หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการดำน้ำ และกำหนดเวลาในการดำน้ำอย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-YRIS-225A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการดำน้ำ และกำหนดเวลาในการดำน้ำอย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7541 ผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ในเชิงทฤษฎีหรือหลักการในวางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ และปลอดภัย สามารถกำกับดูแลกิจกรรมการดำน้ำให้เป็นไปตามเป้าหมาย  ตัดสินใจและแก้ปัญหาระหว่างกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO 2008 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐาน CMAS ระดับ 3 Star Diver

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2102.01

วางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ

1.อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรทางชีวภาพ และทรัพยากรทางกายภาพรูปแบบต่างๆ ในแหล่งดำน้ำรูปแบบต่างๆ ได้ครบถ้วน

DM2102.01.01 180786
2102.01

วางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ

2. อธิบายผลกระทบที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางชีวภาพ และกายภาพในรูปแบบต่างๆ ณ แหล่งดำน้ำในแต่ละบริเวณได้ถูกต้อง เช่น แนวปะการัง กองหินใต้น้ำ ถ้ำใต้น้ำ หรือแหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นรูปแบบต่างๆ เป็นต้น  

DM2102.01.02 180787
2102.01

วางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ

3. ระบุปัจจัยทางกายภาพของแหล่งดำน้ำ ที่อาจจะส่งผลให้นักดำน้ำสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรต่างๆ ในแหล่งดำน้ำได้ชัดเจน เช่น ความแรงของกระแสน้ำ ทัศนวิสัยใต้น้ำในแต่ละช่วงเวลา ความลึกของแหล่งดำน้ำ เป็นต้น 

DM2102.01.03 180788
2102.01

วางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ

4. อธิบายแนวทาง หรือหลักปฏิบัติ ข้อควรระวัง ในการดำน้ำที่ไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรต่างๆ ในแหล่งดำน้ำได้ครบถ้วน

DM2102.01.04 180789
2102.01

วางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ

5. สามารถควบคุมนักดำน้ำที่อยู่ภายใต้การดูแลไม่ให้สร้างผลกระทบต่อทรัพยากรต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเป็นรูปธรรม

DM2102.01.05 180790
2102.02

วางแผนเวลาสำหรับกิจกรรมดำน้ำได้อย่างปลอดภัย

1. ระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมกับระดับความลึกในการดำน้ำรูปแบบต่างๆ ได้ถูกต้อง เช่น การดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยว

DM2102.02.01 180791
2102.02

วางแผนเวลาสำหรับกิจกรรมดำน้ำได้อย่างปลอดภัย

2. ระบุปัจจัยทางกายภาพของแหล่งดำน้ำที่ส่งผลต่อระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการดำน้ำสำหรับนักดำน้ำระดับต่างๆ และรูปแบบการดำน้ำประเภทต่างๆ ได้ถูกต้อง เช่น ความแรงของกระแสน้ำ ทัศนวิสัยใต้น้ำแต่ละช่วงเวลา และความลึกของแหล่งดำน้ำ 

DM2102.02.02 180792
2102.02

วางแผนเวลาสำหรับกิจกรรมดำน้ำได้อย่างปลอดภัย

3. อธิบายผลกระทบระดับต่างๆ ที่จะส่งผลด้านความไม่ปลอดภัยต่อนักดำน้ำหากใช้เวลาใต้น้ำเกินระยะเวลาที่กำหนด

DM2102.02.03 180793
2102.02

วางแผนเวลาสำหรับกิจกรรมดำน้ำได้อย่างปลอดภัย

4. อธิบายถึงแนวทางหลักปฏิบัติต่างๆ สำหรับการดำน้ำที่ปลอดภัยภายใต้มาตรฐานเวลาที่เหมาะสม

DM2102.02.04 180794
2102.02

วางแผนเวลาสำหรับกิจกรรมดำน้ำได้อย่างปลอดภัย

5. สามารถให้การช่วยเหลือ ดูแลนักดำน้ำที่ดำน้ำเกินเวลาตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดได้

DM2102.02.05 180795

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. สามารถว่ายน้ำระยะทาง 200 เมตรได้

3. มีความเข้าใจในภาษาต่างประเทศได้ 

4. สามารถสื่อสารด้วยภาษามือสำหรับนักดำน้ำได้ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการวางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ และปลอดภัย

2. มีทักษะในการกำกับดูแลกิจกรรมการดำน้ำให้เป็นไปตามเป้าหมาย

3. มีทักษะในการตัดสินใจและแก้ปัญหาระหว่างกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีทักษะในการดูแลความปลอดภัย และช่วยเหลือนักดำน้ำจากอันตราย และอุบัติเหตุจากการดำน้ำเบื้องต้นตามมาตรฐานที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับทรัพยากร และความสำคัญของทรัพยากรในแหล่งดำน้ำรูปแบบต่างๆ และปัจจัยทางกายภาพของแหล่งดำน้ำ ที่อาจจะส่งผลให้นักดำน้ำสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรต่างๆ 

2. มีความรู้ภาคทฤษฎีในการวางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ และปลอดภัย 

3. มีความรู้ภาคทฤษฎีในการกำกับดูแลกิจกรรมการดำน้ำให้เป็นไปตามเป้าหมาย  

4. มีความรู้ภาคทฤษฎีในการตัดสินใจและแก้ปัญหาระหว่างกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. มีความรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ ที่จะส่งผลด้านความไม่ปลอดภัยต่อนักดำน้ำหากใช้เวลาใต้น้ำเกินระยะเวลาที่กำหนด

6. มีความรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย และช่วยเหลือนักดำน้ำจากอันตราย และอุบัติเหตุจากการดำน้ำเบื้องต้นตามมาตรฐานที่กำหนด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉินสามัญ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตรการช่วยเหลือทางทะเลและความปลอดภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตร และใบอนุญาตพนักงานวิทยุ หรือวิทยุสมัครเล่น หรืออื่นๆ (ถ้ามี)

  14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

หลักฐานรับรองการผ่านการปฏิบัติงานด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

  14.3 คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การวางแผนกิจกรรมการดำน้ำได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรใต้น้ำ และปลอดภัย

2. การกำกับดูแลกิจกรรมการดำน้ำให้เป็นไปตามเป้าหมาย

3. การตัดสินใจและแก้ปัญหาระหว่างกิจกรรมการดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การการดูแลความปลอดภัย และช่วยเหลือนักดำน้ำจากอันตราย และอุบัติเหตุจากการดำน้ำเบื้องต้นตามมาตรฐานที่กำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ