หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการด้านการจัดซื้อ จัดหา และจัดจ้าง

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-CQSO-841A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการด้านการจัดซื้อ จัดหา และจัดจ้าง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับบริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา ควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01341 บริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ

1. กำหนดแผนประมาณต้นทุนในการสั่งซื้ออย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01341.01 179269
01341 บริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ

2. ควบคุมต้นทุนในการสั่งซื้อ อย่างมีประสิทธิภาพ 

01341.02 179270
01341 บริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ

3. จัดทำรายงานต้นทุนในการสั่งซื้อประจำปี ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด และตรวจสอบได้ 

01341.03 179271
01341 บริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ

4. เปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อจริงกับประมาณการต้นทุน

01341.04 179272
01342 กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01342.01 179273
01342 กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

2. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและมีการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ 

01342.02 179274
01342 กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

3. แก้ไขปัญหาตามกระบวนการ และมีระบบการป้องกัน รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างชัดเจน โดยเครื่องมือการวัด

01342.03 179275
01343 ควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

1. วิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดเป้าหมายของการบริหารจัดการในหน่วยงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01343.01 179276
01343 ควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

2. ดำเนินการควบคุมคุณภาพการบริหารจัดการ ในหน่วยงานมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

01343.02 179277
01343 ควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

3. รายงานผลตรวจสอบการควบคุมคุณภาพในการบริหารจัดการในหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01343.03 179278
01343 ควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

4. วางแผนการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

01343.04 179279

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

..........ไม่มี................................................................................................................................................


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการบริหารต้นทุนในการสั่งซื้อ    

   1.1 สามารถกำหนดแผนประมาณต้นทุนในการสั่งซื้ออย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

   1.2 สามารถควบคุมต้นทุนในการสั่งซื้อ อย่างมีประสิทธิภาพ

   1.3 สามารถจัดทำรายงานต้นทุนในการสั่งซื้อประจำปี ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด และตรวจสอบได้

   1.4 สามารถเปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อจริงกับประมาณการต้นทุน

2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา    

   2.1 สามารถประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและมีการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ

   2.3 สามารถแก้ไขปัญหาตามกระบวนการ และมีระบบการป้องกัน รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างชัดเจน โดยเครื่องมือการวัด

3. ปฏิบัติการควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

   3.1 สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดเป้าหมายของการบริหารจัดการในหน่วยงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

   3.2 สามารถดำเนินการควบคุมคุณภาพการบริหารจัดการ ในหน่วยงานมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

   3.3 สามารถรายงานผลตรวจสอบการควบคุมคุณภาพในการบริหารจัดการในหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

   3.4 สามารถวางแผนการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิคการประสานงาน

2. การวิเคราะห์งาน

3. เทคนิคการสอนงาน

4. จิตวิทยาการสอน

5. เทคนิคการใช้สื่อประกอบการสอน

6. การวางแผนการสอนงาน

7. การติดตามผลการสอนงาน

8. การควบคุมคุณภาพ

9. การบริหารคุณภาพ

10. นโยบายและเป้าหมายการจัดซื้อ

11. กลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา

12. การประเมินผลการจัดซื้อ

13. สภาพแวดล้อมต่องานจัดซื้อ

14. การวางแผนงบประมาณการจัดซื้อ

15. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการบริหารงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. รายงานผลการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      2. แผนการสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

      3. รายงานงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปี

      4. รายงานการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

      5. แผนการพัฒนาบุคลากรภายในหน่วยงาน

      6. รายงานผลตรวจสอบการควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

      7. รายงานสรุปผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อ

      8. รายงานผลการปฏิบัติงาน 

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบผ่านการอบรมการบริหารงานจัดซื้อ

     2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

     3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

     4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อ จัดหา และจัดจ้าง

(ง)  วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องบริหารงบประมาณค่าใช้จ่าย

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา

      5. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องบริหารทรัพยากรบุคคล

      6. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

      7. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานจัดซื้อ

      8. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประเมินผลและการควบคุมการปฏิบัติงาน

(ข)   คำอธิบายรายละเอียด

      1. ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น หน่วยงานที่ต้องการใช้สินค้า หรือบริการ ผู้ขายสินค้า หรือบริการ ผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการ ผู้จัดเก็บสินค้าและบริการ โดยต้องมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานที่ต้องการใช้สินค้าจะต้องมีการให้ข้อมูลเมื่อมีการดำเนินการจัดซื้อตามที่หน่วยงานต้องการ หน่วยงานจัดเก็บสินค้าต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสินค้าที่จะต้องจัดเก็บ ลักษณะของสินค้า วันที่สินค้าจะมาถึงสถานที่จัดเก็บ ผู้จัดส่งต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลา ปริมาณ และสถานที่ที่ต้องจัดส่งสินค้า ผู้ขายสินค้าต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับประมาณสินค้า คุณลักษณะของสินค้า เวลาที่ต้องการสินค้า เอกสารที่ต้องการเพื่อการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อ  การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ต้องมีการบันทึกและสรุปผลรายงานหัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ

     2. ผู้ปฏิบัติงานนำแผนการจัดซื้อที่อยู่ในรูปของปริมาณสินค้า หรือบริการที่ต้องจัดซื้อ มาจัดทำประมาณการต้นทุนที่ต้องใช้ในการจัดซื้อ โดยพิจารณาจากราคาที่จัดซื้อในอดีตมาประมาณราคาในปัจจุบัน และทำการสอบถามข้อมูลราคาสินค้าที่ต้องการจัดซื้อจากผู้ขาย และจัดทำแผนประมาณการต้นทุนในการสั่งซื้อ มีการประมาณปริมาณการจัดซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) มีการคำนวณจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-Order point) มีการคำนวณปริมาณสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)  จากนั้นจัดทำรายงานสรุปต้นทุนในการสั่งซื้อประจำปี  โดยอาจมีการเปรียบเทียบข้อมูลต้นทุนการจัดซื้อของปีกับต้นทุนการจัดซื้อของปีก่อน

     3. ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อสินค้าหรือบริการแต่ละประเภท  เช่น ถ้าการจัดซื้อสินค้ามีปัญหาสินค้าไม่สามารถมาถึงกิจการภายในเวลาที่กำหนด คุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามที่ต้องการ สัญญาการจัดส่งไม่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมแผนการแก้ไขหากเกิดกรณีต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น โดยข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ในการจัดซื้อควรมีการกำหนดอย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานอื่นสามารถดำเนินการได้ด้วย  และระหว่างการดำเนินกระบวนการจัดซื้อผู้ปฏิบัติงานต้องติดตาม และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกระบวนการ และเวลาที่กำหนด โดยต้องมีการติดตามเป็นระยะ เพื่อพบปัญหาได้อย่างรวดเร็วและสามารถหาวิธีการในการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วด้วย

       4. ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดบริการจัดซื้อได้ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบให้หน่วยงานไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้ มีการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยตัวชี้วัดดังกล่าวต้องเป็นตัวชี้วัดทั้งด้านการเงินและด้านคุณภาพ มีการจัดระบบการควบคุมภายในเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มีการกำกับดูแลการดำเนินงานเป็นระยะเช่น ต้องได้รายงานการปฏิบัติงานด้านจัดซื้อทุกเดือนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  มีการประเมินผลการดำเนินงานด้านจัดซื้อทุก 3 เดือน ว่าสามารถบรรลุตัวชี้วัดที่ต้องการหรือไม่ หากไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดที่ต้องการ ต้องวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดได้ และหาวิธีการในการแก้ไขต่อไป

       5. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
.................ไม่มี.....................................................................................................................................................

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
.................ไม่มี.....................................................................................................................................................

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

       3. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

       3. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3 เครื่องมือการประเมิน

      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

      2. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

      3. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ