หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยปฏิบัติงานธุรการ และติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-AHTV-543A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยปฏิบัติงานธุรการ และติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ช่วยปฏิบัติงานธุรการของหน่วยงาน โดยจัดการเอกสารของผู้ป่วย รับ-ส่งเอกสาร รับ-ส่งสิ่งตรวจห้องปฏิบัติการ และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล    สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน ร่วมกับประสานงานกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายระหว่างหน่วยงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเตรียมและจัดเก็บเอกสารของผู้ป่วย

10501.01.01 180213
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. จัดเตรียมชุดเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

10501.01.02 180214
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. บันทึกข้อมูลพื้นฐานในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติ๊กเกอร์ชื่อให้ครบทุกใบ

10501.01.03 180215
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. จัดเตรียมเอกสารแนะนำหอผู้ป่วย ระเบียบปฏิบัติของหอผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ในหอผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยใหม่

10501.01.04 180216
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. จัดเก็บเอกสารต่างๆที่ใช้ประจำวันในหอผู้ป่วยให้ถูกต้องและพร้อมใช้งาน

10501.01.05 180217
10501.01

จัดการเอกสารของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. จัดเก็บเอกสารแฟ้มประวัติของผู้ป่วยหลังจำหน่ายได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

10501.01.06 180218
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการรับ-ส่งเอกสาร

10501.02.01 180219
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. รับ-ส่งเอกสารการรับใหม่จากหน่วยรับผู้ป่วยในได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

10501.02.02 180220
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. รับ-ส่งเอกสารการรับย้ายผู้ป่วยจากหน่วยงานที่ส่งต่อได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

10501.02.03 180221
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. รับ-ส่งเอกสารการจำหน่ายของผู้ป่วยไปยังหน่วยงานจำหน่ายผู้ป่วย หรือตามที่โรงพยาบาลกำหนดได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

10501.02.04 180222
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. รับ-ส่งเอกสารการตรวจพิเศษไปยังหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

10501.02.05 180223
10501.02

รับ-ส่งเอกสาร ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. รับ-ส่งเอกสารงานธุรการของหน่วยงานตามที่ได้รับมอบหมาย

10501.02.06 180224
10501.03

รับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

10501.03.01 180225
10501.03

รับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. ตรวจสอบสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติ การให้ถูกต้องตามใบส่งตรวจ

10501.03.02 180226
10501.03

รับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. นำส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรงตามเวลาที่กำหนด

10501.03.03 180227
10501.03

รับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. ลงบันทึกการส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการและรายงานให้พยาบาลวิชาชีพทราบตามระเบียบของหน่วยงาน

10501.03.04 180228
10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องบันทึกข้อมูลผู้ป่วย

10501.04.01 180229
10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยใหม่ที่แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลลงในทะเบียนผู้ป่วยในของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ถูกต้อง

10501.04.02 180230
10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่แพทย์จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลลงในทะเบียนของผู้ป่วยจำหน่ายได้ถูกต้อง

10501.04.03 180231
10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. บันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการทุกครั้ง ได้ถูกต้อง

10501.04.04 180232
10501.04

บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานธุรการ  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. บันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน

10501.04.05 180233
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบริการผู้ป่วย

10501.05.01 180234
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. สร้างสัมพันธภาพที่ดี และใช้วาจาที่สุภาพกับผู้ป่วย

10501.05.02 180235
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ต้อนรับผู้ป่วยด้วยกิริยา วาจาสุภาพ อ่อนโยน และเป็นมิตร

10501.05.03 180236
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. แนะนำสถานที่ และให้ข้อมูลระเบียบปฏิบัติในหน่วยบริการสุขภาพได้ถูกต้อง

10501.05.04 180237
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. สื่อสารทางโทรศัพท์ด้วยวาจาที่เป็นมิตร

10501.05.05 180238
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. รับและให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

10501.05.06 180239
10501.05

สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และภายในขอบเขตที่สามารถทำได้

10501.05.07 180240
10501.06

ประสานงาน ในงานธุรการ เอกสาร ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ระหว่างหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างหน่วยงาน

10501.06.01 180241
10501.06

ประสานงาน ในงานธุรการ เอกสาร ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ระหว่างหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงาน

10501.06.02 180242
10501.06

ประสานงาน ในงานธุรการ เอกสาร ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ระหว่างหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ประสานงานระหว่างหน่วยงานได้ตรงตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย

10501.06.03 180243
10501.06

ประสานงาน ในงานธุรการ เอกสาร ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ระหว่างหน่วยงาน  ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. รับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการระหว่างหน่วยงาน

10501.06.04 180244

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การจัดเตรียม/จัดเก็บเอกสารของผู้ใช้บริการ

    2. การจัดเตรียมเอกสารแนะนำการใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ในหอผู้ป่วย

    3. การรับ-ส่งเอกสาร

    4. การบันทึกข้อมูลเอกสารตามข้อกำหนดของหน่วยงาน

    5. วิธีการดำเนินการรับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการได้

    6. การสื่อสารให้คำแนะนำระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใหม่ได้ด้วยกิริยามารยาท และท่าทางที่เหมาะสม

    7. การสื่อสารและประสานงานภายในหน่วยงาน

    8. การสื่อสารและประสานงานระหว่างหน่วยงาน

    9. การรับฟังปัญหาของผู้ป่วยด้วยความสนใจ

    10. เตรียมเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวตามระเบียบของโรงพยาบาลได้ถูกต้อง ครบถ้วน

    11. ปฏิบัติขั้นตอนการแนะนำระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใหม่ ได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความหมายและชนิดของเอกสาร

    2. เตรียมชุดเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ได้

    3. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานในแบบฟอร์มเอกสารผู้ป่วยรับใหม่พร้อมติดสติกเกอร์ตามที่หน่วยงานกำหนดให้ได้

    4. เตรียมเอกสารแนะนำระเบียบปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆในหอผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยใหม่ได้

    5. การจัดเก็บเอกสารต่างๆที่ใช้ในประจำวันในหอผู้ป่วยและแยกประเภทได้

    6. จัดเก็บแฟ้มประวัติของผู้ป่วยหลังจำหน่ายได้

    7. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการรับใหม่จากหน่วยรับผู้ป่วยใน

    8. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการจำหน่ายของผู้ป่วยไปยังหน่วยงานจำหน่ายผู้ป่วย หรือตามที่โรงพยาบาลกำหนด

    9. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารการตรวจพิเศษไปยังหน่วยงานอื่นๆ

    10. ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสารงานธุรการของหน่วยงานตามที่ได้รับมอบหมาย

    11.ขั้นตอนของการรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

    12.วิธีการตรวจเช็คสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามที่หน่วยงานกำหนด

    13.นำส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรงตามเวลาที่ กำหนด

    14. การลงบันทึกการส่งสิ่งส่งตรวจห้องปฏิบัติการได้ พร้อมรายงานพยาบาลวิชาชีพตามระเบียบ ของหน่วยงาน

    15. วิธีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย

    16. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยใหม่ที่แพทย์ให้นอนโรงพยาบาล

    17. การบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่แพทย์จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

    18. การบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ

    19. วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อการบริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย

    20. วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และการใช้วาจาในการบริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย

    21. วิธีการต้อนรับผู้ป่วยด้วยกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน และเป็นมิตร

    22. วิธีการแนะนำสถานที่และให้ข้อมูลระเบียบปฏิบัติในหน่วยบริการสุขภาพ

    23. วิธีการสื่อสารทางโทรศัพท์

    24. วิธีการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยภายในขอบเขตที่สามารถทำได้

    25. วัตถุประสงค์ของการประสานงานระหว่างหน่วยงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

        2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

        4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ผลการทดสอบความรู้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

    บันทึกข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ เป็นต้น ในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติ๊กเกอร์ชื่อให้ครบทุกใบ

    รับ-ส่ง เอกสารการรับใหม่ เอกสารรับย้าย เอกสารจำหน่าย และเอกสารตรวจพิเศษ ตามที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งกำหนด เช่น เอกสารการรับใหม่ ได้แก่ แบบฟอร์มต่างๆที่ต้องจัดเป็นชุดเพื่อใส่ในแฟ้มผู้ป่วย ได้แก่ ใบบันทึกทางการพยาบาล ใบบันทึกการรักษาของแพทย์   ใบบันทึก ปรอท ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ น้ำหนัก ส่วนสูง อาหาร ฯลฯ ใบบันทึกการให้ยา  ใบบันทึกประวัติผู้ป่วย  ใบบันทึกการตรวจร่างกายผู้ป่วย ใบบันทึกการตรวจของแพทย์แต่ละวัน ใบบันทึกผลการตรวจทางห้องทดลอง ใบบันทึกการเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล  และใบบันทึกอื่นๆที่โรงพยาบาลกำหนด เอกสารรับย้าย ได้แก่ ใบส่งต่อผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยที่ประกอบด้วยใบบันทึกต่างๆที่กล่าวในเอกสารการรับใหม่ เพื่อรับย้ายผู้ป่วยมาจากหอผู้ป่วยอื่นๆภายในโรงพยาบาล เอกสารจำหน่าย ได้แก่ ใบจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เวชระเบียนผู้ป่วยที่แพทย์ทำการสรุปการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น และเอกสารตรวจพิเศษ ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีตรวจในโรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวิทยาและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ การตรวจสมรรถภาพปอด การสวนหัวใจ เป็นต้น

    บันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงในทะเบียนผู้ป่วย กระทำโดยการคีย์ข้อมูลเอกสารรับผู้ป่วยใหม่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือบันทึกลงในสมุดทะเบียนผู้ป่วยในของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ

    บันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ หมายถึง การเขียนลงในสมุดรับ-ส่งเอกสารของในแต่ละวันว่า มีเอกสาร จดหมาย และอื่นๆรับเข้าและส่งออกจากหอผู้ป่วย/หน่วยบริการอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตาม

    บันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆของหอผู้ป่วย/หน่วยบริการได้ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน หมายถึงการกรอกข้อมูลในเอกสารที่ไม่ซับซ้อนในแต่ละวันภายในหอผู้ป่วย/หน่วยบริการ เช่น ช่วยพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยเขียนใบส่งซ่อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ชำรุด เป็นต้น

    สื่อสารกับผู้ป่วยในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และประสานกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายระหว่างหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

    (ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        ช่วยปฏิบัติงานธุรการ หมายถึง การจัดเตรียม/จัดเก็บเอกสารของผู้ป่วย บันทึกข้อมูลพ้นฐาน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ เป็นต้น ในแบบฟอร์มเอกสารของผู้ป่วยใหม่พร้อมติดสติกเกอร์ให้เรียบร้อยรับ-ส่งเอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์/ข้อกำหนดโรงพยาบาล

    เอกสารการรับใหม่ คือ แบบฟอร์มต่างๆที่ต้องจัดเป็นชุดเพื่อใส่ในแฟ้มผู้ป่วย ได้แก่ ใบบันทึกทางการพยาบาล ใบบันทึกการรักษาของแพทย์   ใบบันทึก ปรอท ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ น้ำหนัก ส่วนสูง อาหาร ฯลฯ ใบบันทึกการให้ยา  ใบบันทึกประวัติผู้ป่วย  ใบบันทึกการตรวจร่างกายผู้ป่วย ใบบันทึกการตรวจของแพทย์แต่ละวัน ใบบันทึกผลการตรวจทางห้องทดลอง ใบบันทึกการเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลและใบบันทึกอื่นๆ ที่โรงพยาบาลกำหนด 

    เอกสารรับย้าย คือ ใบส่งต่อผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยที่ประกอบด้วยใบบันทึกต่างๆที่กล่าวในเอกสารการรับใหม่ เพื่อรับย้ายผู้ป่วยมาจากหอผู้ป่วยอื่นๆภายในโรงพยาบาล 

    เอกสารจำหน่าย คือ ใบจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เวชระเบียนผู้ป่วยที่แพทย์ทำการสรุปการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

    เอกสารตรวจพิเศษ คือ เอกสารการตรวจเพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีตรวจในโรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวิทยาและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ การตรวจสมรรถภาพปอดการสวนหัวใจ เป็นต้น

    สมุดลงทะเบียน คือ สมุดที่บันทึกข้อมูลของผู้ป่วยทุกคนที่มานอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย หรือมารับบริการในหน่วยให้บริการ เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการรักษาได้

    สื่อสารและประสานงานภายในองค์กร หมายถึงการติดต่อสื่อสารและประสานงานให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีภายในองค์กร สอดคล้องตามเป้าหมาย เกิดความเข้าใจและมีการร่วมมือในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ