หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการเลี้ยงไหมและปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-EOKP-659A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการเลี้ยงไหมและปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีสมรรถนะในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการเลี้ยงไหม การเตรียมปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงไหม โดยเตรียมไหมแต่ละวัย  ใบหม่อนที่นำมาเลี้ยงไหม และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหม  ประเมินผลผลิตจากการเลี้ยงไหม   และสามารถจัดการผลผลิตจากการเลี้ยงไหมให้สามารถส่งมอบงานได้ตามเป้าหมาย และบรรลุงานตามแผนการเลี้ยงไหมได้  สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการเลี้ยงไหมได้ โดยใช้ความรู้ในหลักการ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08     หมวดใหญ่ 6     ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08    หมวดใหญ่ 9      ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.  มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8001–2553  รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2.  มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11091

กำหนดแผนความต้องการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนร่วมกับหน่วยสนับสนุน

1. กำหนดตารางเวลาการเลี้ยงไหมในแต่ละปี

A11091.01 181222
A11091

กำหนดแผนความต้องการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนร่วมกับหน่วยสนับสนุน

2. ระบุแหล่งไขไหมที่มีการจัดการขนส่งที่ดี และมีสภาวะแวดล้อมการเลี้ยงที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ไหมแต่ละวัยที่แข็งแรง

A11091.02 181223
A11091

กำหนดแผนความต้องการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนร่วมกับหน่วยสนับสนุน

3. กำหนดรุ่น และปริมาณการเลี้ยงไหมให้สัมพันธ์กับพื้นที่เลี้ยงไหมและและแปลงหม่อน

A11091.03 181224
A11091

กำหนดแผนความต้องการไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนร่วมกับหน่วยสนับสนุน

4. กำหนดแผนการจองไข่ไหมหรือไหมวัยอ่อนให้สัมพันธ์กับแผนกำหนดการเลี้ยงไหม

A11091.04 181225
A11092

เตรียมผลผลิตใบหม่อนให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไหมต่อรุ่นต่อปี

1. เตรียมใบหม่อนที่มาจากแปลงหม่อนที่มีการปลูกอย่างถูกวิธี 

A11092.01 181226
A11092

เตรียมผลผลิตใบหม่อนให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไหมต่อรุ่นต่อปี

2. เลือกใบหม่อนที่มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงไหมได้ 

A11092.02 181227
A11092

เตรียมผลผลิตใบหม่อนให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไหมต่อรุ่นต่อปี

3. ควบคุมคุณภาพและปริมาณใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหมแต่ละรุ่นให้มีอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ตลอดทั้งปีโดยยังคงคุณภาพของใบหม่อนไว้ได้ 

A11092.03 181228
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

1. ระบุวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงไหม การทำรัง และการเก็บรักษาใบหม่อนได้ครบถ้วน 

A11093.01 181229
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

2. เตรียมอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดี

A11093.02 181230
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

3. เตรียมตะแกรงร่อนสารดูดความชื้น และสารฆ่าเชื้อเพื่อให้กระจายตัวได้ดี

A11093.03 181231
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

4. เตรียมตาข่ายหรือวัสดุที่ใช้ถ่ายมูลไหมมูลไหมที่เหมาะสมกับวัยของไหม

A11093.04 181232
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

5. เตรียมวัสดุคลุมกระบะหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงไหมวัยอ่อนที่สะอาด รักษาความชื้น และถ่ายเทอากาศได้ดี

A11093.05 181233
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

6. เตรียมรูปแบบของจ่อที่ให้ผลต่อคุณภาพของรังไหม และประสิทธิภาพในการสาวไหมที่ดี 

A11093.06 181234
A11093

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อการลี้ยงไหม

7. เตรียมภาชนะบรรจุรังไหมที่เหมาะสม โดยต้องโปร่งและระบายอากาศได้ดี

A11093.07 181235
A11094

เตรียมสารเคมี ปูนขาว และอื่นๆ ให้เพียงพอต่อการใช้เลี้ยงไหม

1. ระบุสารเคมี และวัสดุดูดความชื้นสำหรับการเลี้ยงไหมได้อย่างถูกต้อง 

A11094.01 181236
A11094

เตรียมสารเคมี ปูนขาว และอื่นๆ ให้เพียงพอต่อการใช้เลี้ยงไหม

2. ระบุสารทำความสะอาดและสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพใช้กับอุปกรณ์และสถานที่เลี้ยงไหมได้ครบถ้วน 

A11094.02 181237

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงไหมแต่ละวัยจนได้เป็นรังไหมเพื่อใช้ในการสาวไหมและปัจจัยที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผนการเลี้ยงไหมทั้งปีตั้งแต่การกำหนดรุ่นการเลี้ยงไหมและปริมาณการเลี้ยงไหม การจองไข่ไหม และข้อมูลที่ต้องวางแผนและจัดการในการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่นในรอบปี

2. เตรียมไหมแต่ละวัยเพื่อนำมาเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงไหม  

3. การวางแผนเตรียมใบหม่อนสำหรับการเลี้ยงไหมแต่ละวัยให้เพียงพอ

4. การวางแผนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไหม และควบคุมสภาวะการเลี้ยงไหมเพื่อให้ได้รังไหมที่มีคุณภาพ

5. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารให้ผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี  

6. การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานเลี้ยงไหมเพื่อนำมาใช้ในการจัดแผนการเลี้ยงไหม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การคำนวณปริมาณการเลี้ยงไหมต่อรุ่น และจำนวนรุ่นต่อปี 

2. บริหารจัดการการจองไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนให้สัมพันธ์กับแผนการเลี้ยงไหม

3. การวางแผนการจำหน่ายผลผลิตรังไหมที่นำมาใช้ในการกำหนดแผนการเลี้ยงไหมได้

4. ปัจจัยที่จำเป็นต้องเตรียมในการเลี้ยงไหมในสถานที่เลี้ยงไหม ประกอบด้วย ใบหม่อนในปริมณที่เพียงพอต่อการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหมอย่างปลอดภัย สารเคมี ปูนขาว และอื่นๆ ให้เพียงพอต่อการใช้เลี้ยงไหม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด    

1. การวางแผนการเลี้ยงไหม จะต้องวางแผนจำนวนรุ่นที่จะเลี้ยงไหมต่อปี ว่าจะใช้ไข่ไหมจำนวนกี่แผ่นหรือกล่องต่อรุ่น  และจำนวนรุ่นต่อปี  ทั้งนี้จะต้องทราบระยะเวลาในการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่นตั้งแต่รับไข่ไหม การเลี้ยงไหมวัยอ่อน  วัยแก่ จนถึงไหมสุกเข้าจ่อทำรังจนได้รังไหมสด ว่าจะใช้เวลากี่วัน โดยพิจารณาจากพันธุ์ไหม และสภาพภูมิอากาศ

2.  การวางแผนพื้นที่แปลงหม่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตใบหม่อนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงไหมในแต่ละปี มีสูตรคำนวณดังนี้ 

พื้นที่ปลูก (ไร่) = ปริมาณใบหม่อนที่ไหมกินต่อแผ่น x จำนวนแผ่นต่อรุ่น x จำนวนรุ่นที่เลี้ยงต่อปี

                    ผลผลิตใบหม่อนที่เกษตรกรปลูก (กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี)



    3. การบริหารจัดการการจองไข่ไหม/ไหมวัยอ่อนต้องสัมพันธ์กับแผนการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น และแต่ละปี  โดยการจองไข่ไหม  จะต้องเลือกไข่ไหมที่มาจากแหล่งผลิตที่มีการรับรองการปลอดโรคเพบริน และมีการยืนยันเปอร์เซ็นต์การฟักออกไม่ต่ำกว่า  90%   ซึ่งควรจะฟักออกภายใน 1 วัน ถึง 2 วัน

    4. ปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องมีการเตรียมในการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น ประกอบด้วย หนอนไหมวัยต่าง ๆ ใบหม่อนที่นำมาเลี้ยงไหมแต่ละวัย ที่ต้องเตรียมให้เพียงพอในแต่ละรุ่น โดยต้องมีสภาวะการเลี้ยงไหมแต่ละวัยที่เหมาะสม เช่น มาจากไข่ไหมของแม่ผีเสื้อที่ผ่านการตรวจและรับรองการปลอดโรค และสถานที่เลี้ยงไหมวัยอ่อนมีมาตรการป้องกันโรค

    5. พันธุ์ไหมที่นำมาเลี้ยงเพื่อผลผลิตรังไหม มี 3 ลักษณะสายพันธุ์ ได้แก่ ไหมพันธุ์พื้นเมือง   ไหมพันธุ์ลูกผสม และ ไหมพันธุ์ต่างประเทศ

      5.1 ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน/ไทยปรับปรุง หมายถึง ไหมพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย รวมทั้งไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านที่พัฒนาพันธุ์ให้มีคุณสมบัติดีขึ้น โดยใช้เฉพาะไหมพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเท่านั้น รังไหมมีสีเหลือง รูปร่างคล้ายกระสวย มีชื่อพันธุ์ เช่น พันธุ์นางเหลือง พันธุ์นางลาย พันธุ์สำโรง และพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 เป็นต้น

    5.2 ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม หมายถึง ไหมพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย โดยมีเชื้อพันธุ์บางส่วนที่มิใช่ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน รังไหมมีสีเหลือง มีชื่อพันธุ์ เช่น พันธุ์อุบลราชธานี 60-35 (พันธุ์ดอกบัว) พันธุ์จุลไทยเบอร์ 4 พันธุ์เหลืองสระบุรี เป็นต้น

    5.3 ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ หมายถึง ไหมพันธุ์ผสมระหว่างไหมพันธุ์ต่างประเทศสองสายพันธุ์ เช่น พันธุ์จุล เบอร์5 เป็นต้น

6. ลักษณะคุณภาพใบหม่อนที่เตรียมนำมาเลี้ยงไหมแต่ละวัย มีความอ่อนแก่เหมาะสมกับวัยของไหมที่จะทำให้ไหมได้รับธาตุอาหารเพียงพอ โดยไหมวัยอ่อนกินหม่อนใบอ่อน (ไหมวัย 1 ใช้ใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 ถึง ใบที่ 3  ไหมวัย 2 ใช้ใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 ถึง ใบที่ 6 ไหมวัย 3 ใช้ใบใต้ยอดลงใบที่ 1 ถึง ใบที่ 10) โดยนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความยาวสองเท่าของตัวหนอนไหม ส่วนไหมวัยแก่ (ไหมวัย 4 และไหมวัย 5)  ใช้ใบหม่อนได้ตลอดทั้งกิ่ง ยกเว้นใบยอด การให้อาหารวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น โดยใบหม่อนที่เตรียมต้องมาจากแปลงหม่อนที่มีการปลูกอย่างถูกวิธี เช่น ห่างจากพื้นที่ปลูกพืชที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ เป็นต้น ใบหม่อนต้องสดใหม่ สะอาด มีความอ่อนแก่เหมาะสมกับวัยไหมที่จะทำให้ไหมได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ และไม่มีลักษณะผิดปกติจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงที่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของไหม  การเก็บรักษาโดยการนำผ้าดิบชุบน้ำคลุมใบหม่อนไว้ และต้องเตรียมปริมาณใบหม่อนที่

7. การวางแผนปริมาณการเก็บใบหม่อนเพื่อจะนำไปเลี้ยงไหม ต้องเตรียมการล่วงหน้าและคำนวณปริมาณล่วงหน้าต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับพันธุ์ไหมที่เลี้ยงด้วย เช่น

- ไหมพันธุ์ไทย 1 แผ่นหรือกล่อง (22,000 ฟอง) ต้องใช้ใบหม่อน 250 -300 กิโลกรัมต่อรุ่น  

- ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม 1 แผ่นหรือกล่อง (22,000 ฟอง) ต้องใช้ใบหม่อน 350 – 400 กิโลกรัมต่อรุ่น

- ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ 1 แผ่นหรือกล่อง (22,000 ฟอง) ต้องใช้ใบหม่อน 500 - 550 กิโลกรัมต่อรุ่น

     โดยต้องควบคุมปริมาณใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหมแต่ละครั้ง ให้มีอย่างเพียงพอและต่อเนื่องในแต่ละรุ่น โดยยังคงความสดของใบหม่อนไว้ได้ แต่ไม่เหลือมากจนทำให้การระบายอากาศไม่ดี  เกิดความร้อนและความชื้นสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคของไหมได้

8. วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเลี้ยงไหม เช่น ชั้นวางกระด้งเลี้ยงไหม กระด้งไม้ไผ่ ตะกร้าเก็บใบหม่อน  ผ้าคลุมใบหม่อน ถุงผ้าสำหรับใส่ใบหม่อน ล้อเข็นหม่อนในโรงเลี้ยง  จ่อไม้ไผ่ ตาข่ายหรือวัสดุที่ช่วยแยกมูลไหมวัยอ่อนและไหมวัยแก่ มีด เขียง ขนไก่ ขนเป็ด และอื่น ๆ  โดยต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ