หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MIXW-526A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)


1 5120 พ่อครัวแม่ครัว

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ การคัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด อาหารแห้งและเครื่องปรุงรส การล้างทำความสะอาด ตัดแต่ง จัดเตรียมวัตถุดิบ การเก็บรักษาวัตถุดิบ การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการชั่งตวง การระบุสัดส่วนและการชั่งตวงส่วนประกอบตามตำรับอาหาร การเลือกใช้ภาชนะและอุปกรณ์ตามวิธีการปรุงประกอบ และการเลือกวิธีการปรุงประกอบและปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0310201

จัดเตรียมวัตถุดิบตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

1) คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด หรือ perishable food ที่สด สะอาด ได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0310201.01 178828
0310201

จัดเตรียมวัตถุดิบตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

2) คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารแห้งและเครื่องปรุง หรือ non-perishable food ได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0310201.02 178829
0310201

จัดเตรียมวัตถุดิบตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

3) ล้างทำความสะอาด ตัดแต่ง เตรียมวัตถุดิบได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร

0310201.03 178830
0310201

จัดเตรียมวัตถุดิบตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

4) เก็บรักษาวัตถุดิบอาหารก่อนการปรุงประกอบเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0310201.04 178831
0310202

ชั่ง ตวง ส่วนประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

1) เลือกอุปกรณ์สำหรับการชั่งตวงได้ถูกต้อง

0310202.01 178832
0310202

ชั่ง ตวง ส่วนประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

2) ชั่ง ตวง ส่วนประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพได้ถูกต้อง

0310202.02 178833
0310203

ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

1) เลือกใช้ภาชนะและอุปกรณ์ได้เหมาะสมกับวิธีการปรุงประกอบเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการ

0310203.01 178834
0310203

ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

2) เลือกวิธีการปรุงประกอบเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0310203.02 178835
0310203

ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

3) ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0310203.03 178836

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ประเภทอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรส

2) มีทักษะในการล้างทำความสะอาด ตัดแต่ง จัดเตรียมวัตถุดิบ การเก็บรักษาวัตถุดิบ

3) มีทักษะในการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับชั่งตวง

4) มีทักษะในการชั่งตวงส่วนประกอบตามตำรับอาหาร

5) มีทักษะในการเลือกและใช้ภาชนะ และอุปกรณ์ตามวิธีการปรุงประกอบ

6) มีทักษะในการเลือกวิธีการปรุงประกอบ

7) มีทักษะในการปรุงประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบประเภทอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรส

2)    มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการล้างวัตถุดิบประเภทต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้

3)    มีความรู้เกี่ยวกับการเก็บอาหารวัตถุดิบ เช่น อุณหภูมิตู้เย็น อุณหภูมิตู้แช่แข็ง

4)    มีความรู้เกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ในการปรุงประกอบอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )




  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน

  2. ผลการประเมินจากการสาธิตปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลการทดสอบความรู้ (ปรนัย)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 



(ง) วิธีการประเมิน    




  • ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย) และแบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คัดเลือกวัตถุดิบ, จัดเตรียมและเก็บรักษาวัตถุดิบ, ปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ ตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลอาหาร 

 (ก) คำแนะนำ            

ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถ




  • คัดเลือกวัตถุดิบประเภทอาหารสด อาหารแห้งและเครื่องปรุงรสได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร 

  • ล้างทำความสะอาด ตัดแต่ง จัดเตรีมและเก็บรักษาวัตถุดิบได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร 

  • เลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการชั่งตวง และระบุสัดส่วนและการชั่งตวงส่วนประกอบตามตำรับอาหาร 

  • เลือกใช้ภาชนะและอุปกรณ์ตามวิธีการปรุงประกอบ และเลือกวิธีการปรุงประกอบและปรุงประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลอาหาร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (จัดเตรียมวัตถุดิบตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ)




  1. แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ตัวเลือก)

  2. แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน (ชั่ง ตวง ส่วนประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ)




  1. แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ตัวเลือก)

  2. แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.3 เครื่องมือประเมิน (ชั่ง ตวง ส่วนประกอบอาหารตามตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ)




  1. แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย 4 ตัวเลือก)

  2. แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ