หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดรูปแบบข้อมูล (Format data)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-PEBK-390B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดรูปแบบข้อมูล (Format data)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถดำเนินการกับข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่มีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้างที่ผ่านการเลือกและเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาแล้ว โดยเป็นการปรับรูปแบบข้อมูล (Reformatted) ให้สอดคล้องกันกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การจัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) และการจัดเรียงลำดับรายการใหม่ (Reordering)  เพื่อช่วยในการประมวลผล การเปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกันและดำเนินการต่อในขั้นต่อไปได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเทคนิคของแบบจำลองและเครื่องมือที่ใช้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล  (Data Science)  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70305.01 ระบุข้อมูลและแบบจำลอง 1. ระบุโครงสร้างและความหมายข้อมูลได้ 179809
70305.01 ระบุข้อมูลและแบบจำลอง 2. ระบุข้อจำกัดของแบบจำลองที่ต้องใช้ ได้ 179810
70305.01 ระบุข้อมูลและแบบจำลอง 3. ระบุข้อจำกัดของเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์ได้ 179811
70305.02 จัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) 1. ระบุหลักการจัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Order) ได้ 179812
70305.02 จัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) 2. ระบุข้อจำกัดของเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์ที่มีผลต่อลำดับก่อนหลังของสดมภ์ข้อมูลได้ 179813
70305.02 จัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) 3. สามารถใช้เครื่องมือจัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ได้ 179814
70305.03 จัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ (Reordering Records) 1. ระบุหลักการจัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ (Order) ได้ 179815
70305.03 จัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ (Reordering Records) 2. ระบุข้อจำกัดของเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์ที่มีผลต่อลำดับก่อนหลังของรายการข้อมูลได้ 179816
70305.03 จัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ (Reordering Records) 3. สามารถใช้เครื่องมือจัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ได้ 179817
70305.04 เปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) 1. ระบุข้อจำกัดของเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์ที่มีผลต่อรูปแบบของข้อมูลได้ 179818
70305.04 เปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) 2. สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลได้ 179819
70305.04 เปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) 3. สามารถใช้เครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลใหม่ได้ 179820
70305.04 เปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) 4. สามารถแปลงข้อมูลให้อยู่ในช่วงเดียวกัน (Scale) ได้ 179821

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้วิธีการวิเคราะห์และวิธีทางสถิติเพื่อช่วยเตรียมข้อมูลและเลือกข้อมูลได้

2. สามารถใช้เทคนิคและเครื่องมือสำหรับประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้

3. สามารถใช้เทคนิคและเครื่องมือสำหรับประมวลผล SQL หรือ NoSQL หรือที่เกี่ยวข้องได้ เช่น SQL and NoSQL, Data Warehouse solutions, ETL (Extract, Transform, Load), OLTP และ OLAP เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.เข้าใจธุรกิจและวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ธุรกิจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดรูปแบบข้อมูล โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการปรับเปลี่ยนการจัดเรียงข้อมูล เพื่อให้เหมาะสมและสามารถดำเนินการได้กับเทคนิคแบบจำลองที่เลือกใช้ รวมทั้งเครื่องมือช่วย (Tools) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. มีความเข้าใจในโครงสร้างข้อมูลที่ผ่านการแปลงข้อมูลแล้ว และสามารถดำเนินการปรับรูปแบบข้อมูล (Reformatted) จัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) จัดเรียงลำดับรายการใหม่ (Reordering) เปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) ได้อย่างเหมาะสม 

2. การจัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) บางเครื่องมือช่วยวิเคราะห์อาจต้องการการจัดเรียงสดมภ์ใหม่ หรือเพิ่มสดมถ์ที่เป็นคีย์หลักที่ไม่มีความซ้ำซ้อน เพื่อให้การประมวลผลของแบบจำลองมีความถูกต้อง

3. การจัดเรียงลำดับรายการใหม่ (Reordering) เพื่อให้การประมวลผลของแบบจำลองบางแบบจำลองมีความถูกต้อง จำเป็นต้องจัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ โดยมีหลักการดังนี้

    1) Ascending คือ การเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก เช่น 1 - 2 - 3 - .... หรือ A - Z เป็นต้น 

    2) Descending คือ การเรียงข้อมูลจากมากไปหาน้อย เช่น 100 - 99 - 98 -.... หรือ Z - A เป็นต้น

4. การเปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือค่าข้อมูลให้เหมาะสมกับแบบจำลอง และเครื่องมือที่ใช้ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการระบุข้อมูลและแบบจำลองตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการจัดเรียงสดมภ์ข้อมูลใหม่ (Rearranging Attributes) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดเรียงรายการข้อมูลใหม่ (Reordering Records) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการเปลี่ยนค่าข้อมูล (Reformatted within-value) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ