หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลด้านความปลอดภัยเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-IJCC-566A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลด้านความปลอดภัยเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5311 ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก ตั้งแต่การถูกทำร้ายร่างกาย อุบัติเหตุจากเด็ก และการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10103.01 ป้องกันเด็กจากการถูกทำร้ายร่างกาย 1. สอดส่องบุคคลที่ต้องสงสัยหรือบุคคลแปลกหน้าที่อาจจะมาทำร้ายเด็ก 10103.01.01 180554
10103.01 ป้องกันเด็กจากการถูกทำร้ายร่างกาย 2. สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกายภาพของเด็กที่อาจถูกทำร้ายร่างกาย 10103.01.02 180555
10103.01 ป้องกันเด็กจากการถูกทำร้ายร่างกาย 3. ระบุวิธีการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุร้ายกับเด็ก 10103.01.03 180556
10103.02 ดูแล และช่วยเหลือเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 1. ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กเกิดอุบัติเหตุ 10103.02.01 180557
10103.02 ดูแล และช่วยเหลือเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 2. สอนความรู้เรื่องอุบัติเหตุแก่เด็ก 10103.02.02 180558
10103.03 ดูแล และช่วยเหลือเด็กในสภาวะฉุกเฉิน 1. ระบุข้อมูลเบื้องต้นในการติดต่อเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน 10103.03.01 180559
10103.03 ดูแล และช่วยเหลือเด็กในสภาวะฉุกเฉิน 2. ดูแลเด็กเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 10103.03.02 180560
10103.03 ดูแล และช่วยเหลือเด็กในสภาวะฉุกเฉิน 3. สอนให้เด็กรู้จักสถานการณุ์กเฉิน 10103.03.03 180561

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการช่วยเหลือและดูแลเด็กจากการถูกทำร้ายร่างกาย

2. มีทักษะในการดูแล และช่วยเหลือเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

3. มีทักษะในการจัดการดูแล และช่วยเหลือเด็กในสภาวะฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการถูกทำร้ายร่างกาย

2. ความรู้เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ

3. ความรู้เกี่ยวกับการสภาวะฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ถูกทำร้ายร่างกาย หมายถึง การทำร้าย การรังแก การข่มขู่ การประทุษร้ายการข่มเหง การล่วงเกินทางเพศจนเป็น เหตุให้เกิดอันตราย/บาดเจ็บแก่กายหรือจิตใจของเด็กโดยเจตนา

        2. ปฐมพยาบาลเบื้องต้นหมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

        3. การเกิดอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่ เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ

        4. สภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความปลอดภัย หรืออยู่ในภาวะคับขันที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ไฟดับ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ

        5. ปฏิบัติการตามขั้นตอน หมายถึงดำเนินตามขั้นตอนหรือแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้น เพื่อให้เข้าสู่สภาวะปกติ พร้อมทั้งส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ หรือสถานที่ในเวลาที่เหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน

 



ยินดีต้อนรับ