หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำน้ำตื้น และดำน้ำลึกได้

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-QLRM-216A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำน้ำตื้น และดำน้ำลึกได้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7541 ผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฎิบัติในการดำน้ำแบบผิวน้ำ (snorkeling) และการดำน้ำลึก (SCUBA) ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรพื้นฐาน CMAS ระดับ 1 Star Diver หรือหลักสูตรมาตรฐานที่เทียบเท่า ทั้งในสระน้ำ แหล่งน้ำนิ่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเบื้องต้นที่พบในระหว่างดำน้ำได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO 2008 หมวดใหญ่ 7 ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 มาตรฐาน CMAS ระดับ 1 Star Diver

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1101.01

ดำน้ำตื้นได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

1.สามารถอธิบายทฤษฎีการดำน้ำตื้นได้ถูกต้อง

RD1101.01.01 180709
1101.01

ดำน้ำตื้นได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

2.สามารถใช้อุปกรณ์ดำน้ำตื้นได้ถูกวิธี

RD1101.01.02 180710
1101.01

ดำน้ำตื้นได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

3.สามารถอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับการดำน้ำตื้นได้ครบถ้วน

RD1101.01.03 180711
1101.01

ดำน้ำตื้นได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

4.สามารถดำน้ำตื้นได้อย่างปลอดภัย

RD1101.01.04 180712
1101.02

ดำน้ำลึกได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

1.สามารถอธิบายทฤษฎีการดำน้ำลึกได้ถูกต้อง

RD1101.02.01 180713
1101.02

ดำน้ำลึกได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

2.สามารถใช้อุปกรณ์ดำน้ำลึกได้ถูกวิธี

RD1101.02.02 180714
1101.02

ดำน้ำลึกได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

3.สามารถอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับการดำน้ำลึกได้ครบถ้วน

RD1101.02.03 180715
1101.02

ดำน้ำลึกได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

4. สามารถดำน้ำลึกได้อย่างปลอดภัย

RD1101.02.04 180716

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านออกเขียนได้

2. สามารถว่ายน้ำระยะทาง 200 เมตรได้

3. มีความเข้าใจในภาษาต่างประเทศได้ 

4. สามารถสื่อสารด้วยภาษามือสำหรับนักดำน้ำได้ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้อุปกรณ์ในการดำน้ำตื้น   

2. สามารถใช้อุปกรณ์ในการดำน้ำลึก

3. มีประสบการณ์ด้านการดำน้ำลึก ไม่น้อยกว่า 40 ครั้ง

4. สามารถใช้อุปกรณ์การช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือการกู้ภัยได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความรู้ในภาคทฤษฎีการดำน้ำตื้น

2.  มีความรู้ในภาคทฤษฎีการดำน้ำลึก

3.  มีความรู้ในภาคทฤษฎีด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน ด้านการ

4.  มีความรู้ในการประเมินความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางน้ำ สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ รูปแบบกิจกรรมดำน้ำ

และตัดสินใจแก้ปัญหาเบื้องต้นที่พบในระหว่างดำน้ำได้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านการดำน้ำ หรือในวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรมด้านหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉินสามัญ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตรการช่วยเหลือทางทะเลและความปลอดภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

    ใบประกาศนียบัตร และใบอนุญาตพนักงานวิทยุ หรือวิทยุสมัครเล่น หรืออื่นๆ (ถ้ามี)

  14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

หลักฐานรับรองการผ่านการปฏิบัติงานด้านการกู้ภัยทางน้ำ (ถ้ามี)

  14.3 คำแนะนำในการประเมิน

           การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การดำน้ำตื้น (Snorkel diving) หมายถึง กิจกรรมการว่ายน้ำที่ใช้หน้ากากดำน้ำ ท่อหายใจ และการใช้ตีนกบ โดยที่ผู้ใช้สามารถอยู่ที่ผิวน้ำและสามารถดำลงไปใต้น้ำเป็นช่วงๆ โดยการเก็บอากาศและกลั้นหายใจขณะดำน้ำ ทั้งนี้อาจมีอุปกรณ์ช่วยการลอยตัวเพิ่มขึ้นมาเพื่อช่วยในการลอยตัวที่ผิวน้ำซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และความสามารถของผู้นั้น

 2. ดำน้ำลึก (SCUBA) หมายถึง กิจกรรมการดำน้ำ ที่นักดำน้ำมีการนำพาอุปกรณ์ดำน้ำใดๆ ที่นักดำน้ำนำลงไปใช้หายใจด้วยตัวเอง (selfcontained underwater breathing apparatus) ทั้งในสระว่ายน้ำ และแหล่งน้ำในธรรมชาติ

 3. มีความรู้ในภาคทฤษฎีด้านการช่วยเหลือฉุกเฉินรูปแบบต่างๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UoC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EoC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ