หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดอาหารพร้อมบริโภคเพื่อสุขภาพ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-RLUK-533A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดอาหารพร้อมบริโภคเพื่อสุขภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)


1 3434 หัวหน้าพ่อครัว แม่ครัว

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการจัดอาหารพร้อมบริโภคเพื่อสุขภาพ ได้แก่ การประเมินความต้องการด้านคุณค่าทางโภชนาการของกลุ่มเป้าหมาย การคัดเลือกรายการอาหารเพื่อสุขภาพ การระบุสัดส่วนอาหาร การจัดสัดส่วนอาหาร ได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food Producer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0330101

จัดรายการอาหารให้มีความหลากหลายทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ ให้เหมาะสมกับวัย และสภาวะร่างกาย

1) ประเมินความต้องการด้านคุณค่าทางโภชนาการของกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับวัย 

0330101.01 178870
0330101

จัดรายการอาหารให้มีความหลากหลายทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ ให้เหมาะสมกับวัย และสภาวะร่างกาย

2) คัดเลือกรายการอาหารเพื่อสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย 

0330101.02 178871
0330102

จัดสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุลกับความต้องการของแต่ละบุคคล (healthy balanced diet

1) ระบุสัดส่วนอาหารได้เหมาะสมกับวัยและสภาวะร่างกาย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0330102.01 178872
0330102

จัดสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุลกับความต้องการของแต่ละบุคคล (healthy balanced diet

2) จัดสัดส่วนอาหารได้เหมาะสมกับวัยและสภาวะร่างกาย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

0330102.02 178873

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ 

2) มีทักษะในการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

3) มีทักษะในการจัดทำและปรับปรุงตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ

2) มีความรู้เรื่องวัตถุดิบและคุณค่าทางโภชนาการของส่วนประกอบของตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required skills and knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )




  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือประวัติการทำงาน

  2. ผลการทดสอบความรู้ (อัตนัย)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลการทดสอบความรู้ (อัตนัย)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในทุกสมรรถนะย่อย 



(ง) วิธีการประเมิน    




  1. ผู้เข้ารับการประเมินเพื่อรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 4 จะต้องยื่นหลักฐาน การผ่านการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาโภชนาการ อาชีพผู้ปรุงประกอบอาหาร ระดับ 3

  2. ผู้ประเมินดำเนินการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย) โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

จัดรายการอาหารและจัดสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักโภชนาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

 (ก) คำแนะนำ            




  • ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถประเมินความต้องการด้านคุณค่าทางโภชนาการของกลุ่มเป้าหมาย ทำการคัดเลือกรายการอาหารเพื่อสุขภาพ ระบุสัดส่วนอาหารและจัดสัดส่วนอาหาร ตามหลักโภชนาการและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (จัดรายการอาหารให้มีความหลากหลายทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ ให้เหมาะสมกับวัย และสภาวะร่างกาย)




  • แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย)



 18.2 เครื่องมือประเมิน (จัดสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุลกับความต้องการของแต่ละบุคคล (healthy balanced diet))




  • แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย)



            

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ