หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อย่างถูกสุขลักษณะ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-NTYC-550A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อย่างถูกสุขลักษณะ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5322 ผู้ดูแลส่วนบุคคลตามบ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้และทักษะในการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำและการช่วยเหลือในด้านการขับถ่าย และการทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 1. ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย 180413
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 2. สังเกตและป้องกันความผิดปกติบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆของผู้สูงอายุและรายงานผลให้หัวหน้างานรับทราบได้ 180414
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 3. ทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม 180415
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 4. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกายตนเองได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 180416
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 5. ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถส่งเสริมผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้างให้ทำความสะอาดร่างกายบนเตียง 180417
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 1. จัดท่าที่เหมาะสมและสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการทำความสะอาดช่องปาก 180418
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 2. ทำความสะอาดฟันปลอมของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 180419
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 3. ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุและปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 180420
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 4.สังเกตสิ่งผิดปกติในช่องปากของผู้สูงอายุและสามารถรายงานสิ่งผิดปกติให้หัวหน้างานรับทราบอย่างครบถ้วนถูกต้อง 180421
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 1. พยุงผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีและปลอดภัยเพื่อเคลื่อนย้ายไปทำความสะอาดศีรษะ 180422
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 2. ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุบนเตียง 180423
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 3. ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุตามระยะเวลาที่เหมาะสม 180424
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 4. เลือกแชมพูที่ใช้สระผมของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสภาพศีรษะและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 180425
20103.04
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิงเพศชาย อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ 180426
20103.04
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิงเพศชาย อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย
2. จัดท่าผู้สูงอายุในการขับถ่ายบนเตียงได้ 180427
20103.04
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิงเพศชาย อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย
3. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ 180428
20103.04
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิงเพศชาย อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย
4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ผ่านการใช้งานอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 180429
20103.05 ดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ผ้าอ้อมให้ได้รับความสุขสบาย 1. จัดท่าของผู้สูงอายุได้ถูกวิธีในการเปลี่ยนผ้าอ้อม 180430
20103.05 ดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ผ้าอ้อมให้ได้รับความสุขสบาย 2. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี 180431

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผม

2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปาก

3. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอากอวัยวะสืบพันธุ์

4. ความรู้เกี่ยวกับการพาไปอาบน้ำ 

5. ความรู้เกี่ยวกับการอาบน้ำบนเตียง

6. ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่

7. ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแผ่นรองซับปัสสาวะ

8. ความรู้เกี่ยวกับการขับถ่ายโดยใช้อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        ไม่มี

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

        2. ผลการทดสอบความรู้

        3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินในทุกหน่วยสมรรถนะที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อย และเกณ์การปฏิบัติงานตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด

    (ง) วิธีการประเมิน

        1.ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

         ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

         1. การทำความสะอาดผม หมายถึง การสระล้างผมเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน และเชื้อโรคที่สะสมที่หนังศีรษะ กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับไขมันมาหล่อเลี้ยงเส้นผม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสบายตัว

         2. การทำความสะอาดช่องปาก หมายถึง การดูแลทำความสะอาดโดยการแปรงฟัน อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง รวมไปถึงการเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันจากทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือนอีกด้วย นอกจากการดูแลสุขภาพฟันแล้ว จะต้องดูแลในส่วนของลิ้น กระพุ้งแก้ม และเพดานปาก อีกด้วย

         3.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หมายถึงการจัดการกับความสกปรกซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยตัวเองได้

         4. การอาบน้ำบนเตียง หมายถึง การอาบน้ำที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด ผู้ดูแลต้องเป็นผู้ทำให้ ทั้งหมด  เช่น ในผู้สูงอายุที่ไม่รู้สึกตัวผู้สูงอายุที่อ่อนเพลียไม่มีแรงหรือผู้สูงอายุที่จำกัดการเคลื่อนไหว  เป็นต้น ซึ่งผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมดหรือให้การช่วยเหลือในบางส่วน เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเช็ดตัวด้วยตนเองได้อย่างสะดวก

         5.การเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หมายถึง การเปลี่ยนสิ่งที่ใช้รองสิ่งปฏิกูลของผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระได้

         6. การขับถ่ายโดยใช้อุปกรณ์ หมายถึง การขับถ่ายสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไม่สามารถขับถ่าย ด้วยตัวเองได้ โดยต้องใช้อุปกรณ์เสริม อาทิ หม้อนอนถ่ายอุจจาระ สายสวน ถุงอุจจาระทางหน้าท้อง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ