หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนเตรียมการปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อนเลี้ยงไหม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-VWZZ-657A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนเตรียมการปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อนเลี้ยงไหม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานที่หลากหลายครอบคลุมการวางแผนเตรียมพันธุ์หม่อนเพื่อนำไปปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อนเลี้ยงไหม เตรียมพื้นที่ปลูกหม่อน กำหนดระบบหมุนเวียนการเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อนต่อรุ่นต่อปี สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการปลูกหม่อนได้ โดยใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง  สามารถให้คำแนะนำผู้ปฏิบัติงานและควบคุมกระบวนการปลูกหม่อนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มกษ. 3500-2553 มาตรฐานสินค้าเกษตร  เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11071

กำหนดขนาดพื้นที่ปลูกหม่อน พันธุ์หม่อน เพื่อทราบผลผลิตใบหม่อน

 1. อธิบายสภาพพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกหม่อนและตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกหม่อนโดยพิจารณาตามลักษณะดินและน้ำ และสภาพแวดล้อมที่ปลูกหม่อนได้ถูกต้อง

A11071.01 181207
A11071

กำหนดขนาดพื้นที่ปลูกหม่อน พันธุ์หม่อน เพื่อทราบผลผลิตใบหม่อน

2. จัดการแปลงหม่อนโดยกำหนดขนาดพื้นที่ และวางแนวแปลงหม่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ระยะและทิศทางให้เหมาะกับสภาพแสง และแหล่งน้ำ)  

A11071.02 181208
A11071

กำหนดขนาดพื้นที่ปลูกหม่อน พันธุ์หม่อน เพื่อทราบผลผลิตใบหม่อน

3. อธิบายลักษณะประจำพันธุ์หม่อน จุดแข็งและจุดอ่อนของหม่อนแต่ละสายพันธุ์เพื่อเลือกพันธุ์หม่อนที่ต้องการปลูกได้ถูกต้อง

A11071.03 181209
A11071

กำหนดขนาดพื้นที่ปลูกหม่อน พันธุ์หม่อน เพื่อทราบผลผลิตใบหม่อน

4. ระบุพันธุ์หม่อนที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกหม่อนได้ถูกต้อง

A11071.04 181210
A11072

กำหนดระบบหมุนเวียนการเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อนต่อรุ่นต่อปี

1. กำหนดระยะปลูกหม่อนที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและระบบปลูกที่ใช้ในแปลงหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11072.01 181211
A11072

กำหนดระบบหมุนเวียนการเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อนต่อรุ่นต่อปี

2. กำหนดวิธีปลูกหม่อนต่อระยะปลูกหม่อนได้อย่างเหมาะสม

A11072.02 181212
A11072

กำหนดระบบหมุนเวียนการเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อนต่อรุ่นต่อปี

3. กำหนดจำนวนต้นพันธุ์หม่อนที่ปลูกต่อรุ่นต่อปีเพื่อใช้เลี้ยงไหมได้อย่าง ถูกต้อง และเพียงพอ


A11072.03 181213

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์หม่อนและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม

4. มีความรู้เกี่ยวกับระบบปลูกหม่อนด้านการจัดการพื้นที่ปลูก และพันธ์หม่อนที่ปลูก 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การกำหนดแผนการปลูกหม่อนให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

2. การวางแผนเตรียมการปลูกหม่อนด้านพื้นที่ปลูกหม่อน และพันธุ์หม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อนที่เหมาะสม 

3. การจัดการระบบปลูกหม่อนให้สามารถเลี้ยงไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้เข้าใจได้ดี

5. บันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ปลูกหม่อน สภาพดิน แหล่งน้ำที่จำเป็น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกหม่อน 

2. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะพันธุ์หม่อนและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการปลูกในแปลงหม่อน 

3. ความรู้เกี่ยวกับระบบปลูกหม่อนและวิธีปลูกต่อระยะปลูกหม่อน 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

1. พื้นที่ปลูกหม่อน  ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง มีความลาดเอียงไม่เกิน 30%  ลักษณะดินในพื้นที่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี หน้าดินลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร  และความเป็นกรด-เบส (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5 และต้องเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในใบหม่อน เช่น อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ผลิตพืชที่ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรมาก  และต้องมีแหล่งน้ำใกล้พื้นที่ปลูกหม่อน และมีปริมาณน้ำเพียงพอในฤดูแล้ง การตรวจสภาพดินในพื้นที่ปลูกหม่อน เพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน และการใส่ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างดินที่ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ประมาณ 15-20 จุดต่อแปลง

2.การเตรียมพื้นที่ปลูก จะมีการไถดินประมาณ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ไถลึก 30–40 เซนติเมตร ปรับระดับพื้นผิวให้สม่ำเสมอทั่วแปลง มีการป้องกันน้ำท่วมขัง และตากดินไว้ประมาณ 5–7 วัน แล้วจึงไถพรวนครั้งที่ 2 เพื่อการจัดวัชพืช และเก็บเหง้าหญ้าออก หากพื้นที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์อาจใช้การปลูกเมล็ดปอเทืองแล้วไถกลบเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ หรือใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน และปรับปรุงความเป็นกรดเป็นด่างโดยใส่ปูนขาว ก่อนปลูกหม่อนรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก)  

3. หม่อนเป็นพืชยืนต้นประเภทไม้พุ่ม ใบมีสีเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ลักษณะประจำพันธุ์หม่อนที่กรมหม่อนไหมส่งเสริม มี 2 ลักษณะ คือ 

1)  พันธุ์พื้นเมือง เช่น หม่อนน้อย หม่อนสร้อย หม่อนแดง หม่อนแก้วชนบท หม่อนไผ่ หม่อนคุนไพ หม่อนแก้วอุบล หม่อนใหญ่อุบล หม่อนตาดำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ให้ใบมีลักษณะแฉก และใบเว้า ให้ผลผลิตไม่สูง

2)  พันธุ์ลูกผสม เช่น พันธุ์บุรีรัมย์ พันธุ์สกลนคร พันธุ์ศรีสะเกษ ส่วนใหญ่ให้ใบมีลักษณะรูปใบโพธิ์ ใบเลื้อย ขอบใบไม่เว้ามาก ขนาดใบไหญ่ เนื้อใบมาก ให้ผลผลิตสูง  เจริญเติบโตง่าย ทนทานต่อโรครา และทนแล้งได้ดี  แต่ละพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมือนกัน 

     4. ระบบปลูกหม่อนต้องมีการวางแผน แบ่งล็อค แบ่งแปลง เพื่อเคลื่อนย้ายสะดวก แปลงหม่อน สถานที่เลี้ยงไหมที่จะเลี้ยงจำเป็นต้องสัมพันธ์กัน เช่น เลี้ยงไหมเดือนละ 4 แผ่น ต้องปลูกหม่อนอย่างน้อยจำนวน 6 ไร่ แบ่งเป็น 3 แปลง การจัดระยะปลูกต้นหม่อนที่เหมาะสม ควรให้สามารถนำเครื่องทุ่นแรงเข้าไถพรวนดิน กำจัดวัชพืชได้ โดยควรมีระยะปลูกห่างกัน โดยมีระยะระหว่างแถว 2.20-2.50 เมตร และระหว่างต้น 1 เมตร

    5. การคำนวณจำนวนต้นพันธุ์หม่อนที่จะใช้ในการปลูกหม่อน ต้องทราบระยะหว่างต้น ระยะแถวของแปลงหม่อน โดยจำนวนต้นพันธุ์หม่อนต้องพอดีกับพื้นที่ปลูก และควรเตรียมต้นหม่อนเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เผื่อในกรณีที่มีต้นหม่อนตายหรือไม่สมบูรณ์      

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ