้

4.1 สภาพแสง  ต้องป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องโดนหนอนไหมโดยตรง โดยสร้างร่มเงา และลดความร้อนจากแสงแดด เช่น ปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆ สถานที่เลี้ยงไหม  

4.2 อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์  ต้องควบคุมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย เช่น ไหมวัยอ่อน  จะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 26oC ถึง 28oC  ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 80%  ไหมวัยแก่ จะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 24oC ถึง 25oC  ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 70-75%  

        4.3 การป้องกันฝน เป็นการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสม โดยติดผ้าใบหรือตาข่ายหรือผ้ากระสอบบริเวณรอบสถานที่เลี้ยงไหม หรือมีหน้าต่างที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้าไปในสถานที่เลี้ยงไหมได้

5. สถานที่ตั้งสถานที่เลี้ยงไหม ควรอยู่ในพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง ไม่ใช่พื้นที่ลุ่ม ไม่เป็นแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ โดยมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อยู่ใกล้แปลงหม่อน  โดยห้องเลี้ยงไหมต้องสะอาดไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของไหม และต้องสามารถกันแมลง สัตว์ และศัตรูไหม รวมทั้งกันฝน ความร้อน และแสงแดด มีระบบควบคุมและระบายอากาศได้ดี ควรอยู่ใกล้แปลงหม่อน ห่างไกลจากสารเคมีและฝุุนควัน ภายในโรงเรือนต้องมีโต๊ะสำหรับเลี้ยงไหม วัสดุทำจากไม้และตาข่ายเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเลี้ยงไหม เช่น 1 โต๊ะมี 3-4 ชั้น โดย 1 ชั้นเลี้ยงไหมได้ประมาณ 2 แผ่น หรือชั้นเลี้ยงไหมพื้นที่ 16-20 ตารางเมตรเลี้ยงไหมได้ประมาณ 1 แผ่น     

    6. การจัดการสถานที่เลี้ยงไหมต้องมีการดำเนินการดังนี้

        6.1 ทำความสะอาดก่อนและหลังเลี้ยงไหม มีการกำจัดเชื้อโรค โดยอบฆ่าเชื้อด้วยการฉีดพ่นสารเคมีทำลายเชื้อที่ตกค้างอยู่ในห้องเลี้ยงไหมทุกวัยด้วยน้ำปูนคลอรีน ทั้งภายในและภายนอกห้องเลี้ยงไหม  และพักโรงเลี้ยงประมาณ 7-10 วันในแต่ละรุ่น    

        6.2 กำจัดขยะและมูลของไหมอย่างถูกวิธี เช่น การกำจัดมูลของไหม ทำได้โดยการวางตาข่ายแยกมูล เพื่อกำจัดมูลของไหม เศษใบหม่อนที่ไหมแต่ละวัยกินเหลือ และไหมที่ตายแล้วออกไปทิ้งและทำลาย เพื่อลดความชื้นและความร้อน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและก๊าซที่เป็นมลพิษต่อการเจริญเติบโตของไหม ป้องกันไม่ให้ไหมบอบช้ำหรือเป็นแผล หรือไหมติดเชื้อจากการเข้าไปสัมผัสตัวไหมโดยตรง  การกำจัดขยะ มูลของไหม กิ่งหม่อน และใบหม่อน ทั้งในบริเวณ ทำได้โดยการฝังกลบ การเผาทำลาย การนำไปทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรนำมาวางกองทิ้งไว้เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้

        6.3 เก็บแยกหนอนไหมที่ผิดปกติ อ่อนแอ แคระแกรน และเป็นโรค ไปกำจัด/ทำลาย อย่างถูกวิธี เช่น โรยด้วยปูนขาวแห้ง แล้วใช้ตะเกียบคีบหนอนไหมไปแช่ในสารฆ่าเชื้อ เช่น น้ำปูนคลอรีนในภาชนะปิดหรือนำไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดไปยังหนอนไหมตัวอื่น

        6.4  ขยายพื้นที่เลี้ยงไหมให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตแต่ละวัย  โดยเฉพาะระยะเก็บไหมเข้าจ่อต้องมีพื้นที่เพียงพอให้ไหมทำรัง ทั้งนี้ขึ้นชนิดของจ่อที่ใช้ เช่น จ่อกระดาษ หรือจ่อไม้อัด ที่แบ่งเป็นช่องย่อยเล็กๆ สำหรับใส่ไหมสุก 1 แผง มีขนาด 40 ซ.ม. x 55 ซ.ม. แบ่งเป็นช่องย่อยขนาด 3 ซ.ม. x 4.5 ซ.ม. ใส่ไหมสุกได้ประมาณ 100 ตัว ซึ่งจ่อกระดาษ 1 ชุด มี 8 แผง ถึง 10 แผง  จ่อกระด้ง หรือจ่อไม้ไผ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 ซ.ม. ใส่ไหมสุกได้ประมาณ 800 ตัว ถึง 1,000 ตัวต่อจ่อ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ