หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-HUDT-658A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ     9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความสามารถในการเตรียมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหม  จัดการพื้นที่ให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี จัดสภาพแวดล้อมสถานที่เลี้ยงไหมและมีการระบายอากาศที่ดีเหมาะสมกับการเลี้ยงไหมได้ดี  จัดทำพื้นที่กักดักแมลงวันก้นขน ปลอดภัยจากสัตว์ แมลงศัตรูหนอนไหม  สามารถคำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงาน และแก้ปัญหาในพื้นที่เลี้ยงไหม โดยใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง       

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.  มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8001–2553  รังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2.  มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11081

กำหนดพื้นที่เลี้ยงไหมและควบคุมความปลอดภัยจากปนเปื้อนสารเคมี และมีการระบายอากาศดี

1. กำหนดขนาดสถานที่เลี้ยงไหมที่เหมาะสมกับประมาณการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น

A11081.01 181214
A11081

กำหนดพื้นที่เลี้ยงไหมและควบคุมความปลอดภัยจากปนเปื้อนสารเคมี และมีการระบายอากาศดี

2. ควบคุมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหมให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี

A11081.02 181215
A11081

กำหนดพื้นที่เลี้ยงไหมและควบคุมความปลอดภัยจากปนเปื้อนสารเคมี และมีการระบายอากาศดี

3. จัดระบบระบายอากาศในพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหม

A11081.03 181216
A11082

จัดทำพื้นที่กักดักแมลงวันก้นขน ปลอดภัยจากสัตว์ แมลงศัตรูหนอนไหม

1. อธิบายศัตรูไหม และแนวทางป้องกันศัตรูไหมในพื้นที่เลี้ยงไหมได้

A11082.01 181217
A11082

จัดทำพื้นที่กักดักแมลงวันก้นขน ปลอดภัยจากสัตว์ แมลงศัตรูหนอนไหม

2. ควบคุมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหมให้มิดชิดและสามารถป้องกันศัตรูไหมได้

A11082.02 181218
A11083

ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น 

1. จัดสภาพแวดล้อมภายในสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม

A11083.01 181219
A11083

ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น 

2. กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้แสงแดดสัมผัสกับหนอนไหมโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A11083.02 181220
A11083

ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น 

3. กำหนดมาตรการป้องกันฝนที่จะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A11083.03 181221

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เกี่ยวกับสถานที่เลี้ยงไหมและการจัดการพื้นที่ในสถานที่เลี้ยงไหมให้ปลอดภ้ยและเหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การกำหนดขนาดพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหมที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่นให้ได้รังไหมตามเป้าหมาย

2.  การควบคุมพื้นที่สถานที่เลี้ยงไหมให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี และศัตรูไหม

3.  การจัดการสภาพแวดล้อมสถานที่เลี้ยงไหมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อหนอนไหมและคุณภาพรังไหม  

4. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี

5. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานเลี้ยงไหม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างสถานที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมและให้ผลผลิตรังไหมที่เพียงพอต่อความต้องการ  ทั้งในด้านพื้นที่ของสถานที่เลี้ยงไหม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  และการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมสถานที่เลี้ยงไหมให้ปลอดภัยจากสารเคมี  

2. ศัตรูไหมและแนวทางการป้องกันศัตรูไหมในสถานที่เลี้ยงไหม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

1. สถานที่เลี้ยงไหม คือโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงไหม ควรอยู่ในพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง ไม่ใช่พื้นที่ลุ่ม ระบายอากาศดี โดยห้องเลี้ยงไหมต้องสามารถกันแมลง สัตว์ และศัตรูไหม รวมทั้งกันฝน ความร้อน และแสงแดด 

มีระบบควบคุมและระบายอากาศได้ดี ควรอยู่ใกล้แปลงหม่อน ห่างไกลจากสารเคมีและฝุ่นควัน ขนาดสถานที่เลี้ยงไหมไม่ได้มีขนาดเฉพาะแล้วแต่พื้นที่ ภายในโรงเรือนต้องทำโต๊ะสำหรับเลี้ยงไหม  วัสดุทำจากไม้และตาข่าย เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเลี้ยงไหม  เช่น 1 โต๊ะมี 3-4 ชั้น โดย 1 ชั้นเลี้ยงไหมได้ประมาณ 2 แผ่น หรือชั้นเลี้ยงไหมพื้นที่ 16-20 ตารางเมตรเลี้ยงไหมได้ประมาณ 1 แผ่น

การกำหนดขนาดพื้นที่เลี้ยงไหม ต้องทราบขนาดพื้นที่เลี้ยงไหมต่อไข่ไหมและไหมแต่ละวัย ตั้งแต่ช่วงระยะเริ่มแรกของวัย จนถึงระยะปลายของวัย ดังนี้

ไหมวัย 1 ขนาดพื้นที่ต่อแผ่นที่ต้องการ ประมาณ 0.2 – 1.0 ตารางเมตร

ไหมวัย 2 ขนาดพื้นที่ต่อแผ่นที่ต้องการ ประมาณ 1.0 – 2.0 ตารางเมตร

ไหมวัย 3 ขนาดพื้นที่ต่อแผ่นที่ต้องการ ประมาณ 2.0 – 4.5 ตารางเมตร

ไหมวัย 4 ขนาดพื้นที่ต่อแผ่นที่ต้องการ ประมาณ 4.5 – 10.0 ตารางเมตร

ไหมวัย 5 ขนาดพื้นที่ต่อแผ่นที่ต้องการ ประมาณ 10.0 – 18.0 ตารางเมตร

2. สถานที่เลี้ยงไหมต้องมีการทำความสะอาดก่อนและหลังเลี้ยงไหม มีการกำจัดเชื้อโรค โดยอบฆ่าเชื้อด้วยการฉีดพ่นสารเคมีทำลายเชื้อโรคที่ตกค้างอยู่ในห้องเลี้ยงไหมทุกชนิดด้วยน้ำปูนคลอรีน  1 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นห้องเลี้ยงไหมหลังทำความสะอาดแล้ว ในอัตรา 225 ซีซีต่อตารางเมตร โดยฉีดให้เปียกเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที ทั้งภายในและภายนอกห้องเลี้ยงไหม  และพักโรงเลี้ยงประมาณ 10 วัน หากมีผู้เลี้ยงไหมจากโรงเลี้ยงอื่น  จะต้องรักษาสุขอนามัยก่อนเข้าไปในโรงเลี้ยไหม เช่น อาบน้ำ ล้างมือ เปลี่ยนชุดที่สะอาดสำหรับเลี้ยงไหม  

3. โรค แมลง และ สัตว์ ศัตรูไหมที่ต้องควบคุมไม่ให้เข้าไปในพื้นที่เลี้ยงไหมในสถานที่เลี้ยงไหม โดยโรคระบาดที่พบในหนอนไหม เช่น โรคเพบบรินทำให้ลำตัวหดสั้น แคระแกร็น โรคแกรสเซอรี่ทำให้ลำตัวเหลืองขุ่น น้ำเหลืองไหล  โรคมัสคาดีนทำให้ลำตัวเป็นซากแข็งสีดำคล้ายมัมมี่ ขึ้นเชื้อรา  เป็นต้น ส่วนแมลงและศัตรูไหม เช่น แมลงวันก้นขนที่จะเจาะเข้าไปในตัวหนอนไหมกัดกินอวัยวะภายใน  มดที่จะกัดกินไข่ไหม ทำให้ไข่ไหมไม่สามารถฟักออกเป็นตัว  หนูที่จะกัดกินไข่ไหม หนอนไหม รังไหม ผีเสื้อไหมเป็นอาหาร เป็นต้น

4. สภาพแวดล้อมการเลี้ยงไหม ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และมิดชิดเพื่อป้องกันศัตรูที่มารบกวนทำลายไหม (เช่น หนู นก แมลงวันก้นขน) สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย  และมีการป้องกันแสงแดดส่องโดนไหมโดยตรง และป้องกันฝนที่จะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ