หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PPYY-651A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2008     รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    เกษตรกรเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    6123    คนเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ     6123    เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไหม

ISCO 2008    รหัสอาชีพ    9212    คนงานฟาร์มเลี้ยงไหม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานปลูกหม่อนเพื่อผลผลิตใบหม่อน โดยเพาะขยายพันธ์หม่อน ขยายพันธุ์หม่อนเพื่อผลผลิตต้นหม่อนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขยายพันธ์ด้วยท่อนพันธุ์ กิ่งปักชำ หรือเมล็ด  คัดเลือกและเตรียมพื้นที่และแปลงปลูกหม่อน และปลูกพันธุ์ต้นหม่อนที่ปักชำได้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้โดยประยุกต์ใช้ความรู้และหลักการที่เกี่ยวข้อง  มีทักษะในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานปลูกหม่อนได้ถูกต้องและปลอดภัย  ตัดสินใจแก้ปัญหาเบื้องต้นในการปฏิบัติงานควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง      

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO – 08 หมวดใหญ่ 6 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงISCO – 08 หมวดใหญ่ 9 ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มกษ. 3500-2553  มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A11011

เพาะขยายต้นพันธุ์หม่อน/คัดเลือกต้นพันธุ์หม่อนปลูก

1. อธิบายการคัดเลือกต้นพันธุ์/ท่อนพันธุ์หม่อนที่ใช้ในการขยายพันธุ์หม่อนได้ถูกต้อง

A11011.01 181144
A11011

เพาะขยายต้นพันธุ์หม่อน/คัดเลือกต้นพันธุ์หม่อนปลูก

2. อธิบายลักษณะที่ดีของต้นพันธุ์/ท่อนพันธุ์หม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11011.02 181145
A11011

เพาะขยายต้นพันธุ์หม่อน/คัดเลือกต้นพันธุ์หม่อนปลูก

3. อธิบายวิธีการเพาะขยายพันธุ์หม่อนที่เพาะปลูกได้อย่างถูกต้อง

A11011.03 181146
A11012

คัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกหม่อน 

1 .อธิบายการคัดเลือกพื้นที่ปลูกหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11012.01 181147
A11012

คัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกหม่อน 

2. บำรุงดินที่เพาะปลูกหม่อนได้อย่างถูกวิธี

A11012.02 181148
A11012

คัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกหม่อน 

3. .อธิบายการให้น้ำแปลงปลูกหม่อนได้อย่างถูกต้อง

A11012.03 181149
A11013

กำหนดวิธีการปลูกหม่อน

1. อธิบายทิศทางการวางแถวปลูกหม่อนที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง

A11013.01 181150
A11013

กำหนดวิธีการปลูกหม่อน

2. อธิบายการกำหนดระยะปลูกหม่อนให้เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง

A11013.02 181151
A11013

กำหนดวิธีการปลูกหม่อน

3. อธิบายการเตรียมร่องปลูกหม่อนและเตรียมวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน

A11013.03 181152
A11013

กำหนดวิธีการปลูกหม่อน

4. ปลูกต้นหม่อนที่ผ่านการปักชำไปปลูกในหลุมปลูก/ร่องปลูกที่เตรียมไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A11013.04 181153

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรกรรม

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกหม่อน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจำแนกลักษณะประจำพันธุ์หม่อนที่นิยมปลูกได้

2. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการขยายพันธุ์หม่อน

3. การเตรียมพื้นที่และแปลงปลูกหม่อน 

4. การจัดการระบบการให้น้ำและระบายน้ำในแปลงปลูกหม่อน

5. การปลูกหม่อนที่ปักชำลงแปลงหม่อน

6. การใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องจักรกลในการปลูกหม่อน 

7. การทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน

8. การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1 ความต้องการน้ำแสงแดดอากาศ และวัสดุที่จำเป็นสำหรับการขยายพันธุ์หม่อน 

2 อายุของต้นพันธุ์/ท่อนพันธุ์หม่อน ที่เหมาะสมในการนำมาขยายพันธุ์ 

3 อายุของกิ่งปักชำที่จะนำไปปลูกในแปลงหม่อน 

4 จำนวนต้นพันธุ์ต่อพื้นที่ปลูก ตามลักษณะเครื่องจักรกล ที่ใช้ในแปลงหม่อน

5. การเตรียมพื้นที่และแปลงปลูกหม่อน 

6. ระบบการให้น้ำ และ ระบายน้ำในแปลงหม่อน 

7. เครื่องมือและเครื่องจักรกลในการปลูกหม่อน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  หลักฐานรับรองปฏิบัติงานด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ง) วิธีการประเมิน

แฟ้มสะสมผลงาน (เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด    

1. การขยายพันธุ์หม่อน ทำได้โดยการปลูกด้วยต้นพันธุ์และการปลูกด้วยท่อนพันธุ์  จึงต้องมีการเตรียมต้นพันธุ์/ท่อนพันธุ์หม่อนที่ถูกต้องตามพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้  พันธุ์หม่อนที่นิยมปลูกเพื่อนำผลผลิตใบหม่อนมาเลี้ยงไหม เช่น หม่อนพันธุ์สกลนคร  หม่อนพันธุ์สกลนคร 85 หม่อนพันธุ์ศรีสะเกษ 84

2. ลักษณะท่อนพันธุ์หม่อน หรือกิ่งพันธุ์หม่อนที่ดีที่นำมาขยายพันธุ์หม่อน ควรมีอายุ 6 เดือน ถึง 10 เดือน ปลอดจากศัตรูพืช ใช้เฉพาะส่วนของกิ่งที่แก่มีสีน้ำตาล มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 20 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนให้แต่ละท่อนมีตา 4 - 6 ตา หรือ ตัดส่วนปลายของท่อนพันธุ์เฉียงเป็นปากฉลาม โดยให้ตัดต่ำกว่าข้อตาเล็กน้อย และนำไปปลูกในแปลงโดยปักตรงลึกลงไปในดิน 3 ใน 4 ส่วนของท่อนพันธุ์

3. วิธีการปักชำหม่อน ควรเลือกพื้นที่ปักชำหม่อนที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำ และไม่มีน้ำท่วมขัง  ส่วนผสมของดินเพาะชำมีอัตราส่วนดิน 1 ส่วน แกลบเผา 3 ส่วน  ถุงชำควรเป็นถุงชำพลาสติกสีดำ เนื่องจากการปักชำหม่อนในถุงชำใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนย้ายมาปลูกในแปลงหม่อนได้  

4. พื้นที่เหมาะสมในการปลูกหม่อน ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง  ใกล้แหล่งน้ำ  มีลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี หน้าดินลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร  และความเป็นกรด-เบส (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5

5. วิธีการปลูกหม่อน ควรกำหนดทิศทางการวางแถวหม่อน โดยวางแถวหม่อนขวางความลาดเท เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดิน จัดระยะปลูกให้เหมาะสม (ประมาณ 1.00 x (2.20-2.50) เมตร)

6. วิธีการเตรียมหลุมปลูกหม่อน มี 2 วิธี คือ (1) การปลูกเป็นหลุมตามระยะปลูก โดยขุดหลุมปลูกขนาดประมาณ 25 x 25 x 25 เซนติเมตร   (2) ไถเป็นร่องยาวตามแนวปลูกขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วปลูกเป็นหลุมตามระยะ  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก

7. พื้นที่ดินที่ใช้ปลูกหม่อนควรเติมวัสดุปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน เช่น เมล็ดปอเทือง  และปรับปรุงความเป็นกรดเป็นด่างโดยใส่ปูนขาว ก่อนปลูกหม่อนรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก)  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ