หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินข้อมูลที่จำเป็น (Determine Data needed)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-OKRI-378B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินข้อมูลที่จำเป็น (Determine Data needed)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst) ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล สถาปนิกสารสนเทศ (Information Architect) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการใช้ข้อมูลในธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และระบุเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการนำข้อมูลที่จำเป็นมาใช้ในธุรกิจได้ และสามารถระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจได้ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในธุรกิจ และเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล  (Data Science)  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70103.01 กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ 1. ระบุในเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการใช้ข้อมูลในธุรกิจได้ 179361
70103.01 กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ 2. วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจได้ 179362
70103.01 กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ 3. ระบุข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจได้ 179363
70103.01 กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ 4. สรุปการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจได้ 179364
70103.02 ระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจ 1. ระบุการประเมินความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจได้ 179365
70103.02 ระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจ 2. วิเคราะห์เกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจได้ 179366
70103.02 ระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจ 3. ระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ 179367
70103.02 ระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจ 4. สรุปเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจได้ 179368

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวิเคราะห์โครงสร้าง และภาพรวมธุรกิจ

2. ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในธุรกิจ 

3. ทักษะในการใช้ Business Analytics (BA) และ Business Intelligence (BI) ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง

4. ทักษะกำหนดเกณฑ์ประเมิน หรือตัวชี้วัดความสำเร็จ

5. ทักษะในการวิเคราะห์ทางสถิติทั่วไป และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Statistical analysis and Descriptive analytics)

6. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics)

7. ทักษะในการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research)

8. ทักษะการใช้เครือข่ายทางสังคมและแหล่งข้อมูลแบบเปิด (Social network and open data)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างธุรกิจ

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ Business Analytics (BA) และ Business Intelligence (BI) ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง

3. ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมิน หรือตัวชี้วัดความสำเร็จ

4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติทั่วไป และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Statistical analysis and Descriptive analytics)

5. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics)

6. ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research)

7. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายทางสังคมและแหล่งข้อมูลแบบเปิด (Social network and open data)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินข้อมูลที่จำเป็น โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการประเมินข้อมูลที่จำเป็น โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ และการระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจได้ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การประเมินข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจ 

ในการที่ธุรกิจจะประสบผลสำเร็จหรือการบรรลุเป้าหมายของธุรกิจนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือหรือการดำเนินงานร่วมกันจากหลายๆส่วนในธุรกิจ ซึ่งในการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลนั้น ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในธุรกิจ และเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจได้ เนื่องจากถ้ามีการกำหนดเป้าหมายในการทำเหมืองข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้สามารถเลือกและเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับความต้องการใช้งานข้อมูล และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลเพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจได้ เช่น การกำหนดเป้าหมายการทำเหมืองข้อมูลเพื่อระบุอัตราการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าได้ และพัฒนาหรือสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าได้ โดยในรายละเอียดของการระบุเป้าหมายการทำเหมืองข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบของแบบจำลอง รายงานนำเสนอ หรือชุดข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เป็นต้น 

2. การกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจ ถือเป็นขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญที่จะใช้ประเมินผลความสำเร็จในการทำเหมืองข้อมูล หรือใช้เป็นเกณฑ์ทางเทคนิคในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในปัจจุบันกับผลการดำเนินงานในอดีต เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของของการทำเหมืองข้อมูลในธุรกิจได้ ซึ่งการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จควรกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จในเชิงปริมาณ เช่น ค่าความถูกต้องของแบบจำลอง ผลของวิธีการหรือแบบจำลองที่สร้างใหม่เปรียบเทียบกับวิธีการหรือแบบจำลองที่มีอยู่ เป็นต้น แต่ถ้ากำหนดเกณฑ์ความสำเร็จในเชิงคุณภาพ ต้องมีการกำหนดหรือระบุผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และทักษะในการประเมินผลความสำเร็จในการทำเหมืองข้อมูลได้ เพื่อให้สามารถประเมินผลความสำเร็จในการทำเหมืองข้อมูลได้  

3. การจัดการข้อมูลงานวิจัย Data Management Plan (DMP) เป็นกระบวนการดำเนินการหนึ่งที่สำคัญที่สำคัญของหน่วยงานวิจัย หรือองค์กรต่าง ๆ เพราะข้อมูลจากงานวิจัยทั้งในรูปแบบข้อมูล เชิงสถิติ บันทึกข้อมูลภาคสนาม ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เสียงบันทึกจากการสัมภาษณ์หรือจากสภาพแวดล้อม เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นข้อมูลหรือหลักฐานระดับต้นที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยคนอื่น ตีความหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรืองานวิจัย การต่อยอดความรู้ หรือการวิพากษ์กับการวิจัยที่เกิดขึ้นและสามารถแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไปซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นักวิจัยสร้างและสะสมอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะที่สะดวกสบายในการจัดการ แต่ในอีกทางหนึ่งหากต้องการพัฒนาให้ข้อมูลหรือสารสนเทศดังกล่าวอำนวยความสะดวกให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้และสมบูรณ์ จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการข้อมูลงานวิจัยอย่างเหมาะสม 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการระบุเกณฑ์ความสำเร็จของการนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ