หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-ZARK-009

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถเป็นที่ปรึกษาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคอมพิวเตอร์หรือApplication ด้วยการประยุกต์ความรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน สามารถให้คำแนะนำ กำหนดกรอบการศึกษาและความรู้ที่จำเป็นต่อปัญหาที่ต้องการแก้ไขในโครงงานที่ผู้เรียนสนใจ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

1) คำปรึกษาและคำแนะนำขั้นตอนวงจรการพัฒนาโปรแกรม

1010901.01 174105
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

2) คำปรึกษาและคำแนะนำกำหนดกรอบของการศึกษาได้

1010901.02 174106
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

3) คำปรึกษาและคำแนะนำการจัดทำรายงานโครงงาน

1010901.03 174107
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

4) คำปรึกษาและคำแนะนำการนำเสนอผลงาน

1010901.04 174108
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

5) กระตุ้นการคิดด้วยการตั้งคำถาม

1010901.05 174109
1010901

ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์

6) ให้ข้อมูลป้อนกลับและให้แรงเสริมทางบวก

1010901.06 174110
1010902

ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ในการทำโครงงาน

1) อธิบายภาพรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันแก่ผู้เรียน

1010902.01 174111
1010902

ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ในการทำโครงงาน

2) แนะนำเทคโนโลยีและความรู้ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาในโครงงานที่ผู้เรียนสนใจ

1010902.02 174112

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) มีความรู้ความเข้าใจในกรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

2) ความรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ความสามารถในการให้คำปรึกษาและแนะนำ

2)    ความสามารถและทักษะการบริหารโครงการและการทำงานเป็นทีม

3)    ความสามารถในการสื่อสารและการกระตุ้นจูงใจ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC)

2)    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ 

3)    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายความสำคัญและการประยุกต์ความรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

2) ระบุหรืออธิบายหลักการพัฒนาโปรแกรมตามวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC)

3) วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับออกแบบและพัฒนาโปรแกรม อาทิ เกียรติบัตรผ่านการอบรมหลักสูตร Python ที่ สสวท. จัดอบรม 



14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาเป็นผลงานของนักเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมโครงงานหรือนวัตกรรมการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ Scratch, Python ภาษาซี java, Javascript หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้

2)    ใบรับรองผลงานหรือผลการนำผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาทิ เกียรติบัตรหรือรางวัลหนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆการส่งผลงานที่เข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ 

3)    ภาพถ่ายหรือวิดีโอการเข้าร่วมแข่งขันหรือนำเสนอผลงานของนักเรียนที่ดูแล



14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถสอนและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบการเรียนที่ใช้โครงงานเป็นฐานการเรียนรู้ (Project Based Learning) และใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (Problem based Learning) ผ่านบทบาทการเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำและบริหารโครงงานร่วมกับผู้เรียน แล้วสามารถสร้างผลสรุปการเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยโครงการเป็นการจัดการศึกษาและเรียนรู้ผ่านกิจกรรมนอกเวลาเรียนที่ผู้เรียนมีความสนใจเป็นพิเศษเพื่อพัฒนาตนเองหรือจัดเก็บเป็นผลงานในแฟ้มสะสมผลงาน

วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC) คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่นักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ใช้ในการสร้างโปรแกรม โดยวงจรการพัฒนาโปรแกรมจะมีแนวทาง และขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งวงจรการพัฒนาโปรแกรมจะมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้

7.    ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)

8.    ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorithm Design)

9.    ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)

10.    ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)

11.    ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)

12.    ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ