หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานไหมทำรัง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-EHDN-655A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานไหมทำรัง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO - 08    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานจัดการไหมทำรัง  โดยจัดวางจ่อให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดรังปนเปื้อน  จัดสภาพแวดล้อมพื้นที่ไหมทำรังโดยควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นให้เหมาะสม  สามารถจัดการละแก้ไขปัญหาในระหว่างการปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มกษ. 8001–2553  มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องรังไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. มกษ. 8201-2566 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไหมชนิดกินใบหม่อน  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11051

จัดวางจ่อให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดรังปนเปื้อน

1. จัดวางจ่อที่ไหมกำลังทำรัง ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสม และถ่ายเทอากาศได้ดี รวมถีงลักษณะการวางจ่อที่ไม่ทับซ้อนเพื่อป้องกันการเกิดรังเปื้อน

A11051.01 181195
A11051

จัดวางจ่อให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดรังปนเปื้อน

2. กำหนดจำนวนตัวหนอนไหมที่จะนำเข้าจ่อได้อย่างเหมาะสมกับชนิดและขนาดของจ่อเพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับไหมทำรัง  

A11051.02 181196
A11052

จัดสภาพแวดล้อมพื้นที่ไหมทำรัง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ได้เหมาะสม

1. มีเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง-กระเปาะแห้ง เพื่อตรวจเช็ครระดับอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในพื้นที่ไหมที่ทำรัง ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อไหมทำรังได้ดี

A11052.01 181197
A11052

จัดสภาพแวดล้อมพื้นที่ไหมทำรัง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ได้เหมาะสม

2. มีองค์ความรู้จัดการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในบริเวณที่วางจ่อไหมทำรัง    

A11052.02 181198

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจ่อสำหรับไหมทำรัง 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางจ่อไหมทำรัง  และดูแลรักษาพื้นที่วางจ่อไหมทำรังให้มีสภาวะที่เหมาะสม

2. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

3. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ลักษณะจ่อไหมทำรังที่เหมาะสม  พื้นที่การจัดวางจ่อไหมทำรัง และควบคุมสภาพแวดล้อมจ่อไหมทำรังให้เหมาะสมต่อไหมทำรัง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

         การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ 

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด    

    1. การเก็บไหมสุกจะเก็บทีละตัวในช่วงแรกๆ ที่ไหมสุก เมื่อไหมสุกมีจำนวนมากให้เก็บโดยเขย่ากิ่ง หม่อนให้ไหมสุกร่วงลงบนอุปกรณ์ที่เตรียมไว้รองรับไหมสุก นำไหมสุกใส่จ่อ เช่น จ่อหมุน 1300 ตัว/ชุด  กรณีที่ใช้จ่อลวด หรือจ่อพลาสติก ประมาณ 250-300 ตัว/จ่อ  และต้องลอกกระดาษรองจ่อออกจากหลังไหมทำรังแลัว 2 วัน เพื่อป้องกันรังเปื้อนและความชื้นจากปัสสวะของหนอนไหม    สภาพพื้นที่เก็บจ่อทำรังควรเก็บไว้ ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี  มีอุณหภูมิ 24-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธุ์ที่เหมาะสม ประมาณร้อยละ 60-70  

2. รูปแบบของพื้นที่วางจ่อต้องมีการควบคุมเพื่อให้ได้คุณภาพของรังไหมเพื่อประสิทธิภาพในการสาวไหมที่ดี เช่น ต้องถ่ายเทอากาศได้ดี และไม่ทำให้เกิดปัญหาการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลจากไหม ภาชนะบรรจุรังไหมต้องจัดการให้มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ต้องโปร่งและระบายอากาศได้ดี  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ