หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารโซ่อุปทานเพื่อบริหารต้นทุนให้เกิดผลิตภาพการจัดซื้อ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-AHDU-844A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารโซ่อุปทานเพื่อบริหารต้นทุนให้เกิดผลิตภาพการจัดซื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องบริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Improvement) บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01371 บริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

1. กำหนดปัญหา ขอบเขต และจุดที่ควรปรับปรุงได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

01371.01 179302
01371 บริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

2. สำรวจ รวบรวมข้อมูล เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน

01371.02 179303
01371 บริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

3.  วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง โดยใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01371.03 179304
01371 บริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

4. ดำเนินการปรับปรุงตามขอบเขตและแนวทางเพิ่มผลิตภาพที่กำหนด

01371.04 179305
01371 บริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Improvement)

5. ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการได้อย่างเป็นระบบและนำมาใช้ปรับปรุงแนวทางเพิ่มผลิตภาพในอนาคต

01371.05 179306
01372 บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

1. พัฒนาผู้ขาย (ต้นน้ำ) ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 

01372.01 179307
01372 บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

2. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อด้วย digital service ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

01372.02 179308
01372 บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

3. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 

01372.03 179309
01372 บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

4. ปรับปรุงการจัดการคลังวัตถุดิบ วัสดุ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

01372.04 179310
01372 บริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพผ่านระบบเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างกิจการ

5. จัดการงานด้านความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อรักษาผู้ขายที่ดีไว้ได้

01372.05 179311

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

.........................................................................N/A..............................................................................................


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการบริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

    1.1 สามารถกำหนดปัญหา ขอบเขต และจุดที่ควรปรับปรุงได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    1.2 สามารถสำรวจ รวบรวมข้อมูล เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน

    1.3 สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง โดยใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    1.4 สามารถดำเนินการปรับปรุงตามขอบเขตและแนวทางเพิ่มผลิตภาพที่กำหนด

    1.5 สามารถควบคุม ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการได้อย่างเป็นระบบและนำมาใช้ปรับปรุงแนวทางเพิ่มผลิตภาพในอนาคต

2.ปฏิบัติการบริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

     2.1 สามารถพัฒนาผู้ขาย (ต้นน้ำ) ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    2.2 สามารถปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อด้วย Digital service ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    2.3 สามารถปรับปรุงกลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    2.4  สามารถปรับปรุงการจัดการคลังวัตถุดิบ วัสดุ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    2.5 สามารถจัดการงานด้านความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อรักษาผู้ขายที่ดีไว้ได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิคการประสานงาน

2. การวิเคราะห์งาน

3. เทคนิคการสอนงาน

4. จิตวิทยาการสอน

5. เทคนิคการใช้สื่อประกอบการสอน

6. การวางแผนการสอนงาน

7. การติดตามผลการสอนงาน

8. การควบคุมคุณภาพ

9. การบริหารคุณภาพ

10. นโยบายและเป้าหมายการจัดซื้อ

11. กลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา

12. การประเมินผลการจัดซื้อ

13. สภาพแวดล้อมต่องานจัดซื้อ

14. การวางแผนงบประมาณการจัดซื้อ

15. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการบริหารงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. รายงานผลการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      2. แผนการสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

      3. รายงานงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปี

      4. รายงานการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

      5. แผนการพัฒนาบุคลากรภายในหน่วยงาน

      6. รายงานผลตรวจสอบการควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

      7. รายงานสรุปผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อ

      8. รายงานผลการปฏิบัติงาน 

(ข)   หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมการบริหารงานจัดซื้อ

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

       ประเมินเกี่ยวกับการบริหารโซ่อุปทานเพื่อบริหารต้นทุนให้เกิดผลิตภาพการจัดซื้อ

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องบริหารงบประมาณค่าใช้จ่าย

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

      5. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องบริหารทรัพยากรบุคคล

      6. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

      7. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานจัดซื้อ

      8. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินผลและการควบคุมการปฏิบัติงาน



(ข)   คำอธิบายรายละเอียด

     1. ผู้ปฏิบัติงานบริหารต้นทุนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนการจัดซื้อ (cost reduction) โดยใช้เทคนิควิธีหรือเครื่องมือต่างๆ เช่น Six Sigma, Lean procurement  จะต้อง (define) กำหนดปัญหา ขอบเขต และจุดที่ควรปรับปรุง  (measure) สำรวจ รวบรวมข้อมูล เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน  (analyze) วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง โดยใช้เครื่องมือ (Improve) ดำเนินการปรับปรุงตามขอบเขตและแนวทางเพิ่มผลิตภาพที่กำหนด และ (Control) ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการได้อย่างเป็นระบบและนำมาใช้ปรับปรุงแนวทางเพิ่มผลิตภาพในอนาคต

     2. ผู้ปฏิบัติงานบริหารโซ่อุปทานของงานจัดซื้อเพื่อเพิ่มผลิตภาพ จะต้องพัฒนาซัพพลายเออร์ (ต้นน้ำ)   ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ (re-process) ด้วย digital service  ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง และ ปรับปรุงการจัดการคลังวัตถุดิบ วัสดุ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

     3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
.................ไม่มี.....................................................................................................................................................

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
.................ไม่มี.....................................................................................................................................................

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

       2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

       3. แบบประเมินการแฟ้มสะสมผลงาน

       4. แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

       2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

       3. แบบประเมินการแฟ้มสะสมผลงาน

       4. แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ