หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทบทวนกระบวนการสำหรับปรับปรุง (Review Process for improvement)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-HCYV-398B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทบทวนกระบวนการสำหรับปรับปรุง (Review Process for improvement)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business intelligence Analyst) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถระบุกระบวนการที่เกิดปัญหาขึ้นในโครงการวิเคราะห์ข้อมมูลขนาดใหญ่ โดยทำการทบทวนกระบวนการ หาความเชื่อมโยงของปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ รวมถึงจัดหาแนวทางเพื่อพัฒนากระบวนการให้เกิดประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70407.01 กำหนดปัจจัยการทบทวนกระบวนการ 1. ระบุกระบวนการทำงานที่สำคัญได้ 179937
70407.01 กำหนดปัจจัยการทบทวนกระบวนการ 2. อธิบายสถานะของกระบวนการทำงานที่สำคัญได้ 179938
70407.01 กำหนดปัจจัยการทบทวนกระบวนการ 3. ระบุปัจจัยที่ต้องพิจารณาในกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ 179939
70407.02 ทำรายการตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ระบุกระบวนทั้งหมดในการทำงานได้ 179940
70407.02 ทำรายการตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ระบุรายละเอียดของกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 179941
70407.02 ทำรายการตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล 3. อธิบายวัตถุประสงค์ของกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนได้ 179942
70407.02 ทำรายการตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล 4. กำหนดเกณฑ์การพิจารณาและข้อกำหนดในกระบวนการทำงานได้ 179943
70407.03 วิเคราะห์กระบวนการทำงาน 1. ตรวจสอบสถานะของกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นได้ 179944
70407.03 วิเคราะห์กระบวนการทำงาน 2. ระบุผลลัพธ์ที่คาดหวังในกระบวนการทำงานและผลที่ได้รับได้ 179945
70407.03 วิเคราะห์กระบวนการทำงาน 3. ระบุลักษณะของปัญหาหรือกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ 179946
70407.04 สรุปผลการทบทวนกระบวนการทำงาน 1. สรุปสถานะของกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นได้ 179947
70407.04 สรุปผลการทบทวนกระบวนการทำงาน 2. สรุปตัวแปรสำคัญในกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญหาหรือควรปรับปรุงได้ 179948
70407.04 สรุปผลการทบทวนกระบวนการทำงาน 3. สรุปที่มาของปัญหาหรือกระบวนการที่ต้องการปรับปรุงไได้ 179949
70407.05 ระบุแนวทางการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงาน 1. กำหนดแนวทางดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงได้ 179950
70407.05 ระบุแนวทางการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงาน 2. ระบุทรัพยากรในการดำเนินการได้ 179951
70407.05 ระบุแนวทางการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงาน 3. สรุปแนวทางปรับปรุงกระบวนการได้ 179952

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการวิเคราะห์กระบวนการทำงานแบบองค์รวม

2.  ทักษะการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและ

3.  ทักษะการบริหารจัดการข้อมูล

4.  ทักษะการวางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านการศึกษากระบวนการทำงาน (Work Study and Improvement)

2. ความรู้ด้านการทำโครงการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Project)

3. ความรู้ด้านการวิเคราะห์หาสาเหตุ (Root Cause Analysis)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการค้นหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยการทบทวนกระบวนการทำงานทั้งหมด หาสาเหตุ ปัจจัย ที่มีส่งผลต่อคุณภาพการทำงาน และสรุปรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยสำคัญ โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานทางความรู้

(ง)  วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

3. พิจารณาจากกรณีตัวอย่าง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาโดยการทบทวนกระบวนการ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลขณะทบทวนกระบวนการ 

2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความเชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและเข้าใจถึงการวิเคราะห์แบบองค์รวม และมีความเชี่ยวชาญในโครงการการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Project)

3. เจ้าหน้าที่สอบควรเตรียมความพร้อมก่อนการประเมิน เพื่อการทบทวนรายละเอียดกระบวนการได้ครอบคลุมทุกมิติ

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. การทบทวนกระบวนการเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุ (Root Cause Analysis) และปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงการทำโครงการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจเช่นกัน โดยการทบทวนกระบวนการเป็นสืบค้นข้อมูลในอดีตเพื่อค้นหาปัจจัยในแต่ละขั้นตอนการทำงานที่มีอิทธิพลต่อผลการวิเคราะห์ และนำมาปรับปรุงในครั้งถัดไป

2. การตั้งมิติการทบทวนกระบวนการเป็นมีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ เช่น เป้าหมาย ปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และทรัพยากร เป็นต้น เพื่อระบุเกณฑ์ในการทบทวนกระบวนการ รวมถึงตัวแปรที่ต้องพิจารณา

3. ทบทวนกระบวนการ Business Process improvement เพื่อแก้ปัญหา ข้อขัดข้อง ความสูญเสียทางธุรกิจ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดปัจจัยการทบทวนกระบวนการตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2  เครื่องมือประเมินการทำรายการตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3     เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์กระบวนการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.4  เครื่องมือประเมินการสรุปผลการทบทวนกระบวนการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.5  เครื่องมือประเมินการระบุแนวทางการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ