หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุได้

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BSKW-556A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุได้

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5322 ผู้ดูแลส่วนบุคคลตามบ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการประเมินภาวะความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20109.01 ประเมินและดูแลภาวะทางอารมณ์ 1. ประเมิน คัดกรองภาวะเครียดซึมเศร้าของผู้สูงอายุด้วยแบบประเมิน 180494
20109.01 ประเมินและดูแลภาวะทางอารมณ์ 2. แจ้งและรายงานผลให้ ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทราบ 180495
20109.02 ดูแลภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุตามแผนการดูแล 1. ดูแล ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเมื่อมีภาวะเครียดซึมเศร้า/ญาติของผู้สูงอายุ 180496
20109.02 ดูแลภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุตามแผนการดูแล 2. แจ้งและรายงานผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทราบ/ญาติของผู้สูงอายุ 180497

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความซึมเศร้า

2. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเครียด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         ไม่มี

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลจากการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) 

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินในทุกหน่วยสมรรถนะที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อย และเกณ์การปฏิบัติงานตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

        1.ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การประเมินความซึมเศร้า หมายถึง การประเมินผู้มีความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเพื่อ ให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของการซึมเศร้า 

        2. การประเมินความเครียด หมายถึง การประเมินผู้มีความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเครียด เพื่อให้ ทราบถึงความรุนแรงของอาการเครียด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ