หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ (Plan Monitoring for Business)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-QLIP-401B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ (Plan Monitoring for Business)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ แบบจำลองข้อมูล การใช้งานแบบจำลองข้อมูล และการวางแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจในการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ โดยสามารถวางแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจการปรับใช้งานเชิงธุรกิจได้ตรงตามจุดประสงค์การใช้งานแบบจำลองข้อมูลในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล  (Data Science)      

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70503.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 1. ระบุวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180003
70503.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 2. วิเคราะห์ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180004
70503.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 3. สรุปวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180005
70503.02 กำหนดกระบวนการในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 1. ระบุแนวทางกระบวนการในการติดตามหรือเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180006
70503.02 กำหนดกระบวนการในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 2. ระบุตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180007
70503.02 กำหนดกระบวนการในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 3. ระบุความต้องการข้อมูลหรือระบบในเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180008
70503.03 สรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 1. จัดทำแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจตามตัวชี้วัดที่กำหนดได้ 180009
70503.03 สรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 2. สรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจได้ 180010
70503.03 สรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ 3. นำเสนอผลสรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ 180011

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผนในการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจ

2. ทักษะในการวิเคราะห์กระบวนการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจ

3. ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นใช้งานในกระบวนการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจ

4. ทักษะในการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่จำเป็นใช้งาน

5. ทักษะในการการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ

6. ทักษะในการวางแผนกระบวนการดำเนินงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ

2. ความรู้เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลโครงการ

3. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการใช้งานแบบจำลอง

4. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ

5. ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจในการวางแผน การดำเนินงาน

6. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics)

7. ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการปรับใช้งานเชิงธุรกิจการกำหนดกระบวนการในการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ กำหนดผู้ปฏิบัติงานในการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ การกำหนดระยะเวลาในการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ การจัดลำดับขั้นตอนความสัมพันธ์ของกระบวนการในการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ การกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ และการสรุปแผนการปรับใช้งานเชิงธุรกิจ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

การติดตามและประเมินผลโครงการ

การติดตาม และการควบคุมเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของนักบริหาร และเป็นเครื่องมือสำคัญของการวางแผน การดำเนินตามแผน และการประเมินผลของงาน ทั้งนี้เพราะงานที่เกี่ยวกับแผนขององค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะดำเนินไปได้จะต้องอาศัยการติดตาม การควบคุมเข้ามาช่วย  มิฉะนั้นแล้วงานทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามธรรมชาติ หรือไปตามอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน ยากที่จะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ 

1. การติดตาม  หมายถึง  กระบวนการของการวัดหรือการตรวจสอบที่ทำเป็นประจำเป็นช่วงๆ  การวัดและการตรวจสอบดังกล่าวได้แก่ การวัดปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Outputs) ที่เกิดขึ้นใช่วงการดำเนินงานตามแผน โดยทั่วไปมักติดตามใน ด้านการจัดหาการเคลื่อนย้าย  และการนำทรัพยากรของโครงการมาใช้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนและกำหนดการหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการติดตามก็คือ ต้องการชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ของโครงการให้เร็วที่สุดที่เท่าที่จะเร็วได้ ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ    หรือผลิตผลของโครงการเพื่อจะได้จัดการแก้ไขปรับปรุงสถานการณ์ต่าง ๆ ของโครงการที่เป็นไปทันท่วงที ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  การติดตามก็คือ  เครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการปรับปรุงการบริหารโครงการ การติดตามแบ่งได้เป็น  3  ประเภทใหญ่ๆ  คือ

                  1) การติดตามผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามดูว่าการปฏิบัติงานตามโครงการนั้น ได้ผลงานก้าวหน้าไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานตลอดจนงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

                  2) การติดตามประสิทธิภาพของโครงการ ได้แก่ การศึกษาติดตามดูว่าเมื่อมี การปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลผลิตของโครงการออกมานั้น ได้ใช้กรรมวิธีการผลิต หรือวิธีดำเนินงาน ที่ประหยัดที่สุดหรือไม่ โดยอาจจะมีการเทียบเคียงให้เห็นสัดส่วนของผลผลิตกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ

                  3) การติดตามประเมินผลของโครงการ ได้แก่ การศึกษาติดตามดูว่าการปฏิบัติงานตามโครงการนั้นได้ก่อให้เกิดผลผลิตตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลผลิตที่เกิดขึ้นดังกล่าวสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้มากน้อยเพียงใด

2.  การควบคุม หมายถึง กระบวนการที่กระทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานได้ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดไว้ หรือถ้าจะให้ความหมายที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้ควบคุมชัดเจนขึ้นก็หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่าง ๆ  เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการศึกษาผลการปฏิบัติงานตามแผนปรากฏว่าไม่เป็นไปตามทิศทาง กรอบ หรือข้อกำหนดที่วางไว้ ผู้ควบคุมหรือผู้บริหารจะต้องดำเนินการอย่างอย่างหนึ่งจะแก้ไขปรับปรุงให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนดังกล่าว มิฉะนั้นแล้วแผนก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 การควบคุมอาจแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกควบคุมออกเป็น  5  ประเภทด้วยกัน  คือ

                  1) การควบคุมผลการปฏิบัติงาน (Product Control) เป็นการควบคุมผลผลิตของโครงการ  เพื่อจัดการให้โครงการผลิตได้ปริมาณตามที่กำหนดไว้ในแผน  เรียกว่า การควบคุมปริมาณ (Quantity Control)  และควบคุมให้ผลผลิตที่ได้มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เรียกว่าการควบคุมคุณภาพ (Quality Control)  การควบคุมในข้อนี้รวมถึงการควบคุมเวลาของโครงการด้วย คือการควบคุมให้โครงการสามารถผลิตผลงานได้ปริมาณและคุณภาพตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ 

                  2) การควบคุมบุคลากร (Personal or Staff Control) เป็นการควบคุมพฤติกรรมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโครงการ โดยควบคุมให้ปฏิบัติงานตามวิธีที่กำหนดไว้ และให้เป็นไปตามกำหนดการโครงการ ควบคุมและบำรุงขวัญพนักงาน  ความประพฤติ  ความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ  ตลอดจนควบคุมด้านความปลอดภัยของพนักงานด้วย 

                  3) การควบคุมด้านการเงิน  (Financial Control)  ได้แก่ การควบคุมการใช้จ่าย (Cost Control) การควบคุมทางด้านงบประมาณ (Budget Control) ตลอดจนการควบคุมทางด้านบัญชีต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้โครงการเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด และมีเหตุผลเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม 

                  4) การควบคุมทรัพยากรทางกายภาพ (Control of Physical Resources)  ได้แก่ การควบคุมการใช้จ่ายทรัพยากรประเภทวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ อาคารและที่ดินตลอดจนแรงงานในการเป็นปัจจัยนำเข้าของโครงการเพื่อให้เกิดการประหยัดในการใช้ทรัพยากรดังกล่าว 

                  5) การควบคุมเทคนิควิธีการปฏิบัติงาน (Control of Techniques or Procedure) ได้แก่  การควบคุมกำกับดูแลเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามหลักวิชาที่กำหนดไว้ สำหรับการปฏิบัติงานประเภทนั้นๆ  โดยจะต้องควบคุมทั้งเทคนิควิธีที่มองเห็นและเข้าใจง่าย เช่น โครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง  และเทคนิคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและเป็นนามธรรม เช่น โครงการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม การส่งเสริมประชาธิปไตย  หรือโครงการพัฒนาชนบท เป็นต้น 

3.  ความสำคัญของการติดตามและการควบคุม ความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ของการติดตามและการควบคุมนั้น อาจพิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้

                  1) เพื่อให้แผนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ประโยชน์ในข้อนี้นับว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการติดตามและการควบคุมโครงการ ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์และเป้าหมายถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ หากไม่มีการยึดเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นหลักแล้ว เราก็ไม่ทราบว่าจะทำโครงการนี้ไปทำไม  เมื่อเป็นเช่นนี้ การติดตามและควบคุมการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่จะช่วยประคับประคองให้โครงการบรรลุสิ่งที่มุ่งหวังดังกล่าวจึงถือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารโครงการ

                  2) ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ผู้บริหารที่ดีจะต้องควบคุมเวลาและค่าใช้จ่ายของโครงการ  โดยการเสนอแนะเทคนิควิธีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพให้ซึ่งจะสามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายของโครงการลงไปได้มาก  ทำให้สามารถนำทรัพยากรที่ลดลงไปใช้ประโยชน์กับโครงการอื่น หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้

                  3)  ช่วยกระตุ้น จูงใจ และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน การติดตามควบคุมนั้นไม่ใช่เป็นการจับผิดเพื่อลงโทษ  แต่เป็นการแนะนำช่วยเหลือโดยคำนึงถึงผลสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ผู้นิเทศงานและผู้ควบคุมงานที่ดีมักจะได้รับการต้อนรับจากผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกกระตือรือร้น เพราะมีพี่เลี้ยงมาช่วยแนะนำ ช่วยเหลืออีกแรงหนึ่ง ขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ก็จะมีมากขึ้น

                  4) ช่วยป้องกันและความเสียหายรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โครงการบางโครงการถ้ามีการควบคุมไม่ดีพออาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายใหญ่หลาวงได้ และหากพบความเสียนั้นแต่ต้นลักษณะของเหตุการณ์ที่เรียกว่า “สายเกินแก้” ก็จะไม่เกิดขึ้น

                  5) ทำให้พบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากโครงการนั้น ทั้งนี้ในขณะที่ทำกาติดตามและควบคุมนั้น  ผู้บริหารจะมองเห็นปัญหาอันเป็นผลกระทบต่าง ๆ ของโครงการหลายประการ จึงจะสามารถจัดหามาตรการในการป้องกันแก้ไขได้ เช่น โครงการสร้างถนนเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร อาจก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบตัดไม้เถื่อนโดยใช้ถนนสายนั้นเป็นเส้นทางขนส่ง เป็นต้น

                  6) ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เห็นเป้าหมายวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของงานไได้ขึ้น  โดยปกติ โครงการต่าง ๆ  มักจะกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้ามายไว้อย่างหลวมๆ หรือใช้คำที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมสูง เช่น คำว่าพัฒนา ขยาย ปรับปรุง กระตุ้น ยกระดับ ฯลฯ ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงาน หรือแม้กระทั่งผู้บริหารมองไม่เห็นเป้าหมายไได้ ไม่อาจปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องได้ เมื่อมีการติดตามและควบคุมโครงการจะต้องมีการทำให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายรวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้สามารถเปรียบเทียบและทำการควบคุมได้

การใช้งานแบบจำลองข้อมูลเชิงธุรกิจ หมายถึงการปรับการใช้งานแบบจำลองข้อมูลในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ตามแผน และกระบวนการทำงานในการปรับใช้แบบจำลองเชิงธุรกิจที่กำหนดให้ตรงตามจุดประสงค์การใช้งานแบบจำลองข้อมูลในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ โดยประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

การปรับใช้แบบจำลอง และผลที่ได้รับของแบบจำลอง หมายถึง การกำหนดกระบวนการทำงานในการปรับใช้แบบจำลอง ซึ่งประกอบด้วย

1. การระบุผลผลิต (Output) ของแบบจำลอง

2. การระบุผลลัพธ์ (Outcome) ของแบบจำลอง 

3. การระบุข้อจำกัดของแบบจำลอง

4. การระบุแนวทางการใช้งานแบบจำลอง

5. การระบุผู้ที่จะใช้แบบจำลอง

6. การระบุกลุ่มเป้าหมายแบบจำลอง

7. การระบุความเป็นไปได้ในอนาคต แนวทางการพัฒนาในอนาคต

8. การนำเสนอผลสรุปแบบจำลองให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ความต้องการของระบบ หมายถึง ความต้องการใช้งานข้อมูลสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    1. ตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    2. ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    3. การแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    การติดตั้งหรือปรับใช้แบบจำลอง

    1. การเลือกข้อมูลสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    2. แหล่งข้อมูลที่จำเป็นใช้งานสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    3. รายละเอียดแหล่งข้อมูลที่จำเป็นใช้งานสำหรับการปรับใช้แบบจำลอง

    4. ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้แบบจำลอง

การประเมินการปรับใช้แบบจำลอง

    1. การวิเคราะห์ตัวชี้วัดในการประเมินการปรับใช้แบบจำลอง

    2. การกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินการปรับใช้แบบจำลอง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดกระบวนการในการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปแผนการเฝ้าสังเกตสำหรับธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

2. ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 



ยินดีต้อนรับ