หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินภาพรวม (Evaluate Results)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-JTDD-397B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินภาพรวม (Evaluate Results)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลของแบบจำลอง (Modeling) องค์ความรู้ใหม่ (Knowledge) หรือข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมิติต่าง ๆ อาทิ ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ความเหมาะสมของแบบจำลองต่อกระบวนการทางธุรกิจหรือโครงสร้างระบบสารสนเทศ เป็นต้น สามารถแนวทางการปรับใช้กับธุรกิจที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และตัดสินใจเลือกโมเดลเข้าสู่กระบวนการปรับใช้งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70406.01 กำหนดตัวชี้วัด 1. ระบุวัตถุประสงค์ของธุรกิจหรือองค์กร รวมถึงตัวชี้วัดได้ 179927
70406.01 กำหนดตัวชี้วัด 2. สามารถวัดประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่มีผลต่อธุรกิจหรือองค์กรได้ 179928
70406.02 ประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ 1. ระบุวัตถุประสงค์ของธุรกิจหรือองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้ 179929
70406.02 ประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ 2. สามารถประเมินผลลัพธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเชิงธุรกิจได้ 179930
70406.02 ประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ 3. สามารถประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจขององค์กรได้ 179931
70406.02 ประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ 4. สามารถนำผลลัพธ์จากแบบจำลองหรือความรู้ใหม่ (Knowledge) มากำหนดแนวทางการดำเนินการของธุรกิจได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ 179932
70406.03 ปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน 1. ระบุกระบวนการปฏิบัติงานได้ 179933
70406.03 ปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน 2. สามารถสรุปรายการกิจกรรมที่สมควรดำเนินการแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติได้ 179934
70406.03 ปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน 3. สามารถระบุรายการกิจกรรมที่สมควรดำเนินการซ้ำเพิ่มเติมจากเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการได้ 179935
70406.03 ปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน 4. กำหนดแผนการที่ได้จากการสรุปแบบจำลองและองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ 179936

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต

2. ทักษะการใช้งานโปรแกรมคำนวนแบบตาราง Spreadsheet

3. ทักษะการเขียนโค้ดเบื้องต้น (Coding) 

4. ทักษะการออกแบบ สื่อการนำเสนอ

5. ทักษะการคำนวน/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การใช้งานเครื่องมือสร้างภาพจากชุดข้อมูล

2. ความรู้ด้านระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)

3. ความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบสื่อการนำเสนอ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินภาพรวม (Evaluated Result)โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง ) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการประเมินแบบจำลอง (Model) ที่ได้ และองค์ความรู้หรือข้อเท็จจริงจากข้อมูลเชิงลึกของข้อมูล ที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแนวทางการปรับใช้กับธุรกิจที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ก่อนนำไปใช้เชิงธุรกิจจริง

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินภาพรวม เป็นกระบวนการที่ดำเนินการหลังจากทดสอบประสิทธิภาพของโมเดลเสร็จสิ้น โดยพิจารณาผลการทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล ร่วมกับความเหมาะสมด้านต่าง ๆ ที่สนับสนุนตัวชี้วัดความสำเร็จทางธุรกิจ เพื่ออนุมัติให้มีการใช้งานโมเดลกับภาคธุรกิจ กระบวนการทำงาน หรือระบบสารสนเทศต่อไป สำหรับการประเมินภาพรวม (Evaluated Result) สามารถแบ่งประเด็นเพื่อพิจารณาที่สำคัญ ได้แก่

1. วัดประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เป็นการประเมินประสิทธิภาพของผลลัพธ์ หรือองค์ความรู้ใหม่จากแบบจำลอง กับมิติชี้วัดประสิทธิภาพ อาทิ ความแม่นยำ ความคลาดเคลื่อน เวลาประมวลผล กระบวนการจัดการข้อมูล เป็นต้น

2. ประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ อาทิ ยอดขาย อัตราการเติบโตของธุรกิจ ค่าใช้จ่าย เป็นต้น รวมถึงพิจารณาร่วมกับปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูลในธุรกิจนั้นๆ

3. ประเมินผลลัพธ์กับกระบวนการทำงานในธุรกิจ พิจารณาความเหมาะสมในการพัฒนากระบวนการทำงานในธุรกิจ โดยประยุกต์ใช้โมเดลวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการทำงาน ปรับเปลี่ยน ควบรวม ทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจหรือทางเทคนิค ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4. ประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างแบบจำลองกับระบบสารสนเทศ หรือกระบวนการเชิงธุรกิจ โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปรับใช้งานโมเดลวิเคราะห์ข้อมูลลงในกระบวนการทำงาน และความคุ้มค่าของการใช้งานทรัพยากรเมื่อปรับใช้งานลงในธุรกิจนั้นๆ

ทั้งนี้.กระบวนการประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ จะต้องวิเคราะห์ให้ครบทุกมิติจึงมีขั้นตอนเพื่อใช้ตัดสินผลการประเมินโมเดล 2 แบบ ได้แก่ ประชุม สัมมนาเพื่อประเมินผลลัพธ์ หรือ การประเมินผลจากการทดสอบด้วย Pilot test หรือ A/B test รวมทั้งกำหนดแนวทางจากองค์ความรู้ใหม่ (Knowledge) ที่ได้จากโมเดล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการกำหนดตัวชี้วัดตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการประเมินผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ผลข้อสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ