หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมการกระตุ้นและฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ถูกต้อง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-UUZF-555A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมการกระตุ้นและฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ถูกต้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5322 ผู้ดูแลส่วนบุคคลตามบ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการส่งเสริมและการกระตุ้น การรับรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 1. การพูดคุย เช่นการเรียกชื่อ การจำแนกประเภทวัตถุสิ่งของต่างๆ 180482
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 2. กระตุ้นการรับรู้ ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความรู้สึกต่างๆเช่นการรับสัมผัส การดมกลิ่น และการรับรส การได้ยิน การมองเห็น 180483
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 3. กระตุ้นการรับรู้ด้วยการให้เชื่อมโยงคำหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกันโดยให้ผู้สูงอายุบอกความหมายของคำหรือสัญลักษณ์ต่างๆ 180484
20108.02 กระตุ้นการรับรู้บุคคล สถานที่ วัน เวลา 1. สนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ของผู้สูงอายุ 180485
20108.02 กระตุ้นการรับรู้บุคคล สถานที่ วัน เวลา 2. กระตุ้นการรับรู้ วัน เวลา สถานที่ บุคคลในปัจจุบัน 180486
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 1. กระตุ้น/ดูแล ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกายและ เปลี่ยนเสื้อผ้าล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด 180487
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 2. กระตุ้น/ดูแลการเคลื่อนไหวบนเตียง 180488
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 3. กระตุ้น/ดูแล ให้ผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายลุกจากที่นอนไปยังเก้าอี้หรือไปห้องน้ำ 180489
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 4. กระตุ้น/ดูแล ทำความสะอาดหลังขับถ่าย 180490
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 5. กระตุ้น/ดูแลให้ผู้สูงอายุเลือกอาหารและรับประทานอาหารอาหาร 180491
20108.04 กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเอง 1. พูดคุยเพื่อให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและมีความคิดเชิงบวก รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง 180492
20108.04 กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเอง 2. จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย 180493

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้กระบวนการกระตุ้นการรับรู้

2. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการกระตุ้นรับรู้ บุคคล สถานที่ เวลา

3. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและโปรแกรมด้านกิจวัตรประจำวัน

4. ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นแรงจูงใจ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        ไม่มี

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลจากการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินในทุกหน่วยสมรรถนะที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อย และเกณ์การปฏิบัติงานตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

        1.ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. กระบวนการกระตุ้นการรับรู้ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลได้รับความรู้สึกและแปลความหมาย หรือ ตีความ จากสิ่งเร้าที่รับเข้ามา ผ่านการวิเคราะห์โดยอาศัยความจำ ความรู้ ผสมผสานกับประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่ ออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจ

        2. การรับรู้ บุคคล สถานที่ เวลา หมายถึง กระบวนการที่บุคคลได้รับการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการรับรู้สภาวะ ในปัจจุบัน เพื่อทดสอบภาวะสมองเสื่อม

        3. เทคนิคและโปรแกรมด้านกิจวัตรประจำวัน หมายถึง สิ่งที่ได้รับการรวบรวมซึ่งจะมีบริบท ในเชิงของสิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวัน โดยจะถูกรวบรวมและจัดรูปแบบออกมาในเชิงของเทคนิคและโปรแกรม

        4. การกระตุ้นแรงจูงใจ หมายถึง แรงขับหรือสิ่งกระตุ้นให้บุคคลมุ่งแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อ ตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ แรงจูงใจสร้างขึ้นมาได้ทั้งจากปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ