หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะอาด ความสุขสบาย และความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-CQCY-536A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะอาด ความสุขสบาย และความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

    5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

    5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

    5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

    5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการให้สะอาด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่ต้องดูแลความสะอาด คือ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะข้างเตียง การเปลี่ยนแก้วน้ำเหยือกน้ำ การจัดของใช้บนเตียงผู้ป่วย ที่นอน หมอน ผ้าห่ม และจัดผ้าม่านให้เรียบร้อย เป็นต้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมทั่วไปในหอผู้ป่วย เช่น การทำความสะอาดเคาน์เตอร์ การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม จัดเก็บผ้าสะอาดที่ใช้กับผู้ป่วย จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วย และจัดเก็บของในห้องเก็บให้เรียบร้อย พร้อมทั้งตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล    ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการให้มีความปลอดภัยกับผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ มีการเฝ้าระวังอุบัติเหตุ และภัยต่างๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

1.  มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการรักษาความสะอาดได้

10201.01.01 180069
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

2. ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับชนิดอุปกรณ์

10201.01.02 180070
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

3. ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมตามชนิดอุปกรณ์

10201.01.03 180071
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

4. ทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงของผู้ป่วย

10201.01.04 180072
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

5. เปลี่ยนแก้วน้ำ เหยือกน้ำ ตามกำหนดเวลา

10201.01.05 180073
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

6. จัดของใช้บนเตียงผู้ป่วยที่นอน หมอน ผ้าห่ม ให้เป็นระเบียบ

10201.01.06 180074
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

7. จัดผ้าม่านและรูดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

10201.01.07 180075
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

8. ทำความสะอาดเคาน์เตอร์พยาบาล (nursing station)

10201.01.08 180076
10201.01

ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

9. ทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม

10201.01.09 180077
10201.02

จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

10201.02.01 180078
10201.02

จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

2. จัดเก็บอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงและรอบเตียงของผู้ป่วยให้เรียบร้อยตามมาตรฐานของหน่วยงานที่กำหนด

10201.02.02 180079
10201.02

จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

3. จัดเก็บผ้าสะอาดในห้องผ้าที่ใช้กับผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่าย

10201.02.03 180080
10201.02

จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

4. จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่ายและเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด

10201.02.04 180081
10201.02

จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

5. จัดเก็บของในห้องเก็บของให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่ายและเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด

10201.02.05 180082
10201.03

ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

1. มีความรู้ถูกต้องเรื่องความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการได้

10201.03.01 180083
10201.03

ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

2. ตรวจสอบจำนวนของอุปกรณ์คุณภาพของอุปกรณ์ และความพร้อมใช้ของอุปกรณ์

10201.03.02 180084
10201.03

ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

3. ตรวจรับและส่งมอบอุปกรณ์ พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบ และลงชื่อกำกับ

10201.03.03 180085
10201.03

ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

4. รายงานให้พยาบาลวิชาชีพทราบเมื่อเกิดปัญหาอันก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในหอผู้ป่วย

10201.03.04 180086
10201.03

ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการ

5. ติดตามการดำเนินงานภายหลังการแจ้งซ่อมแซมหรือการได้รับการแก้ปัญหาแล้ว

10201.03.05 180087
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด

10201.04.01 180088
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. ล้างมือก่อนและหลังดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

10201.04.02 180089
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. สวมอุปกรณ์หรือใช้เครื่องมือการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างถูกต้อง

10201.04.03 180090
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. หยิบจับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ได้ตามมาตรฐานเทคนิคการปลอดเชื้อ

10201.04.04 180091
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้แล้วกับผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานของหน่วยงาน เพื่อส่งต่อไปที่หน่วยจ่ายกลาง

10201.04.05 180092
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. คัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อได้ตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

10201.04.06 180093
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. คัดแยกผ้าติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

10201.04.07 180094
10201.04

ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

8. คัดแยกขยะติดเชื้อได้ตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

10201.04.08 180095
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

10201.05.01 180096
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

2. ช่วยจับพยุงผู้ป่วยลุกนั่ง อย่างระวัง และจัดท่าทางให้ถูกต้องโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

10201.05.02 180097
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียงที่ช่วยตัวเองไม่ได้หรือผู้สูงอายุ และเด็ก

10201.05.03 180098
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. ตรวจตรา หรือสำรวจพื้นบริเวณรอบๆ เตียงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ไม่เปียกน้ำหรือลื่น ต้องทำให้แห้งอยู่เสมอ

10201.05.04 180099
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. แนะนำผู้ป่วยให้กดสัญญาณเรียกพยาบาล เวลาต้องการความช่วยเหลือ

10201.05.05 180100
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

6. สังเกตบุคคลที่มาเยี่ยม และใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นคนแปลกหน้า พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อเกิดความสงสัย

10201.05.06 180101
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. เฝ้าระวังป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายในบริเวณรอบเตียงผู้ป่วย

10201.05.07 180102
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

8. สังเกตสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย

10201.05.08 180103
10201.05

เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

9. สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย

10201.05.09 180104
10201.06

ดูแลให้มีการระบายอากาศและปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการระบายอากาศและอุณหภูมิภายในหน่วยงาน

10201.06.01 180105
10201.06

ดูแลให้มีการระบายอากาศและปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม

2.  เปิดหน้าต่างหรือประตูให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกภายในหน่วยงาน

10201.06.02 180106
10201.06

ดูแลให้มีการระบายอากาศและปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม

3.  ตรวจสอบช่องระบายอากาศในห้องน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ภายในหน่วยงาน

10201.06.03 180107
10201.06

ดูแลให้มีการระบายอากาศและปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม

4.  ตรวจสอบอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับอุณหภูมิที่สุขสบายกับผู้ป่วย

10201.06.04 180108
10201.07

จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องแสงสว่างในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วย

10201.07.01 180109
10201.07

จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม

2. เปิดหน้าต่างให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามา 

10201.07.02 180110
10201.07

จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม

3. ปรับแสงสว่างจากไฟฟ้าให้เหมาะสมทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน

10201.07.03 180111
10201.08

ขจัดกลิ่นที่รบกวน

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องกลิ่นที่รบกวนผู้ป่วยในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วย

10201.08.01 180112
10201.08

ขจัดกลิ่นที่รบกวน

2. ขจัดกลิ่นต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในหอผู้ป่วย

10201.08.02 180113
10201.09

ขจัดเสียงที่รบกวน

1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเสียงรบกวนผู้ป่วย

10201.09.01 180114
10201.09

ขจัดเสียงที่รบกวน

2. ระมัดระวังไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้ป่วย

10201.09.02 180115

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงของผู้ป่วยเปลี่ยนแก้วน้ำ เหยือกน้ำ 

2.  การทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยโดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมตามชนิดอุปกรณ์ 

3.  การทำความสะอาดบริเวณ Nursing station

4.  การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม เช่น รถทำแผล เสาน้ำเกลือ รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือดและให้น้ำเกลือ และอื่นๆ (ถ้ามี)

5.  การจัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วย/หน่วยให้บริการให้เป็นระเบียบ  การตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/หน่วยให้บริการ

6.  การล้างมือให้ถูกวิธี

7. การเตรียมอุปกรณ์ในการเปิดห่อของใช้ที่ปราศจากเชื้อ (Set sterile) ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

8.  ปฏิบัติขั้นตอนในการเปิดห่อของเครื่องใช้ที่ปราศจากเชื้อ (Set sterile) ได้ถูกต้อง และตามเวลาที่กำหนด  

9.  การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อ

10.  การใช้หยิบจับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ตามมาตรฐานเทคนิคการปลอดเชื้อ

11. การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้แล้วกับผู้ป่วยตามมาตรฐานของหน่วยงาน เพื่อส่งต่อไปที่หน่วยจ่ายกลาง

12.  การคัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

13.  การคัดแยกผ้าติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

14.  การเฝ้าระวังภัยต่างๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

15. การดูแลสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้ป่วยสุขสบายได้

16. วิธีการทำให้บริเวณที่ดูแลผู้ป่วยมีอากาศถ่ายเทได้

17. การระบายอากาศและอุณหภูมิภายในห้องผู้ป่วย

18. การจัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม

19. วิธีการกำจัดกลิ่นรบกวนบริเวณที่ดูแลผู้ป่วยได้

20. วิธีการลดเสียงรบกวนบริเวณที่ดูแลผู้ป่วยได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการวิธีการทำความสะอาด

2.    การแยกชนิดของใช้ของผู้ป่วย

3.    คุณสมบัติของน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด

4.    ผลข้างเคียงของการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นสารเคมี

5.    วิธีการแก้ไขและปฏิบัติการช่วยเหลือเมื่อได้รับพิษจากสารเคมีในน้ำยาทำความสะอาด

6.    วิธีการนำน้ำยาไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องมืออย่างถูกต้อง

7.    การเลือกวิธีทำความสะอาดให้เหมาะสมกับอุปกรณ์

8.    การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียง

9.    ความรู้ในการจัดเรื่องน้ำดื่ม

10.    การป้องกันอุบัติเหตุขณะทำความสะอาดอุปกรณ์

11.    การใช้ภาชนะใส่น้ำดื่มและการทำความสะอาด

12.    หลักการจัดของใช้บนเตียงผู้ป่วย ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ให้เป็นระเบียบและปลอดภัย

13.    ผลกระทบต่อผู้ป่วยในการจัดของใช้บนเตียงไม่เป็นระเบียบ

14.    การดูแลของใช้บนเตียงให้สะอาด

15.    การประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยหลังการจัดของใช้บนเตียง

16.    การตรวจสอบผ้าม่านให้สะอาดและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

17.    การจัดผ้าม่านให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เกิดความสุขสบาย และเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ป่วย

18.    หลักการทำความสะอาดด้วย Antiseptic อย่างปลอดภัย

19.    การจัดเรียงเอกสารหรือสิ่งที่จำเป็นให้เป็นระเบียบ หมวดหมู่ และสะดวกต่อการใช้

20.    หลักการใช้น้ำยา Antiseptic ในการทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม 

    (รถทำแผล เสาน้ำเกลือ รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือด และให้น้ำเกลือ และอื่นๆ)

21.    การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม

22.    ประโยชน์ของการจัดอุปกรณ์ของใช้ให้เป็นระเบียบ

23.    หลักการจัดวางของใช้และการจัดทำป้ายชื่อ

24.    การจัดหมวดหมู่ของใช้เพื่อสะดวกในการหยิบใช้

25.    การจัดทำบัญชีของใช้หรืออุปกรณ์เพื่อสำรวจจำนวนของใช้หรืออุปกรณ์ที่สมบูรณ์พร้อมใช้

        หรือชำรุด

26.    จัดวางอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงให้สะดวกต่อการหยิบใช้

27.    หลักปฏิบัติการหยิบ จับ ของใช้บนโต๊ะข้างเตียงและรอบเตียงของผู้ป่วยและญาติอย่าง

        ระมัดระวัง

28.    ระเบียบการจัดวางผ้าที่สะดวกต่อการหยิบใช้

29.    การตรวจนับจำนวนแยกชนิดของผ้าในการนำไปใช้

30.    การตรวจ Check ผ้าที่ชำรุดนำไปแก้ไข และซ่อมแซม

31.    มีความรู้ในการสังเกตผ้าที่สะอาดและติดเชื้อ แยกแยะได้อย่างถูกต้อง ป้องกันการ

        แพร่กระจายเชื้อ

32.    การจัดอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้สะดวกต่อการหยิบใช้ และปิดป้ายชื่ออุปกรณ์ในหอผู้ป่วยหรือ

        จัดทำป้ายอุปกรณ์ที่ใช้ให้ชัดเจน

33.    การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา 

34.    การจัดอุปกรณ์ในห้องเก็บของให้สะดวกต่อการหยิบใช้ และปิดป้ายชื่ออุปกรณ์ในห้องเก็บ

        ของหรือจัดทำป้ายอุปกรณ์ที่ใช้ให้ชัดเจน

35.    การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเก็บของให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา  

        การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเก็บของให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา

36.    ความรู้เรื่องการจัดทำความสะอาดด้วยน้ำยา Antiseptic บริเวณหอผู้ป่วย

37.    การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

        และคนอื่นๆ

38.    การตรวจ Check จำนวนและคุณภาพของอุปกรณ์จัดชุดให้ครบ

39.    การแยกชุดอุปกรณ์ที่จะใช้กับการรักษาให้ถูกต้องเพื่อการทำความสะอาด

40.    มีความรู้ในการจัดส่งอุปกรณ์ไปหน่วยงาน จะทำการทำความสะอาดปราศจากเชื้อ

41.    การตรวจรับอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนับจำนวนตรวจสอบชื่อของอุปกรณ์และวัน 

        เวลา ที่ได้ฆ่าเชื้อแล้วพร้อมลงบันทึก

42.    มีความรู้ระยะเวลาของการฆ่าเชื้อมีเวลาปลอดภัยในเวลาที่กำหนด ถ้าเกินเวลาต้องจัดส่ง

        ทำลายเชื้อใหม่

43.    การตรวจตราภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายในหอผู้ป่วย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่ชำรุด 

        สายไฟฟ้าที่หลุดห้อย หรือหลอดไฟไม่ติดและอื่นๆ

44.    การรายงานด้วยลายลักษณ์เมื่อแจ้งการส่งซ่อม

45.    การตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ได้ส่งซ่อมแล้วส่งกลับมา

46.    การลงบันทึกการรับของและรายงานให้พยาบาลวิชาชีพ

47. ความรู้เรื่องมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด

48. หลักการล้างมือก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย

49. เทคนิคการสวมอุปกรณ์หรือการใช้เครื่องมือการแพร่กระจายเชื้อ

50. เทคนิคการหยิบ จับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ตามเทคนิคปลอดเชื้อ

51. การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนจัดส่งไปหน่วยจ่ายกลาง

52. หลักการคัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อและวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

53. วิธีการคัดแยกผ้าที่ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกัน และการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

54. วิธีการคัดแยกขยะติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

55. ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและภัยที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

56. ความรู้ในการจับพยุงผู้ป่วย ลุก นั่ง และการระวังการตก หรือหกล้ม

57. การระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการตกเตียงโดยยกไม้กั้นเตียงขึ้น

58. การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากพื้นเปียกน้ำหรือลื่น

59. วิธีการใช้สัญญาณเรียกพยาบาล เมื่อต้องการความช่วยเหลือ

60. การแนะนำผู้ป่วยและญาติเฝ้าระวังบุคคลแปลกหน้า

61. การเฝ้าระวังการป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ได้แก่ มด 

      แมลงสาบ หนู เป็นต้น

62. การตรวจตราเกี่ยวกับไฟฟ้า สายไฟ ปลั๊กไฟ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับบุคคลอื่นๆ

63. รายงานเมื่อพบพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายให้กับพยาบาลทราบ

64. จัดให้มีอุณหภูมิภายในหน่วยงานให้สุขสบาย เช่น เปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ

65. ดูแลความสะอาดหน้าต่างหรือประตูให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี

66. ตรวจสอบและดูแลความสะอาดของช่องระบายอากาศในห้องน้ำ

67. วิธีการตรวจสอบและการปรับอุณหภูมิ ห้องให้อยู่ในระดับ 25 องศาเซลเซียส

68. ความรู้เรื่องแสงสว่างที่เหมาะสมในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วยเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติการพยาบาล

69. ดูแลให้มีการเปิดหน้าต่างให้แสงอาทิตย์ส่อง เพื่อระบายอากาศ

70. จัดการเปิด ปิด ไฟ เพื่อให้แสงสว่าง ตามเวลา

71. จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม ไม่รบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย

72. ตรวจหาหรือค้นหาที่มาของกลิ่นที่รบกวนผู้ป่วย

73. การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติอาหารถึงการจัดทำความสะอาดภาชนะที่ใส่หรือสิ่งที่ทำให้เกิดกลิ่น

74. ค้นหาสาเหตุของการเกิดเสียงที่รบกวนผู้ป่วย

75. เฝ้าระวังการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดเสียงดังจากเจ้าหน้าที่และบุคคลในหอผู้ป่วย

76. จัดการทำป้าย ปิดเตือนเรื่องการทำเสียงที่รบกวนผู้ป่วย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการทดสอบความรู้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

        2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

        ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับชนิดอุปกรณ์ ดังนี้ เตียง โต๊ะหัวเตียง เก้าอี้ รถเข็นผู้ป่วย เปล เสาแขวนน้ำเกลือ หมอน ที่นอน ที่หุ้มด้วยพลาสติก ใช้น้ำและผงซักฟอก เช็ดถูทุกวัน และเมื่อจำหน่ายผู้ป่วย และจัดเก็บในบริเวณที่หน่วยงานกำหนด

        ทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม เช่น รถทำแผล รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือดและให้น้ำเกลือ เป็นต้น โดยใช้น้ำยาที่หน่วยงานกำหนด

    จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่ายและเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด เช่น จัดเก็บผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย ได้แก่ เสื้อ ผ้าถุง กางเกง ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน ผ้าขวางเตียง ผ้ายาง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ต้องเก็บให้เรียบร้อย ได้แก่ แก้วน้ำ  เหยือกน้ำ ถาด ชามรูปไต หม้อนอน เป็นต้น

    มีความรู้ และการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ มีการป้องกันตนเอง โดยการล้างมือก่อน และหลังดูแลผู้ป่วย การใช้สวมอุปกรณ์ หรือใช้เครื่องมือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การขัดแยกขยะติดเชื้อ การเฝ้าระวังอุบัติเหตุ และภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

    สังเกตบุคคลที่มาเยี่ยม และใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นคนแปลกหน้า พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อเกิดความสงสัย โดยการสังเกตท่าทาง บุคลิก และพฤติกรรม ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจมีพิรุธ ให้รีบแจ้งพยาบาลวิฃาชีพทราบทันที

    เฝ้าระวังป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายในบริเวณรอบเตียงผู้ป่วย โดยการสังเกตมด ยุง แมลงวัน เห็บ เหา ไร เป็นต้น และให้การป้องกันเบื้องต้น คือ การไล่แมลงวัน และมด ไล่ยุงโดยใช้ยากันยุงไฟฟ้า ส่งผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าขวาง เป็นต้นไปทำความสะอาดเพื่อป้องกันมิให้เห็บ เหา ไร ทำอันตรายผู้ป่วย

    สังเกตสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น สารเคมี ไฟฟ้า และอื่นๆ ถ้ามีความผิดปกติ เช่นมีกลิ่นสารเคมี แก๊สรั่ว มีประกายไฟ ให้รีบแจ้งพยาบาลวิฃาชีพทราบทันที

    สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น ภาวะซึมเศร้า เหม่อลอย ไม่พูดไม่จากับใคร เก็บตัวเงียบ หรือเอะอะก้าวร้าว เป็นต้น

    ตรวจสอบอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับอุณหภูมิที่สุขสบายกับผู้ป่วยคือประมาณ 25 องศาเซลเซียสขจัดกลิ่นต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในหอผู้ป่วย เช่น ควันทุกชนิด กลิ่นอับชื้น สารคัดหลั่งของผู้ป่วยกลิ่นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นแรง กลิ่นอาหารกลิ่นรบกวนจากขยะ กลิ่นเศษอาหารที่ตกลงพื้น เป็นต้น

    ระมัดระวังไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้ป่วย เช่น คุยเสียงดัง ล้างอุปกรณ์เสียงดัง เข็นรถเสียงดัง                        เดินเสียงดัง เป็นต้น

    (ก) คำแนะนำ

ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย หมายถึง การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียง แก้วน้ำ เหยือกน้ำ และการเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับอุปกรณ์

        2. ดูแลความสะอาดนอกห้องผู้ป่วย หมายถึง บริเวณ Nursing station ห้องทำหัตถการ ห้องเก็บของอุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า ของผู้ป่วย

        3. ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด หมายถึงหน่วยงานกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ

        4. เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหมายถึง การดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยด้านร่างกาย จิตใจ และภัยจากสิ่งต่างๆ เช่น กำจัดสัตว์แมลงร้าย กำจัดสารเคมี

        5. การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขสบาย หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้มีอากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด การถ่ายเทของเสีย ความสะอาดและแสงสว่าง

        6.การดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขสบาย หมายถึง ตรวจสอบการระบายอากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผู้ป่วยประมาณ 25 องศาเซลเซียล การจัดแสงสว่างที่เหมาะสม ขจัดกลิ่นที่รบกวน และขจัดเสียงที่รบกวน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ