หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลด้านจิตสังคมของผู้รับบริการและผู้ดูแล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-YIRL-546A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลด้านจิตสังคมของผู้รับบริการและผู้ดูแล

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ช่วยดูแลด้านจิตสังคมของผู้รับบริการและผู้ดูแล โดยการประเมินความต้องการด้านอารมณ์ และจิตใจ ตลอดจนการให้กำลังใจ และการช่วยจัดกิจกรรมเสริมสร้างด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว รวมถึงการดูแลด้านอารมณ์ และจิตใจของผู้ดูแลเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10702.01

ประเมินความต้องการด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้รับบริการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้เรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และความเข้าใจตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่น

10702.01.01 180261

2. มีความรู้เรื่องความต้องการของมนุษย์ด้านจิตสังคมในช่วงวัยต่างๆ

10702.01.02 180262

3. สังเกตอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการ จากการแสดงพฤติกรรมและคำพูด

10702.01.03 180263

4. รับฟังผู้รับบริการด้วยความเข้าใจและซักถามข้อมูลเบื้องต้น

10702.01.04 180264

5. รายงานพยาบาล/แจ้งญาติเมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติ

10702.01.05 180265
10702.02

จัด/ร่วมกิจกรรมเสริมสร้างด้านจิตสังคม ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลทางด้านจิตสังคม


10702.02.01 180266

2. มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้รับบริการกับผู้ดูแล


10702.02.02 180267

3. ช่วยจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างด้านจิตสังคมกับหน่วยงาน

10702.02.03 180268
10702.03

จัดการความเครียดและดูแลอารมณ์ และจิตใจของตนเองให้เหมาะสม

1. เข้าใจความคิดและอารมณ์ของตนเอง


10702.03.01 180269

2. ประเมินสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเองได้


10702.03.02 180270

3. หาวิธีผ่อนคลายด้านอารมณ์และจิตใจของตนเองอย่างเหมาะสม 


10702.03.03 180271

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการและผู้ดูแล

2. การช่วยประเมินด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและผู้ดูแล

3. การช่วยจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้รับบริการและผู้ดูแล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และความเข้าใจตนเอง

2. ความต้องการของมนุษย์ด้านจิตสังคมในช่วงวัยต่าง ๆ

3. ปัญหาด้านจิตสังคมที่พบบ่อยในช่วงวัยต่าง ๆ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

4. หลักการดูแลทางด้านจิตสังคม

5. การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ดูแล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

    เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ผลการสัมภาษณ์ทดสอบความรู้และทักษะที่ควรปฏิบัติได้ 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลด้านจิตสังคมของผู้รับบริการและผู้ดูแล 

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

     การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

     1)    ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ เป็นทักษะที่ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ครอบครัว และผู้ดูแล ได้แก่ การเอาใจใส่ ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทร ความยืดหยุ่นและการยอมรับในความคิดเห็นของผู้รับบริการ ครอบครัว และผู้ดูแล

     2)    ช่วยประเมินด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การสังเกต และการซักถาม

     3)    ช่วยจัดกิจกรรมเสริมสร้างด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว ได้แก่ กิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการปรับตัวด้านอารมณ์และจิตใจ สร้างเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 

    (ก) คำแนะนำ

           ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1)    ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ หมายถึง การแสดงออกถึงความพร้อมและความยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ  ด้วยการต้อนรับอย่างจริงใจ แสดงท่าทีที่เป็นมิตรและอบอุ่นใจและสื่อถึงความสนใจ ตั้งใจและใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจ

          2)    การช่วยประเมินด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว หมายถึง การช่วยประเมินการแสดงออกด้านอารมณ์และจิตใจที่เป็นผลกระทบหรือได้รับการกระตุ้นให้แสดงออกด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว

          3)    การช่วยจัดกิจกรรมเสริมสร้างด้านอารมณ์และจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้ผู้รับบริการและครอบครัว ในการเสริมสร้างความสามารถในการดูแลด้านอารมณ์และจิตใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการสัมภาษณ์ความรู้และทักษะที่ควรต้องมีในการปฏิบัติงาน