หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พยากรณ์การจัดซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม โลจิสติกส์

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TKKO-843A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พยากรณ์การจัดซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม โลจิสติกส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ ประมาณการความต้องการใช้สินค้าบริการ โดยใช้วิธีทางสถิติ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01121

รวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ

1. จัดทำสรุปข้อมูลการจัดซื้อปีที่ผ่านมา

01121.01 179312
01121

รวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ

2. รวบรวมสรุปข้อมูลการพยากรณ์

01121.02 179313
01121

รวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ

3. รวบรวมข้อมูลความต้องการในวัตถุดิบ

01121.03 179314
01121

รวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ

4. รวบรวมปัญหาที่เคยพบในการจัดซื้อที่ผ่านมา

01121.04 179315
01121

รวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ โดยการจัดการระบบสารสนเทศ

5. จัดทำสรุปการพยากรณ์การจัดซื้อ

01121.05 179316
01122

ประมาณการความต้องการใช้สินค้าบริการ โดยใช้วิธีทางสถิติ

1. วิเคราะห์แผนประมาณการความต้องการใช้ สินค้า บริการ จากประวัติการใช้สินค้า และประมาณการขายสินค้า เพื่อ นำไปกำหนดนโยบายการจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01122.01 179317
01122

ประมาณการความต้องการใช้สินค้าบริการ โดยใช้วิธีทางสถิติ

2. ใช้วิธีการทางสถิติเพื่อจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อแผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า บริการ  

01122.02 179318
01122

ประมาณการความต้องการใช้สินค้าบริการ โดยใช้วิธีทางสถิติ

3. นำเสนอแผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า จากผู้บริหารระดับสูง 

01122.03 179319

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

.........................................................................N/A..............................................................................................


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 1. ปฏิบัติงานด้านการรวบรวมข้อมูลประกอบการพยากรณ์จัดซื้อ

     1.1 สามารถจัดทำสรุปข้อมูลการจัดซื้อปีที่ผ่านมา

     1.2 สามารถรวบรวมสรุปข้อมูลการพยากรณ์

     1.3 สามารถรวบรวมข้อมูลความต้องการในวัตถุดิบ

     1.4 สามารถรวบรวมปัญหาที่เคยพบในการจัดซื้อที่ผ่านมา

     1.5 สามารถจัดทำสรุปการพยากรณ์การจัดซื้อ

2. ปฏิบัติงานด้านประมาณการความต้องการใช้สินค้าบริการ

      2.1 สามารถวิเคราะห์แผนประมาณการความต้องการใช้ สินค้า บริการ จากประวัติการใช้สินค้า และประมาณการขายสินค้า เพื่อ นำไปกำหนดนโยบายการจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      2.2 สามารถใช้วิธีการทางสถิติเพื่อจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อแผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า บริการ  

      2.3 สามารถนำเสนอแผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า จากผู้บริหารระดับสูง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. พยากรณ์ความต้องการซื้อ

2. วิธีการซื้อและวิธีการขอซื้อ 

3. วงจรงานจัดซื้อ

4. การระบุความต้องการในการจัดซื้อ

5. การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติ

6. การใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ที่องค์กรใช้งานหรือโปรแกรมสำเร็จรูป

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. รายงานประมาณการความต้องการซื้อโดยรวมขององค์กร

     2. รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า

     3. แผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า บริการ 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบผ่านการอบรมการบริหารงานจัดซื้อ

     2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

     3. ใบรับรองหรือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถการใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ที่องค์กรใช้งานหรือโปรแกรมสำเร็จรูป

     4. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

     5. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

     6. ใบรับรองหรือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการพยากรณ์ความต้องการซื้อ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินเกี่ยวกับการพยากรณ์ความต้องการใช้สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบข้อมูลประมาณการขาย

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบสรุปผลการวิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำแผนประมาณการความต้องการใช้สินค้า บริการ

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

      1. ผู้ปฏิบัติงานทำการรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลรายการสินค้า บริการ ปริมาณการจัดซื้อ รายชื่อผู้ขาย นำข้อมูลมาจากการพยากรณ์แนวโน้มการขายจากฝ่ายขาย และข้อมูลการคาดการแนวโน้มความต้องการวัตถุดิบจากฝ่ายผลิต มาจัดทำเป็นตารางหรือฐานข้อมูลพร้อมสู่การวิเคราะห์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยจัดเก็บไว้ในตาราง Excel, หรือ ระบบจัดการฐานข้อมูลใด ๆ 

      2. ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการโดยใช้ประวัติและแนวโน้มและพิจารณานโยบายการจัดซื้อของกิจการประกอบเพื่อให้การพยากรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

      3. ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในการใช้โมเดลการพยากรณ์เช่น วิธีถัวเฉลี่ย วิธีเอ็กโปเนนเชียล วิธีสมการเชิงเส้นถดถอย เป็นต้น

      4. ผู้ปฏิบัติอธิบายและสามารถนำเสนอผลการพยากรณ์ให้แก่ผู้บริหารอธิบายหากมีเงื่อนไขอื่น ๆ หรือหากข้อมูลประกอบการพยากรณ์มีการปรับเปลี่ยน

      5. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
..........ไม่มี................................................................................................................................................

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
..........ไม่มี................................................................................................................................................

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

       3. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

      2. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

      3. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ