หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนโครงการ (Produce Project Plan)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-YIVU-379B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนโครงการ (Produce Project Plan)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst) ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล สถาปนิกสารสนเทศ (Information Architect) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการวางแผนการดำเนินงานโครงการ โดยสามารถวางแผน และจัดทำแผนการดำเนินโครงการ (Produce Project Plan) ในการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และกำหนดความต้องการที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงานได้ เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล  (Data Science)  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ 1. ระบุวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ 179369
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ 2. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ 179370
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ 3. สรุปวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ 179371
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ 1. ระบุแนวทางกระบวนการในการดำเนินโครงการได้ 179372
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ 2. ระบุลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการได้ 179373
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ 3. ระบุความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการได้ 179374
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ 4. สรุปขั้นตอน กระบวนการและความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการได้ 179375
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ 1. จัดทำแผนการดำเนินโครงการได้ 179376
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ 2. สรุปผลการจัดทำแผนโครงการได้ 179377
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ 3. นำเสนอสรุปผลการจัดทำแผนโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ 179378

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวิเคราะห์แผนการดำเนินงาน

2. ทักษะในการวางแผนการดำเนินงานโครงการ

3. ทักษะในการกำหนดความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการ

4. ทักษะในการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research)

5. ทักษะในการบริหารงานโครงการ

6. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics)

7. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analytics)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research)

2. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานโครงการ

3. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการ

4. ความรู้เกี่ยวกับความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการ

5. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติทั่วไป และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Statistical analysis and Descriptive analytics)

6. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics)

7. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analytics)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดทำแผนโครงการ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการจัดทำแผนโครงการ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการกำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ และการสรุปผลการจัดทำแผนโครงการ 

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    แผนโครงการ หมายถึง เค้าโครงหรือแผนการดำเนินงานโครงการที่กะกำหนด และระบุถึงแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนา ที่ทำให้เห็นภาพ และทิศทางการดำเนินงาน การพัฒนา รวมถึงขอบเขตของโครงการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้ โดยโครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต โครงการโดยทั่วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการพัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น

    การวางแผนโครงการ (Project planning) คือ ความพยายามที่จะคาดคะเน เพื่อวางแผนกำหนดเวลาและค่าใช้จ่าย ที่จะใช้ในการดำเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ จะรวมถึงขั้นตอนการทำงาน กิจกรรมที่จะต้องทำ เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งบุคคลากรที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม โดยแต่ละโครงการควรจะระบุรายละเอียดในแผนโครงการให้ละเอียด และชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มทำงานจริง เพื่อให้สามารถติดตามและควบคุม ให้งานหรือโครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในตอนดำเนินการจริง ส่งผลให้สามารถดำเนินงานโครงการได้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

    องค์ประกอบพื้นฐานของจัดทำแผนโครงการ 

            1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหา และสื่อถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่กำหนด

            2.ชื่อโครงการ เป็นการกำหนดชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจน และสื่อถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่กำหนด

            3.หลักการและเหตุผล เป็นการกำหนดรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการ โดยถ้าโครงการนั้นเป็นโครงการที่ดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนพัฒนา หรือแผนอื่น ๆ ขององค์กร ต้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในแผนโครงการให้ชัดเจนชี้แจงด้วย 

            4.วัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเพื่อให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการอะไร หรือเพื่ออะไร โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สามารถดำเนินการหรือปฏิบัติได้ และสามารถวัดและประเมินผลได้ โดยในการทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ 

            5.เป้าหมาย เป็นการกำหนดเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติงานหรือส่งที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการระบุเป้าหมายโครงการนั้นควรระบุเป็นประเภทลักษณะ คุณภาพ หรือเชิงปริมาณ โดยต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดหรือขีดความสามารถในการดำเนิโครงการของผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่รับผิดชอบโครงการ

            6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรม หรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจที่จะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการต้องมีการรวบรวมกิจกรรมทั้งหมด และนำมาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญและ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องว่าควรจะทำภารกิจใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน เพื่อกำหนดลำดับงานหรือภารกิจทั้งหมด เพื่อให้สามารถดำเนินการโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

            7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ต้องมีการระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้นโครงการ และระบุช่วงเวลาหรือความยาวของโครงการ เช่น 6 เดือน, 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้น 

            8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ รายละเอียดรายการค่าใช้จ่าย ยอดต้นทุนงบประมาณและแหล่งที่มา และรวมถึงการระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ ฯลฯ

            9. ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ 

            10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นระบุแนวทางให้กับผู้ปฏิบัติงานทราบว่า ในการดำเนินการโครงการนั้น ต้องประสานงานหรือขอความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานใด เพื่อสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

            11.การประเมินผล เป็นการระบุแนวทางการในการติดตามประเมินผลของโครงการ ซึ่งผลของการประเมินนั้นสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการหรือเตรียมโครงการที่คล้ายหรือเกี่ยวข้องกันต่อไป

            12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุผลของการดำเนินงานโครงการ ว่าเมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไร โดยระบุทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลกระทบของโครงการ

            ลักษณะโครงการที่ดี  โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้

            1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาองค์กรได้

            2. มีรายละเอียด เนื้อหาครบถ้วน ชัดเจน 

            3. รายละเอียดของโครงการต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีหลักการและวิธีดำเนินการที่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดได้ 

            5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอ่านทำความเข้าใจได้ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้

             6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้ และสามารถติดตามและประเมินผลได้จริง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการจัดทำแผนโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ