หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-PLML-529A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)


1 5120 พ่อครัวแม่ครัว

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยด้านอาหาร ได้แก่ การคัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรส การล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ การเก็บรักษาวัตถุดิบ การเลือกวิธีการปรุงประกอบและอุปกรณ์ และการปฏิบัติงานปรุงประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0320201

จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

1) คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด หรือ perishable food ได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320201.01 178847
0320201

จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

2) คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารแห้งและเครื่องปรุง หรือ non-perishable food ได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320201.02 178848
0320201

จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

3) ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320201.03 178849
0320201

จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

4) เก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320201.04 178850
0320202

ปรุงประกอบอาหารที่ปลอดภัย

1) เลือกวิธีการปรุงประกอบและอุปกรณ์ ได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320202.01 178851
0320202

ปรุงประกอบอาหารที่ปลอดภัย

2) ปรุงประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

0320202.02 178852
0320202

ปรุงประกอบอาหารที่ปลอดภัย

3) ปฏิบัติงานปรุงประกอบอาหารได้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล (Personal Hygiene)

0320202.03 178853

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะในการคัดเลือกวัตถุดิบที่ปลอดภัย ทั้งประเภทอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรส

2)    มีทักษะในการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ และการใช้อุปกรณ์ในการตัดแต่งวัตถุดิบ

3)    มีทักษะในการเก็บรักษาวัตถุดิบทุกประเภทให้ปลอดภัย

4)    มีทักษะในการเลือกวิธีการปรุงประกอบ และอุปกรณ์

5)    มีทักษะในการปรุงประกอบเพื่อให้อาหารปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่อง Good Manufacturing Practices (GMP) / Good Hygiene Practices (GHP)

2)    มีความรู้เรื่องจุดวิกฤติของการปนเปื้อน (HACCP เบื้องต้น)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )




  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน

  2. ผลการประเมินจากการสาธิตปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลการทดสอบความรู้ (ปรนัย 4 ทางเลือก)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 



(ง) วิธีการประเมิน    




  • ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน(ปรนัย) และแบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คัดเลือกวัตถุดิบ ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ เก็บรักษาวัตถุดิบ และปฏิบัติงานปรุงประกอบอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

(ก) คำแนะนำ            

1)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถ




  • คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรส ได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

  • ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบและเก็บรักษาวัตถุดิบได้ถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย 

  • เลือกวิธีการปรุงประกอบและอุปกรณ์ และการปฏิบัติงานปรุงประกอบอาหารได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร



2)    ผู้เข้ารับการประเมินเรียนรู้จุดวิกฤติของการปนเปื้อน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  •  ความปลอดภัยตามหลักอาหารปลอดภัย และ หลักสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ ตามหลัก Good Manufacturing Practice; GMP / Good Hygiene Practice; GHP


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ)




  1. แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ทางเลือก)

  2. แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน (ปรุงประกอบอาหารที่ปลอดภัย)




  • แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน



            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ