หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างการนำเสนอข้อมูล (Create data Visualization)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-LYRA-391B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างการนำเสนอข้อมูล (Create data Visualization)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจและนำชุดข้อมูลมาจัดเรียงหาประเด็นสำคัญและแสดงผลในรูปแบบภาพหรือกระดานแสดงผลข้อมูลให้เห็นแนวโน้ม ทิศทาง และภาพรวม ของข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาทางธุรกิจ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล 1. ระบุผู้รับชมการนำเสนอข้อมูลได้ 179822
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล 2. ระบุความต้องการของผู้รับชมได้ 179823
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล 3. กำหนดข้อมูลที่ตอบสนองกับความต้องการข้อมูลได้ 179824
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล 1. กำหนดแนวคิดการนำเสนอให้สอดคล้องกับบริบทของข้อมูลได้ 179825
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล 2. กำหนดลักษณะการนำเสนอข้อมูลได้ 179826
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล 3. คัดเลือกภาพหรือกราฟฟิกประกอบการอธิบายภาพแสดงข้อมูลได้ 179827
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล 1. คัดเลือกเครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูลได้ 179828
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล 2. ระบุวิธีการนำเข้าข้อมูลได้ 179829
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล 3. ใช้คำสั่งของเครื่องมือสร้างภาพการนำเสนอได้ 179830
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล 4. สร้างการเน้นข้อมูลที่สำคัญได้ 179831
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ 1. ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศได้ 179832
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ 2. สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ 179833
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ 3. สามารถสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศช่องทางต่าง ๆ ได้ 179834

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.กำหนดโจทย์และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

2.ประเมินความต้องการข้อมูล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต

2.ทักษะการใช้งานโปรแกรมคำนวนแบบตาราง Spreadsheet

3.ทักษะการเขียนโค๊ดเบื้องต้น (Coding) 

4.ทักษะการออกแบบ สื่อการนำเสนอ

5.ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience)

6.ทักษะการคำนวน/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.ความรู้การใช้งานเครื่องมือสร้างภาพจากชุดข้อมูล

2.ความรู้ด้านการจัดการข้อมูล

3.ความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบสื่อการนำเสนอ 

4.ความรู้ด้านการใช้สีสัน

5.ความรู้การถ่ายทอดเนื้อหา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

1.ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

1.ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2.ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสร้าการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับข้อมูล และประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลแก่ผู้อื่น

(ง) วิธีการประเมิน

1.พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างการนำเสนอข้อมูล รวมถึงเครื่องมือ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการสร้างการนำเสนอข้อมูล โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับบริบทของการนำข้อมูลมานำเสนอและผลกระทบหลังเผยแพร่ประเด็นสำคัญของข้อมูลนั้นๆ (Sensitive Data)

2.ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอประเด็นสำคัญข้อมูลที่สัมพันธ์กับตัวชี้วัดความสำเร็จทางธุรกิจ

3.ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับบริบทของผู้รับสาร

4.เจ้าหน้าที่สอบควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของข้อมูล มีทักษะในการจัดการข้อมูลและมีความชำนาญด้านการใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.Data Visualization คือสื่อการนำเสนอประเด็นสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบภาพ เพื่อแสดงผลข้อมูลแทนคำอธิบายผล ทั้งนี้ยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้จดจำ เห็นภาพรวม และคัดแยกประเด็นสำคัญของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ได้แก่ แผนภาพ (Chart) กราฟ (Graph) การพล็อตจุด (Plots) กระดานแสดงผลข้อมูล (Dashboard) 

2. การระบุความจุดประสงค์หลักของการนำเสนอข้อมูล จะเป็นตัวกำหนดถึงความต้องการข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างการนำเสนอ 

3. ลักษณะเครื่องมือแสดงผลข้อมูล หรือระบบปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลที่สนับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานทั่วไป (Window, Mac, Linux ) มีดังนี้

3.1)  เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลระดับสามัญ เป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structure data) และสร้างสื่อนำเสนอจากข้อมูลเชิงตาราง สามารถสร้างสมการแปลงผลข้อมูลในระดับพื้นฐานจนถึงระดับประยุกต์ระดับสูง และรองรับไฟล์รูปภาพ โดยยกตัวเครื่องมือสามัญที่จัดอยู่ในหมวดนี้ เช่น Microsoft office, Google sheet, LibreOffice. WPS Office เป็นต้น

3.2)  เครื่องมือสร้างภาพนำเสนอข้อมูล (Visualize Software) เป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลเพื่อสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลโดยเฉพาะ สามารถนำเข้าข้อมูลเชิงตารางได้จากหลายแหล่งและจัดการเชิงฐานข้อมูลได้ รวมถึงการสร้างแผนภาพด้วยเทคนิคการสร้างข้อมูลระดับสูง โดยยกตัวอย่างซอฟแวร์ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ฟรี (Freeware) ได้แก่ Power BI, Tableau, Fusion chart, Qlikview, Highcharts , Datawrapper , Plotly , Sisense เป็นต้น

3.3)  เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันเครื่องมือวิเคราะห์ผลมีฟังก์ชั่นแสดงภาพผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลเข้าใจภาพรวมของข้อมูล ผู้ใช้เครื่องมือจะต้องเข้าใจวิธีใช้งานและคุณสมบัติของเครื่องมือจึงสามารถประยุกต์วิธีจัดการข้อมูลและสร้างลักษณะเครื่องมือสร้างภาพแสดงข้อมูลระดับประยุกต์ได้ เครื่องมือวิเคราะห์ที่สามารถทำสื่อแสดงผลข้อมูล มีทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปและภาษาทางคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องมือที่ได้รับความนิยม เช่น RapidMiner, Python, Language R, Java, language C# เป็นต้น

4.เทคนิคการสร้างภาพข้อมูล หมายถึงการใช้คำสั่งการสร้างภาพข้อมูลระดับประยุกต์ จากคำสั่งหลายๆส่วนเพื่อสร้างการนำตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ

4.1) เทคนิคการจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลเฉพาะเจาะจง เช่น การจัดเรียงข้อมูล (Sort) และคัดกรองกลุ่มข้อมูล (Filter) เป็นต้น

4.2) เทคนิคการใช้ภาพนำเสนอข้อมูลด้วยค่าทางทางสถิติ เช่น ผลรวม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน เป็นต้น

4.3) เทคนิคการสร้างภาพนำเสนอซ้อนกัน (Dual Axis) เป็นการนำภาพการนำเสนอ ซ้อนทับกันเพื่อเปรียบเทียบหรือให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

5. การออกแบบสื่อการนำเสนอข้อมูล (Mood and tone) ภาพข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลนอกจากจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจข้อมูลนั้นแล้ว การจัดองค์ประกอบของสื่อจะช่วยผู้รับข้อมูลทำความเข้าใจประเด็นสำคัญจากภาพแสดงข้อมูลนั้นได้ รวมถึงเป็นการชักจูงความสนใจของผู้รับสารให้เกิดประสบการณ์ ความรู้สักร่วม กับบริบทของข้อมูลนั้นๆ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญพิจารณาดังนี้ 

5.1) ใจความของข้อมูล ประเด็นที่ต้องการนำเสนอจากข้อมูล ที่มาจากการกำหนดความต้องการทางธุรกิจหรือเป้าหมายการใช้ข้อมูล เพื่อเทียบความสอดคล้องระหว่างใจความของข้อมูลกับปัจจัยทางธุรกิจ หรือประสบการณ์ของผู้รับสาร

5.2) ลำดับการนำเสนอ การเรียบเรียงข้อมูลตามความสำคัญเพื่อให้ผู้รับสารสามารถทำความเข้าใจข้อมูลได้มากที่สุด เช่น การนำเสนอนิยามของข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจบริบทของข้อมูลแล้วจึงนำเสนอประเด็นสำคัญจากข้อมูลนั้นๆ

5.3) สีของสีการนำเสนอ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลกับการรับสารจากภาพนำเสนอข้อมูลในหลายมิติ ในการเลือกสี เป็นขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อกำหนดอารมณ์ของสื่อให้สอดรับกับบริบทของวัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูล มีขั้นตอนพิจารณาการใช้สีที่สำคัญ เช่น การใช้สีเพื่อเน้น Key massage หมายถึงการเลือกสีเพื่อสร้างจุดดึงดูดสายตา หรือ เน้นประเด็นสำคัญของข้อมูล โดยเลือกสีให้ตัดกันอย่างชัดเจน ทั้งในรูปแบบการไล่ระดับเฉดสี การใช้สีที่มีความเข้ม (Saturation) สูง ตัดกับสีโทนอ่อน  

5.4) การใช้ตัวอักษร อธิบายข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของการนำเสนอข้อมูลส่วนที่สำคัญ นำเสนอได้ตรงประเด็น เช่น การเน้นขนาดตัวอักษร การใช้สีตัวอักษร การเลือกชนิดตัวอักษรและฟอนต์ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการระบุความต้องการข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการออกแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ