หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้และปลอดภัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-NVSO-554A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้และปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5322 ผู้ดูแลส่วนบุคคลตามบ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยมีการดูแลผู้สูงอายุที่มีการเจาะคอ สายสวนปัสสาวะ ให้เหมาะสม ในแต่ละส่วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 1. ประเมินการหายใจ ก่อน ขณะ และหลังการดูดเสมหะ 180456
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 2. ดูดเสมหะได้อย่างถูกวิธี 180457
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 3. สังเกตความผิดปกติของเสมหะของผู้สูงอายุ 180458
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ 1. สังเกต บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องความผิดปกติของปัสสาวะ 180459
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ 2. ดูแลป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ 180460
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180461
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 1. ถอดและทำความสะอาด ท่อชั้นในของท่อเจาะคอได้อย่างถูกวิธี 180462
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 2. ทำความสะอาด บริเวณแผลเจาะคอได้อย่างถูกวิธี สังเกตความผิดปกติของแผลเจาะคอ และตำแหน่งของท่อ 180463
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180464
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 1. เตรียมอุปกรณ์และอาหารทางสายยางได้ถูกต้อง 180465
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 2. ตรวจสอบตำแหน่งสายยางให้อาหารได้ถูกต้อง 180466
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 3. ตรวจสอบปริมาณและลักษณะอาหารคงค้างในกระเพาะอาหาร 180467
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 4. ให้อาหารทางสายยางได้ถูกต้อง 180468
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 5. สังเกตภาวะผิดปกติขณะที่ให้อาหาร 180469
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 6. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180470
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง 1. ทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้องและบริเวณแผลหน้าท้องได้อย่างถูกวิธี 180471
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง 2. สังเกตความผิดปกติของแผลบริเวณหน้าท้อง และตำแหน่งของท่อ 180472
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180473
20107.06 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ทวารเทียม 1. สังเกตอาการผิดปกติในบริเวณผิวหนังรอบทวารเทียมของผู้สูงอายุอยู่เสมอ 180474
20107.06 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ทวารเทียม 2. ทำความสะอาดบริเวณทวารเทียมและเปลี่ยนถุงอย่างถูกวิธี ทำความสะอาดถุงบรรจุของเสียบริเวณทวารเทียม บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180475
20107.07 ดูแลผิวหนังและป้องกันการเกิดแผลกดทับ 1. สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง 180476
20107.07 ดูแลผิวหนังและป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 180477
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 1. สังเกตลักษณะแผลที่เกิด 180478
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 2. เลือกอุปกรณ์หรือยาที่ใช้ในการทำแผล 180479
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 3. ทำแผลได้ถูกวิธีและถูกหลักการปลอดเชื้อ 180480
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 4. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 180481

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นการขับเสมหะ

2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ

3. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย

4. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        ไม่มี

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินในทุกหน่วยสมรรถนะที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อย และเกณ์การปฏิบัติงานตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

        1.ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

        *หมายเหตุ: การดูแลจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พยาบาลวิชาชีพ แพทย์ เป็นต้น

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การกระตุ้นการขับเสมหะ หมายถึง การกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจ ในการกำจัด เสมหะ และเพื่อให้ร่างกายเพิ่มสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปริมาณเสมหะมากขึ้น ทำให้ไอ เอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น

        2.การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ หมายถึง การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และบริเวณรูเปิดของ ท่อปัสสาวะให้สะอาดเพื่อป้องกันภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน    

        3.การทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย หมายถึง การทำความสะอาดบริเวณที่มีการสอดท่อ เข้าสู่ร่างกาย และเปลี่ยนผ้าก๊อสทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ในท่อบางชนิดสามารถถอดล็อคออกจากกัน เพื่อให้สะดวกต่อการทำความสะอาดได้

        4.การดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง หมายถึง การให้การดูผู้ป่วยที่มีทวารเทียมโดยบริเวณหน้าท้อง โดยสุขลักษณะที่เหมาะสม ซึ่งควรจะได้รับการทำความสะอาดที่สม่ำเสมอ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ