หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-DZMI-565A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5311 ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้และทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวัน ในสุขลักษณะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การกิน นอน ขับถ่าย และอนามัยของเด็ก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเด็กเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.01 ดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก 1. ป้อนอาหาร และฝึกการรับประทานอาหารด้วยตนเอง 10102.01.01 180542
10102.01 ดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก 2. กระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอตามช่วงวัย 10102.01.02 180543
10102.01 ดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก 3. จัดอาหารให้เด็กรับประทานตามช่วงเวลา 10102.01.03 180544
10102.02 ดูแลสุขลักษณะการนอนของเด็ก 1. ดูแลการนอนของเด็กตามช่วงวัย 10102.02.01 180545
10102.02 ดูแลสุขลักษณะการนอนของเด็ก 2. ทำความสะอาดเครื่องนอนสำหรับเด็ก 10102.02.02 180546
10102.03 ดูแลสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก 1. ดูแลการเปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็ก 10102.03.01 180547
10102.03 ดูแลสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก 2. ฝึกให้เด็กขับถ่ายและทำความสะอาดอวัยวะในการขับถ่าย 10102.03.02 180548
10102.04 ดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก 1. อาบน้ำและสระผมให้เด็กช่วงวัย 3 เดือน –1 ปี 10102.04.01 180549
10102.04 ดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก 2. ฝึกให้เด็กช่วงวัย 2 ปีขึ้นไป อาบน้ำด้วยตนเอง 10102.04.02 180550
10102.04 ดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก 3. สังเกตความผิดปกติ ส่วนต่างๆของเด็ก และรายงาน 10102.04.03 180551
10102.05 ประเมินสุขภาพเด็กเบื้องต้น 1. ประเมินการเจริญเติบโตตามวัยของเด็ก 10102.05.01 180552
10102.05 ประเมินสุขภาพเด็กเบื้องต้น 2. คัดกรองเบื้องต้นกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ 10102.05.02 180553

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการทำความสะอาดร่างกายเด็ก

2. มีทักษะในการการเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก

3. มีทักษะในการดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการกินของเด็ก

2. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการนอนของเด็ก

3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก

4. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก

5. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กเบื้องต้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพเด็กแต่ละช่วงวัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 (ก) คำแนะนำ

         ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. สร้างแรงจูงใจหมายถึง การสร้างแรงขับหรือสิ่งกระตุ้นให้มุ่งสู่การแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

        2. มารยาทในการรับประทานอาหาร หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึ่งปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ ในการรับประทานอาหาร เช่น เคี้ยวอาหารไม่มีเสียง ไม่พูดคุยกันขณะอาหารอยู่ในปาก ให้ปิดปากขณะไอหรือจาม ใช้ช้อนตักอาหารใส่ปาก ไม่หยิบจับด้วยมือ และใช้ช้อนกลางตักอาหาร

        3. ฝึกการขับถ่าย หมายถึงฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวันทานผัก ผลไม้สดทุกวัน เพื่อให้การขับถ่ายได้สะดวก ไม่กลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ ฝึกให้ใช้ห้องส้วมได้เอง ราดน้ำทำความสะอาดก่อน-หลังการใช้ส้วมทุกครั้งหลังการขับถ่าย ล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายทุกครั้งด้วยน้ำสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง

        4. สนับสนุนการนอนของเด็กตามช่วงวัยดูแลให้เด็กเข้านอนเป็นเวลาโดยไม่บังคับก่อนนอน ควรอาบน้ำให้ร่างกายสะอาด สวมเสื้อผ้าที่หลวมสบายๆนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ที่นอนสะอาดไม่มียุง และแมลงต่างๆรบกวน

        5. ประเมินสุขภาพเบื้องต้น หมายถึง การประเมินอาการเด็ก โดยซักประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกายเบื้องต้น หรือการสังเกตภายนอก เพื่อการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

        6. สัดส่วนอาหารตามช่วงวัยสำหรับเด็ก หมายถึง  การจัดเตรียมและคัดสรรอาหารให้เด็กได้คุณค่าโภชนาการทางอาหารที่มีความเหมาะสมกับความหิวและอิ่มตามช่วงวัยของเด็ก โดยมีแนวทางปฏิบัติการให้อาหารตามวัยสำหรับเด็กมี 3 หลักการ ดังนี้        

        7. สมวัย หมายถึง การให้อาหารที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อต่อการเจริญเติบโตของเด็ก    เช่น ความเหมาะสมทางด้านร่างกาย ความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น    

        8. เพียงพอ หมายถึงการให้อาหารที่มีพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของเด็กในแต่ละวัน  เช่น ปริมาณอาหาร สารอาหาร จำนวนมื้ออาหาร ความเข้มข้นของพลังงานอาหาร ความหลากหลายของอาหาร กลิ่นรสชาติ เป็นต้น  

        9. ความปลอดภัย หมายถึง การให้อาหารตามวัยสำหรับเด็กที่สะอาดและปลอดภัย โดยมีการเตรียมและเก็บอาหารอย่างถูกหลักอนามัย เช่น  ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ใช้อุปกรณ์ใส่และเก็บอาหารที่สะอาด ล้างมือก่อนเตรียมอาหาร    

        10. ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของเด็กเบื้องต้น หมายถึง การตรวจเช็คร่างกายเบื้องต้น และการเอาใจใส่เช่น การเช็ดตัวเด็กและวัดอุณหภูมิเมื่อเด็กเป็นไข้ เมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ อาเจียน พร้อมทั้งส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตามความเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ