หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานดูแลและบำรุงรักษาแปลงหม่อน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PXST-652A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานดูแลและบำรุงรักษาแปลงหม่อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2008     รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานดูแลและบำรุงรักษาแปลงหม่อน   โดยใช้วัสดุเศษพืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืช ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ ให้น้ำในแปลงหม่อนได้อย่างถูกวิธี มีระบบการให้น้ำในแปลงหม่อน และระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการกำจัดโรคและแมลงศัตรูหม่อน ตามแบบแผน/คู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย  รวมทั้งสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มกษ. 3500-2553 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11021

ใช้วัสดุเศษพืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืช รักษาความชื้นของดิน

1. สามารถแยกประเภทของวัชพืชที่เกิดขึ้นในแปลงหม่อนได้ถูกต้อง

A11021.01 181154
A11021

ใช้วัสดุเศษพืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืช รักษาความชื้นของดิน

2. อธิบายวิธีการใช้วัสดุคลุมดินและวิธีการป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงหม่อนได้อย่างถูกต้อง  

A11021.02 181155
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

1. อธิบายลักษณะและอาการขาดธาตุอาหารพืชได้อย่างถูกต้อง

A11022.01 181156
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

2. อธิบายประเภทของปุ๋ยที่ใช้ในแปลงหม่อนได้อย่างถูกต้อง 

A11022.02 181157
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

3. อธิบายสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ปลูก ลักษณะเนื้อดิน และอายุหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11022.03 181158
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

4. อธิบายช่วงเวลาและวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11022.04 181159
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

5. อธิบายปริมาณการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน และอายุหม่อนได้อย่างถูกต้อง 

A11022.05 181160
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

6. เลือกวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11022.06 181161
A11022

ใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

7. ดำเนินการใส่ปุ๋ยให้ต้นหม่อนได้อย่างถูกวิธี

A11022.07 181162
A11023

มีระบบการตัดแต่งหม่อนที่สอดคล้องกับแผนการเลี้ยงไหม

1. อธิบายวิธีตัดแต่งกิ่งหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11023.01 181163
A11023

มีระบบการตัดแต่งหม่อนที่สอดคล้องกับแผนการเลี้ยงไหม

2. อธิบายข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่งหม่อนได้อย่างถูกต้อง 

A11023.02 181164
A11023

มีระบบการตัดแต่งหม่อนที่สอดคล้องกับแผนการเลี้ยงไหม

3. เลือกอุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11023.03 181165
A11023

มีระบบการตัดแต่งหม่อนที่สอดคล้องกับแผนการเลี้ยงไหม

4. ดำเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนได้อย่างถูกวิธี

A11023.04 181166
A11024

มีระบบการให้น้ำในแปลงหม่อน

1. ดำเนินการให้น้ำระหว่างเพาะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่อย่างถูกวิธี(เช่น ระบบน้ำหยด  ระบบสปริงเกลอร์ ฯลฯ) 

A11024.01 181167
A11024

มีระบบการให้น้ำในแปลงหม่อน

2. เลือกช่วงเวลาในการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ และฤดูกาลได้อย่างถูกต้อง

A11024.02 181168
A11025

มีระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูหม่อน

1. อธิบายชนิดของโรคและแมลงที่เข้าทำลายต้นหม่อนได้ถูกต้อง

A11025.01 181169
A11025

มีระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูหม่อน

2. อธิบายวิธีการกำจัดโรค และแมลงได้อย่างถูกวิธี และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหม่อน และไม่เป็นอันตรายต่อไหม

A11025.02 181170

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแล บำรุงรักษาแปลงหม่อน

4. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลรักษาหม่อนในแปลงหม่อน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การป้องกันกำจัดวัชพืช โรค และแมลงศัตรูหม่อน การใส่ปุ๋ย การให้น้ำและระบายน้ำในแปลงหม่อน วัสดุคลุมดิน วัสดุและพืชบำรุงดิน ประเภทและชนิดของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

2. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเก็บผลผลิตใบหม่อน  การใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการดูแลบำรุงรักษาแปลงหม่อน เช่น เครื่องพ่นยา ได้อย่างถูกวิธี และปลอดภัย โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ หน้ากาก รองเท้าบูท  

3. การตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเก็บผลผลิตใบหม่อน การเก็บเกี่ยวใบหม่อน และการตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเตรียมใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมในรุ่นต่อไป การเก็บรักษาใบหม่อนหลังการเก็บเกี่ยว 

4. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

          5. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประเภทและชนิดของวัสดุที่ใช้กำจัดวัชพืชและบำรุงดิน  

2. วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องจักรในการดูแลบำรุงรักษาแปลงหม่อน

3. วิธีการตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเก็บผลผลิตใบ การเก็บเกี่ยวใบหม่อน และการตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเตรียมใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม

4. วัสดุอุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งหม่อนเพื่อเก็บผลผลิตใบหม่อน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

      แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

      การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด   

1. วัชพืชที่พบในแปลงหม่อนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นหม่อน มีทั้งวัชพืชใบแคบ และวัชพืขใบกว้าง เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าปากควาย  หญ้าไทร  หญ้าขน  หญ้าแพรก  ผักเบี้ยหิน   ผักเบี้ยใหญ่  ผักโขมหิน แห้วหมู  ตีนตุ๊กแก สาบเสือ เป็นต้น วิธีการกำจัดวัชพืชมีหลายวิธี เช่น ไถพรวน ใช้สารเคมีกำจัด ใช้วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการเกิดวัชพืช  โดยสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดวัชพืชที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร วัสดุคลุมดินที่ใช้ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ชานอ้อย นำมาคลุมดินบริเวณโคนต้นหม่อนให้ห่างจากต้นหม่อนในรัศมีรอบโคนต้นประมาณ 1 เมตร  ส่วนพืชที่นิยมปลูกคลุมดิน เช่น ปอเทือง ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  โดยปลูกแซมระหว่างแถวหม่อน และบำรุงดิน ในแปลงหม่อน

2.    การให้ปุ๋ยบำรุงดินในแปลงหม่อน  มีให้เลือกใช้ทั้งชนิดปุ๋ยอินทรีย์ เข่น ปุ๋ยมูลสัตว์  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ  ชนิดปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ย NPK  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตที่มีธาตุกำมะถันรวมอยู่ด้วย (21-0-0+24S)  ปุ๋ย ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) เป็นต้น  และชนิดปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี  การเลือกใช้ปุ๋ยจะต้องมีการวิเคราะห์ดินเพื่อปรับใช้สูตรปุ๋ยให้เหมาะสม

3. การปรับปรุงบำรุงดินหลังเก็บเกี่ยวใบหม่อน ควรมีการไถพรวนหลังการตัดแต่งแล้วทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต้นหม่อนแตกรากใหม่ แตกใบใหม่ และเปิดหน้าดินให้มีออกซิเจนมากขึ้น ดินร่วนซุย อุ้มน้าได้ดี นอกจากนี้ต้องคลุมดินด้วยฟาง  ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี  และต้องมีการกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี หรือใช้วิธีไถพรวน    

4. การตัดแต่งต้นหม่อนมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับต้นหม่อนให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่ม ไม่สูง  เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวได้ง่าย ส่วนการตัดแต่งกิ่งหม่อนหลังเก็บเกี่ยวช่วยให้ต้นหม่อนแตกใบเร็ว ใบมีคุณภาพ  ให้ใบใหญ่  ต้นอวบ และช่วยเพิ่มผลผลิต  รูปแบบการตัดแต่งหม่อน มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การตัดต่ำ โดยตัดให้ต้นตอเหลือสูงจากพื้นดินประมาณ 25 - 50 เซนติเมตร การตัดกลาง และตัดแขนง  โดยตัดให้ต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร  และการตัดแขนง  โดยตัดสูงจากรอยตัดกลางเดิม 5 - 10 เซนติเมตร  การเลือกรูปแบบการตัดแต่งกิ่งหม่อนขึ้นกับวัตถุประสงค์การตัด การดูแลรักษา และให้ผลิตผลสูง นอกจากนี้ยังเป็นการกำจัดหรือป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย

5. อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งต้นหม่อน มีทั้งกรรไกรตัดแต่งกิ่ง มีด เคียว หรือเลื่อย  ส่วนอุปกรณ์และเครื่องมือที่เก็บเกี่ยวใบหม่อนที่ต้องสัมผัสกับใบหม่อนโดยตรง จะใช้มีดหรือกรรไกร ที่ควรทำจากวัสดุที่ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน  ต้องคมและสะอาด  ส่วนภาชนะบรรจุที่ใช้ในการขนย้ายต้องสะอาด  ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพใบหม่อนที่เก็บเกี่ยวแล้ว   

6. วิธีการให้น้ำและระบายน้ำในแปลงหม่อน มีหลายวิธี ได้แก่ การให้น้ำแบบปล่อยตามร่อง โดยทำร่องให้น้ำไหล ระบบน้ำหยดใช้สายน้ำหยดเพื่อประหยัดน้ำ หรือระบบสปริงเกลอร์ให้จากต้นลงราก ต้นหม่อนไม่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

7.ชนิดของโรคที่พบมากในแปลงหม่อนและส่งผลให้ทำลายต้นหม่อน เช่น โรครากเน่า  โรคราสนิม  โรคราแป้ง  โรคใบด่าง  โรคใบไหม้ ส่วนแมลงศัตรูหม่อนที่เข้าทำลายต้นหม่อนได้ ตัวอย่างแมลงปากกัดที่ทำลายต้นหม่อน เช่น ด้วงหนวดยาว  ปลวก  แมลงที่กัดกินใบและยอดอ่อน เช่น หนอนผีเสื้อ  และแมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยง  เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว หอยทาก  สารกำจัดโรคและแมลงให้เลือกใช้ให้ถูกต้องตามชนิดของโรคและแมลงที่ทำลายต้นหม่อน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ