หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AXCP-653A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2008     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อน  จัดเก็บใบหม่อนหลังการเก็บเกี่ยวได้ถูกต้องเหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมแต่ละวัย วางแผนกำหนดปริมาณใบหม่อนกับการใช้เลี้ยงไหม เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย  ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่พบในระหว่างการปฏิบัติงานได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มกษ. 3500-2553 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11031

เก็บเกี่ยวใบหม่อนที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย

1. เลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวใบหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11031.01 181171
A11031

เก็บเกี่ยวใบหม่อนที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย

2. อธิบายระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวใบหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม ได้อย่างถูกต้อง

A11031.02 181172
A11031

เก็บเกี่ยวใบหม่อนที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการเลี้ยงไหมแต่ละวัย

3. อธิบายวิธีการเก็บเกี่ยวและคัดเลือกใบหม่อนสำหรับการเลี้ยงไหมให้เหมาะสมในแต่ละวัยได้อย่างถูกวิธี

A11031.03 181173
A11032

จัดเก็บใบหม่อนหลังการเก็บเกี่ยวได้ถูกต้องเหมาะต่อการเลี้ยงไหม

1. อธิบายสภาพการจัดเก็บใบหม่อนหลังเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมได้ถูกต้อง

A11032.01 181174
A11032

จัดเก็บใบหม่อนหลังการเก็บเกี่ยวได้ถูกต้องเหมาะต่อการเลี้ยงไหม

2. ระบุข้อควรปฏิบัติในการจัดเก็บใบหม่อนได้อย่างถูกต้อง 

A11032.02 181175
A11033

กำหนดปริมาณใบหม่อนกับการใช้เลี้ยงไหม 

1. คำนวณปริมาณใบหม่อนที่จะใช้ในการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่นได้อย่างถูกต้อง

A11033.01 181176
A11033

กำหนดปริมาณใบหม่อนกับการใช้เลี้ยงไหม 

2. วางแผนการเก็บเกี่ยวให้ได้ใบหม่อนมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้เลี้ยงไหมได้

A11033.02 181177

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวใบหม่อน  

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเก็บเกี่ยวใบหม่อน และการเก็บรักษาใบหม่อนหลังการเก็บเกี่ยว 

2. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยวใบหม่อนและเก็บรักษาผลผลิตใบหม่อนได้ถูกวิธีและปลอดภัย

3. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

4. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  วิธีการเก็บเกี่ยวใบหม่อน และการจัดเก็บใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม

2.  วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บเกี่ยวและจัดเก็บใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม

3.  ปริมาณใบหม่อนที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

1. การเก็บเกี่ยวใบหม่อน หมายถึง การตัดกิ่งและเก็บใบหม่อนเพื่อนำมาเลี้ยงไหม  ใบหม่อนที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรวางสัมผัสพื้นดินโดยตรง    และหลังเก็บเกี่ยวใบหม่อนแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยไถพรวนหลังการเก็บเกี่ยวแล้วทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต้นหม่อนแตกรากใหม่ แตกใบใหม่ และเปิดหน้าดินให้มีออกซิเจนมากขึ้น ดินร่วนซุย อุ้มน้าได้ดี นอกจากนี้ต้องคลุมดินด้วยฟาง  ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี  และต้องมีการกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี หรือใช้วิธีไถพรวน

2.    ใบหม่อนที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรเก็บในสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้ใบหม่อนคงความสดไว้ได้ดี นอกจากนี้ควรเป็นห้องที่มืด เพื่อลดการสังเคราะห์แสงของใบหม่อน

สำหรับการดูแลและเก็บรักษาใบหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมควรดำเนินการ ดังนี้

- แบบเก็บใบ ให้นำใบหม่อนที่เก็บมาวางแผ่กระจายออกบนเสื่อหรือพลาสติก และต้องนำมาเก็บรักษาความชื้นในใบหม่อนหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมไว้เลี้ยงไหม ควรฉีดพ่นละอองน้ำลงมาบริเวณใบหม่อน หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดคลุมตะกร้า ใส่ถุงพลาสติก ขึ้นอยู่กับฤดูการเก็บเกี่ยว (เก็บไว้ได้ประมาณ 1-2 วัน) ในช่วงฤดูหนาวควรใช้แผ่นพลาสติกคลุมปิดกองใบหม่อน 

- แบบตัดกิ่งเลี้ยง ในสภาพอากาศร้อนหรือแห้งให้ฉีดพ่นละอองน้ำบริเวณกองหม่อน  แล้วจึงใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ คลุม ถ้าใบหม่อนที่เก็บมาเปียกชื้น และสภาพอากาศในขณะนั้นชื้นมาก ให้วางผึ่งให้แห้งก่อนนำมาเก็บรวมกัน

3.ใบหม่อนที่จะนำมาเลี้ยงไหมควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้

วัย 1 เก็บใบจากยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอดจากใบ

วัย 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4 – 6

วัย 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7 – 10 

        ใบหม่อนที่เป็นแขนง เมื่อนำมาใช้เลี้ยงหม่อนจะมีการตัดส่วนยอดของแขนงดังต่อไปนี้คือ สำหรับหนอนไหมวัย 1 จะตัดส่วนยอดของแขนง ประมาณ 1/3 ของความยาว สำหรับไหมวัย 2 ตัดแขนง 2/3 ของความยาว นำมาหั่นให้มีความยาว 1 ซ.ม. ส่วนไหมวัย 3 จะใช้แขนงดังกล่าวทั้งหมด นำมาหั่นให้มีความยาว 1 ซ.ม. 2 และ 4 ซ.ม.  ปริมาณใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหมแต่ละวัย ประมาณ 20 – 25 กิโลกรัม/ไข่ไหม 1 แผ่น อัตราส่วนการให้ใบหม่อนในแต่ละช่วงเวลา เช้า กลางวัน เย็น เป็น 3 : 2 : 5 โดยน้ำหนัก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ