หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลผู้รับบริการตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-KGBU-545A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลผู้รับบริการตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     การดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม เป็นการปฏิบัติที่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ โดยมีการแสดงออกของจรรยามารยาทที่ดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ซื่อสัตย์ เมตตา เอื้ออาทร รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้รับบริการ ไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้รับบริการ     การมีพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการด้วยกิริยาท่าทางสุภาพ น้ำเสียงอ่อนโยน ปฏิบัติการดูแลด้วยความนุ่มนวล ถูกกาลเทศะ ให้บริการด้วยความเต็มใจ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10701.01

ดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม

1. มีความรู้เรื่องหลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพพนักงานให้การดูแล

10701.01.01 180251
10701.01

ดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม

2. มีความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

10701.01.02 180252
10701.01

ดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม

3. ปฏิบัติตามหลักสิทธิผู้ป่วยและสิทธิมนุษยชน 

10701.01.03 180253
10701.01

ดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม

4.ดูแลผู้รับบริการทุกคนด้วยมาตรฐานการให้บริการเดียวกัน

10701.01.04 180254
10701.01

ดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม

5.บันทึกข้อมูลของผู้รับบริการตามความเป็นจริง

10701.01.05 180255
10701.02

แสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เหมาะสม

1. มีความรู้เรื่องแนวคิดพฤติกรรมบริการ

10701.02.01 180256
10701.02

แสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เหมาะสม

2. แสดงปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ

10701.02.02 180257
10701.02

แสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เหมาะสม

3. แสดงออกถึงความพร้อมและความยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ

10701.02.03 180258
10701.02

แสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เหมาะสม

4. ต้อนรับอย่างจริงใจด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและอบอุ่นใจและสื่อถึงความสนใจ

10701.02.04 180259
10701.02

แสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เหมาะสม

5. ตั้งใจและใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจ

10701.02.05 180260

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การปฏิบัติด้วยความเมตตา เอื้ออาทร

2)    การปฏิบัติโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้รับบริการ

3)    ทักษะในการต้อนรับ 

4)    ทักษะในการให้บริการที่ดี 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    หลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพพนักงานให้การดูแล 

2)    แนวคิดทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาชีพพนักงานให้การดูแล 

3)    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคล สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วย 

4)    ศิลปะในการต้อนรับ

5)    แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ การแต่งกาย การแสดงออก และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

    เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ผลการสัมภาษณ์ทดสอบความรู้และทักษะที่ควรปฏิบัติได้ 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้รับบริการอย่างมีจริยธรรม และการมีพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

     การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

     - ปฏิบัติบนพื้นฐานของจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพพนักงานให้การดูแล

     - ให้บริการด้วยพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

     (ก) คำแนะนำ

          ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1)    การปฏิบัติบนพื้นฐานทางจริยธรรมของอาชีพพนักงานให้การดูแล หมายถึง การปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เมตตา เอื้ออาทร การไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิผู้รับบริการ การรักษาความลับ และการไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้รับบริการ

          2)    หลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพพนักงานให้การดูแล ได้แก่ การเคารพเอกสิทธิ์/การไม่เปิดเผยข้อมูลผู้รับบริการ การทำประโยชน์ การไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตราย การไม่เลือกปฏิบัติ การบอกความจริง และความซื่อสัตย์

          3)    แนวคิดทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาชีพพนักงานให้การดูแล ได้แก่ การพิทักษ์สิทธิ์ ความรับผิดชอบ การให้ความร่วมมือ และการดูแลด้วยความเอื้ออาทร 

          4)    สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอภาค ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด

          5)    สิทธิผู้ป่วย หมายถึง ประโยชน์อันชอบธรรมที่ผู้ป่วยพึงได้รับตามบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ สิทธิผู้ป่วยจากสถานบริการสุขภาพและผู้ให้บริการรักษาพยาบาล

          6)    การให้บริการด้วยพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม  หมายถึง ความสะอาดของร่างกาย การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการด้วยกิริยาท่าทางอ่อนโยนสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวล และให้บริการด้วยความเต็มใจ

          7)    พฤติกรรมการบริการ หมายถึง การแสดงออกของพนักงานให้การดูแลในการตอบสนองความต้องการและปัญหาของผู้รับบริการแต่ละบุคคล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยใช้ความรู้ความสามารถตามจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพ ด้วยการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การสื่อสาร การให้ข้อมูลด้านสุขภาพ และการให้ความช่วยเหลือ

          8)    ทักษะในการให้บริการที่ดี ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้รับบริการที่ดี การใช้วาจาสุภาพ อ่อนโยน น้ำเสียงนุ่มนวล ถูกกาลเทศะ กิริยาท่าทางสุภาพอ่อนน้อม ปฏิบัติกิจกรรมบริการด้วยความเต็มใจ และเข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบสัมภาษณ์ความรู้และทักษะที่ควรมีการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ