หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน ดำเนินการ และให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-IYJA-228A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน ดำเนินการ และให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7541 ผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรอบรู้เชิงลึกและเป็นผู้นำด้านการดำน้ำ สามารถวางแผนกำกับดูแล และสั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว  และจัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัย  และสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO 2008 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐาน CMAS ระดับ 3 Star Diver

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2105.01

วางแผนกำกับดูแลการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในขณะดำน้ำ

1. อธิบายวิธีการช่วยเหลือนักดำน้ำเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานสากล ขณะทำกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างเหมาะสม

DM2105.01.01 180836
2105.01

วางแผนกำกับดูแลการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในขณะดำน้ำ

2. อธิบายขั้นตอนมาตรฐานต่างๆ ในการให้การช่วยเหลือนักดำน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้

DM2105.01.02 180837
2105.01

วางแผนกำกับดูแลการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในขณะดำน้ำ

3. สามารถวางแผนการช่วยเหลือนักดำน้ำในขณะทำกิจกรรมการดำน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสมได้

DM2105.01.03 180838
2105.02

สั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินได้

1.ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือนักดำน้ำเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐานรูปแบบต่างๆ ในขณะทำกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างเหมาะสม 

DM2105.02.01 180839
2105.02

สั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินได้

2. อธิบายขั้นตอนมาตรฐานต่างๆ ในการให้การช่วยเหลือนักดำน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้

DM2105.02.02 180840
2105.02

สั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินได้

3. สามารถควบคุมสถานการณ์ในการให้ความช่วยเหลือนักดำน้ำในขณะทำกิจกรรมการดำน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสมได้

DM2105.02.03 180841
2105.03

วิเคราะห์อาการของผู้ประสบภัยทางน้ำ

1. สามารถวิเคราะห์และประเมินอาการรูปแบบการเจ็บป่วย อาการ ของผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

DM2105.03.01 180842
2105.03

วิเคราะห์อาการของผู้ประสบภัยทางน้ำ

2. อธิบายหลักการ ขั้นตอน วิธีการช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ป่วยหรือผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ถูกต้อง

DM2105.03.02 180843
2105.03

วิเคราะห์อาการของผู้ประสบภัยทางน้ำ

3. สามารถตัดสินใจ สั่งการ ควบคุมการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างเหมาะสม เป็นระบบ ตามมาตรฐานสากล

DM2105.03.03 180844
2105.04

ประสานงานกับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. ให้ข้อมูลโรงพยาบาลที่สามารถให้การช่วยเหลือและรักษาอาการบาดเจ็บจากการดำน้ำ และกิจกรรมทางน้ำที่สามารถรองรับการดูแลรักษาอาการป่วยต่างๆ ที่ใกล้ที่สุดได้ชัดเจน

DM2105.04.01 180845
2105.04

ประสานงานกับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพบุคลากร และอุปกรณ์ และรักษาฉุกเฉินต่างๆ ของโรงพยาบาลในพื้นที่ที่รักษาอาการบาดเจ็บจากการดำน้ำ และกิจกรรมทางน้ำได้ชัดเจน

DM2105.04.02 180846
2105.04

ประสานงานกับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ให้ข้อมูลช่องทางต่างๆ ในการติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือฉุกเฉินได้ชัดเจน

DM2105.04.03 180847
2105.05

จัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

1. ทราบเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องแจ้งหรือรายงานต่อหน่วยงานที่ต้อง รับผิดชอบต่อได้

DM2105.05.01 180848
2105.05

จัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

2. ทราบวิธีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยจากแหล่งต่างๆ หลังจากได้รับแจ้งและทำการตรวจสอบผู้ป่วยเบื้องต้นได้

DM2105.05.02 180849
2105.05

จัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

3.สามารถส่งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นไปยังโรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยช่องทางต่างๆ ได้

DM2105.05.03 180850
2105.06

จัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. อธิบายวิธีการ ขั้นตอน กฎระเบียบ ข้อกฎหมาย สิทธิผู้ป่วย และกระบวนการที่ปลอดภัยสำหรับการเตรียมผู้ป่วย ผู้ประสบภัยเพื่อนำส่งไปยังสถานพยาบาล หรือหน่วยงานต่างๆ ได้ตามระบบ

DM2105.06.01 180851
2105.06

จัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ตัดสินใจเลือกรูปแบบการนำส่งผู้ป่วย ผู้ประสบภัยที่เหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดอัตรายต่อผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัยทางน้ำเพิ่มเติม เช่น ผู้ป่วยจากการดำน้ำลึกห้ามนำส่งต่อสถานพยาบาลทางเครื่องบิน

DM2105.06.02 180852
2105.06

จัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. สามารถสั่งการในการนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัย

DM2105.06.03 180853
2105.07

ติดตามความคืบหน้าและช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ

1. ติดตามขั้นตอนการดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัยทางน้ำ อย่างเป็นอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทางของการรักษา

DM2105.07.01 180854
2105.07

ติดตามความคืบหน้าและช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ

2. ติดต่อช่องทางในการประสาน การติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

DM2105.07.02 180855
2105.07

ติดตามความคืบหน้าและช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ

3. สามารถประสานงานระหว่างผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัยทางน้ำ ญาติ และเจ้าหน้าที่ส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

DM2105.07.03 180856

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

2. มีความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ

3. สามารถสื่อสารภาษามือสำหรับนักดำน้ำได้

4. มีความรู้ และทักษะสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายวิทยุสมัคเล่น หรือเครือข่ายวิทยุกู้ภัยได้   

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะด้านการสื่อสาร และความรอบรู้เชิงลึกและเป็นผู้นำด้านการดำน้ำท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ

2. มีทักษะสามารถวางแผนกำกับดูแล และสั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

3. มีทักษะและประสบการณ์สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ   

4. มีทักษะการประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน สามารถจัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรอบรู้เชิงลึกและเป็นผู้นำด้านการดำน้ำที่มีประสบการณ์

2. มีความรอบรู้ สามารถวางแผน กำกับดูแล และสั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

3. มีความรอบรู้เกี่ยวกับบทบาท ความสามารถของหน่วยงานที่ทำงานด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน และสามารถจัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัย

4. สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉินสามัญ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตรการช่วยเหลือทางทะเลและความปลอดภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตร และใบอนุญาตพนักงานวิทยุ หรือวิทยุสมัครเล่น หรืออื่นๆ (ถ้ามี)

  14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

หลักฐานรับรองการผ่านการปฏิบัติงานด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

  14.3 คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ เชิงลึกและเป็นผู้นำการดำน้ำ สามารถวางแผนกำกับดูแลการดำน้ำตามแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างปลอดภัย

2. สามารถวางแผนกำกับดูแล และสั่งการช่วยเหลือฉุกเฉินนักดำน้ำในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว และจัดการนำส่งผู้ประสบภัยทางน้ำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัย

3. สามารถวิเคราะห์และประเมินอาการรูปแบบการเจ็บป่วยของผู้ประสบเหตุ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. สามารถให้ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นของผู้ป่วยแก่สถานพยาบาลที่จะช่วยเหลือและรักษาอาการบาดเจ็บจากการดำน้ำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 

5. สามารถดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อนำส่งสถานพยาบาลที่จะดำเนินการรักษาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัด หรือข้อห้ามของผู้ปวยจากโรคดำน้ำ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ