หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจความต้องการใช้สินค้าหรือบริการ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-IJBB-831A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจความต้องการใช้สินค้าหรือบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรวบรวมและจัดทำเครื่องมือความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering) รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการใช้สินค้า บริการ โดยการจัดการเครื่องมือ จัดหมวดหมู่และใช้เครื่องมือกำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้า บริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
.........................................................................N/A..............................................................................................

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111

รวบรวมและจัดทำเครื่องมือความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering)

1. ตรวจสอบแบบฟอร์มของการเบิกใช้สินค้า บริการ ในแต่ละวันได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01111.01 179325
01111

รวบรวมและจัดทำเครื่องมือความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering)

2. จัดทำรายงานสรุปความต้องการใช้สินค้า บริการ ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 

01111.02 179326
01111

รวบรวมและจัดทำเครื่องมือความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering)

3. รวบรวมรายงานประมาณซื้อจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

01111.03 179327
01112

รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการใช้สินค้า บริการ โดยการจัดการเครื่องมือ

1.ตรวจสอบการรวบรวมรายงานประวัติการใช้สินค้า บริการโดยรวม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน 

01112.01 179328
01112

รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการใช้สินค้า บริการ โดยการจัดการเครื่องมือ

2. วิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า บริการ เพื่อนำไปวางแผนการจัดซื้อประจำปี

01112.02 179329
01113

จัดหมวดหมู่และใช้เครื่องมือกำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้าบริการ

1. ตรวจสอบรายงานความต้องการ แยกหมวดหมู่ของสินค้า บริการ ตามลักษณะที่กำหนด ได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01113.01 179330
01113

จัดหมวดหมู่และใช้เครื่องมือกำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้าบริการ

2. กำหนดและจัดเรียงความต้องการตามลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

01113.02 179331

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

.........................................................................N/A..............................................................................................


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ปฏิบัติงานการรวบรวมและจัดทำเครื่องมือความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering)

        1.1 สามารถตรวจสอบแบบฟอร์มของการเบิกใช้สินค้า บริการ ในแต่ละวันได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

        1.2 สามารถจัดทำรายงานสรุปความต้องการใช้สินค้า บริการ ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 

         1.3 สามารถรวบรวมรายงานประมาณซื้อจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

    2. ปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการใช้สินค้า บริการ โดยการจัดการเครื่องมือ

          2.1 สามารถตรวจสอบการรวบรวมรายงานประวัติการใช้สินค้า บริการโดยรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน 

          2.2 สามารถวิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า บริการ เพื่อนำไปวางแผนการจัดซื้อประจำปี

     3. ปฏิบัติงานการจัดหมวดหมู่และใช้เครื่องมือกำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้า บริการ

          3.1 สามารถตรวจสอบรายงานความต้องการ แยกหมวดหมู่ของสินค้า บริการ ตามลักษณะที่กำหนด ได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

          3.2 สามารถกำหนดและจัดเรียงความต้องการตามลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดการงานจัดซื้อ

2. วิธีการซื้อและวิธีการขอซื้อ 

3. วงจรงานจัดซื้อ

4. การระบุความต้องการในการจัดซื้อ

5. การใช้โปรแกรมประยุกต์ที่องค์กรใช้งานหรือโปรแกรมสำเร็จรูป

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)



   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. รายงานการสรุปความต้องการใช้สินค้าบริการ (Requirement Gathering)

2. รายงานการตรวจสอบการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้า บริการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรมการจัดการงานจัดซื้อ

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

3. ใบรับรองหรือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถการใช้โปรแกรมประยุกต์ที่องค์กรใช้งานหรือโปรแกรมสำเร็จรูป

4. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานจัดซื้อ

5. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานจัดซื้อ

6. ใบรับรองหรือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการสำรวจความต้องการใช้สินค้าหรือบริการ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการใช้สินค้าหรือบริการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานการรวบรวมความต้องการใช้สินค้า บริการ

2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบการจัดหมวดหมู่ การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้า บริการ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรวบรวมความต้องการใช้สินค้าหรือบริการจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ฝ่ายขายสินค้า ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายผลิตสินค้า โดยการรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายขายใช้แบบพยากรณ์ยอดขาย พยากรณ์การผลิตสินค้าจากแผนการผลิตสินค้า และปริมาณการใช้สินค้าโดยรวบรวมจากแบบฟอร์มเบิกใช้สินค้า บริการ ทำการตรวจสอบความถถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด ของข้อมูล

2. ผู้ปฏิบัติงานนำข้อมูลที่ได้จากทุกฝ่ายนำมาจัดทำทำรายงานสรุปความต้องการใช้สินค้า บริการ โดยแยกตามผู้ใช้สินค้าและบริหาร และแบบสรุปรวมทั้งหมด 

3. ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมและจัดทำรายงานประวัติการใช้สินค้า บริการ จากใบเบิกสินค้าและบริการ  

4. ผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า บริการ ทั้งด้านปริมาณระยะเวลาที่ต้องการใช้ คุณภาพของสินค้าที่ต้องการ รวมถึงปริมาณสินค้าหรือบริการที่มีการเบิกใช้ต่ำหรือสูงกว่าปริมาณที่เตรียมไว้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการวางแผนการจัดซื้อประจำปี

5. ผู้ปฏิบัติงานนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ประวัติการเบิกใช้สินค้า และความต้องการใช้สินค้าของแต่ละแผนก และทำการแยกหมวดหมู่ของสินค้า บริการ โดยแยกสินค้าที่ต้องจัดซื้อจำนวนมาก สินค้าที่ต้องจัดซื้อตามระเวลาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถวางแผนการจัดซื้อได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด และทันเวลา และมีต้นทุนการจัดซื้อที่มีต้นทุนต่ำ

6. ผู้ปฏิบัติงานกำหนดหมวดหมู่ของสินค้า และบริการที่ต้องจัดซื้อ โดยต้องมีการกำหนดเกณฑ์ในการจัดเรียงสินค้า และบริการที่ต้องจัดซื้อ เช่น จัดเรียงตามความต้องใช้ จัดเรียงตามปริมาณที่ต้องการใช้ จัดเรียงตามระยะเวลาที่ต้องการใช้ เป็นต้น

7. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
..........ไม่มี................................................................................................................................................

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
..........ไม่มี................................................................................................................................................

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การประเมินจากการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การประเมินจากการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การประเมินจากการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ