หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-VDBW-539A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายและได้รับการนวดเพื่อการผ่อนคลายอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายผู้ป่วยตามขอบเขตและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการเดินการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย

10303.01.01 180152
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. ประเมินสภาพความพร้อมเบื้องต้นของผู้ป่วยในเรื่องการลุกนั่งและเดิน ซึ่งจะเกิดอันตรายกับผู้ป่วย

10303.01.02 180153
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการเดิน 

10303.01.03 180154
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. สำรวจพื้นทางเดิน ป้องกันการเกิดการลื่นและการสะดุดล้ม

10303.01.04 180155
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกายทั้งไป และกลับได้อย่างปลอดภัย

10303.01.05 180156
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. ช่วยผู้ป่วยขึ้นเตียงได้อย่างปลอดภัย

10303.01.06 180157
10303.01

พาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกาย  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. รายงานให้พยาบาลวิชาชีพทราบ

10303.01.07 180158
10303.02

ช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วย

10303.02.01 180159
10303.02

ช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. ช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

10303.02.02 180160

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    เตรียมผู้ป่วยด้วยการสังเกตและสอบถามความพร้อมของผู้ป่วยได้

2.    จัดสิ่งแวดล้อมให้พร้อมได้

3.    ปฏิบัติขั้นตอนการพยุงผู้ป่วยลุกจากเตียงลงนั่งเก้าอี้เพื่อการฟื้นฟูได้ถูกต้องและปลอดภัย

4.    การช่วยเหลือผู้ป่วยในการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความหมายของการออกกำลังกาย

2.    วัตถุประสงค์ในการพาผู้ป่วยเดินออกกำลังกาย

3.    หลักการพาผู้ป่วยเดินออกกำลังกาย

4.    ประเมินสภาวะการเจ็บป่วยก่อนพาผู้ป่วยลุกนั่งและเดิน

5.    ช่วยเตรียมอุปกรณ์ช่วยเดินได้

6.    ลักษณะพื้นที่ปลอดภัยในการพาผู้ป่วยเดินออกกำลังกาย

7.    วิธีพาผู้ป่วยเดินออกกำลังกายที่ถูกต้อง

8.    ลักษณะผู้ป่วยที่สามารถพาไปเดินออกกำลังกายได้

9.    การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนไปเดินออกกำลังกาย

10.    รายงานผลการพาผู้ป่วยไปเดินออกกำลังกายได้

11.    วัตถุประสงค์การช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อ ของผู้ป่วย

12.    หลักการบริหารร่างกายเพื่อช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อ ของผู้ป่วย

13.    ปฏิบัติตามขั้นตอนการช่วยบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการทดสอบความรู้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

    ประเมินสภาพความพร้อมเบื้องต้นของผู้ป่วยในเรื่องการลุกนั่งและเดิน ซึ่งจะเกิดอันตรายกับผู้ป่วย อันตรายในที่นี่หมายถึง อุบัติเหตุ หน้ามืด เป็นลม ในขณะลุกนั่ง และเดินได้

ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการเดิน เช่น วอล์คเกอร์  ไม้เท้า เป็นต้น

    (ก) คำแนะนำ

ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1.    การส่งเสริมการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย หมายถึง การดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อยึดติดและเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ