หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอนการสร้างชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-EPZC-008

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอนการสร้างชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการสอนให้ผู้เรียนเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐานอย่างง่าย โดยให้ความรู้ด้วยวิทยาการคำนวณในการออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตรรกะและฟังก์ชัน และตัวดำเนินการบูลีนได้ กำหนดการใช้ตัวแปร คำสั่งเงื่อนไข และคำสั่งแบบวนซ้ำได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010801

ออกแบบและเขียนโปรแกรมตามชุดคำสั่งมาตรฐาน

1.สอนเขียนโปรแกรมตามชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาคอมพิวเตอร์

1010801.01 174100
1010801

ออกแบบและเขียนโปรแกรมตามชุดคำสั่งมาตรฐาน

2.ออกแบบและสร้างฟังก์ชันการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตรรกะและตัวดำเนินการบูลีนได้

1010801.02 174101
1010802

ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ  

1.สอนการออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างง่าย

1010802.01 174102
1010802

ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ  

2.สอนการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบอัลกอริทึมเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม

1010802.02 174103
1010802

ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการออกแบบเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ  

3.เลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับอัลกอริทึมที่ออกแบบเพื่อใช้เขียนโปรแกรม 

1010802.03 174104

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2) ความรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์และการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    สามารถเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์อย่างง่าย ที่มีการใช้ตัวแปร คำสั่งเงื่อนไข คำสั่งวนซ้ำ

2)    สามารถออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การใช้ตรรกะและฟังก์ชันและตัวดำเนินการบูลีนได้ มีการใช้ตัวแปร คำสั่งเงื่อนไข คำสั่งวนซ้ำ

3)    สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม อาทิ Scratch, Python ภาษาซี java, Javascript หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปร คำสั่งเงื่อนไข คำสั่งวนซ้ำ

2)    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การใช้ตรรกะและฟังก์ชัน และตัวดำเนินการบูลีนได้ 

3)    ความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม อาทิ Scratch, Python ภาษาซี java, Javascript หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายความสำคัญและการประยุกต์ความรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

2) ระบุหรืออธิบายหลักการพัฒนาโปรแกรมตามวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC)

3) วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับออกแบบและพัฒนาโปรแกรม อาทิ เกียรติบัตรผ่านการอบรมหลักสูตร Python ที่ สสวท. จัดอบรม 

14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาเป็นผลงานของนักเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมโครงงานหรือนวัตกรรมการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ Scratch, Python ภาษาซี java, Javascript หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้

2)    สื่อ ใบงาน ใบกิจกรรม ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สอดคล้องตามแผนการจัดการเรียนรู้

3)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองหรือผลการนำผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถสอนและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาคอมพิวเตอร์ในการสร้างฟังก์ชันที่มีการแนวคิดเชิงคำนวณ การใช้ตรรกะและตัวดำเนินการบูลีนในรูปแบบรหัสเทียม (Pseudo Code) ตามอัลกอริทึมที่ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย เพื่อการแก้ปัญหาหรือพัฒนาเป็นผลงานที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ อาทิ Scratch, Python ภาษาซี java, Javascript หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้

15.1 อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึง การจำลองความคิดอย่างมีเหตุผลในรูปแบบข้อความหรือแผนภาพที่แสดงเป็นขั้นตอนหรือลำดับการประมวลผลในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เป็นลำดับขั้นเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน มีตัวแปร มีเงื่อนไข และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน แล้วได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้พัฒนาโปรแกรมเห็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

15.2 ชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง รูปแบบคำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์อย่างย่อ ที่ใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudo Code) ดังแสดงตัวอย่างในตาราง


















































































การดำเนินการ



รูปแบบคำสั่ง



ความหมาย



การรับข้อมูล



Read



อ่านค่าจากแฟ้มข้อมูล



Get



รับค่าจากคีย์บอร์ดและอุปกรณ์นำเข้าอื่น ๆ



การคำนวณ



+ , - , * , / , ^



เครื่องหมายการกระทำทางคณิตศาสตร์



DIV, MOD



Div คือ การหารเพื่อตัดเศษ เช่น 10 Div 3 = 3

Mod คือ การหารเอาค่าเศษ เช่น 10 Mod 3 = 1)



< , >, <=, >=, ==, <>



เครื่องหมายการเปรียบเทียบ



การแสดงผลข้อมูล



Write



การบันทึกข้อมูลลงแฟ้มข้อมูล หรือแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล



Print



การแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์



Display



การแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ



การกำหนดค่า



Initialize, Set



กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับข้อมูลที่ใช้



 



=



กำหนดให้ค่าทางขวาของเครื่องหมายไปไว้ด้านซ้ายของเครื่องมือ



 



Save , Store



การกำหนดค่าให้กับตัวแปร



การเปรียบเทียบและทางเลือก



IF  ,Then , Else



การเปรียบเทียบค่า หรือทางเลือก



การทำงานซ้ำ



For



การทำงานซ้ำแบบกำหนดจำนวนรอบ



While



การทำงานซ้ำแบบตรวจสอบก่อนทำซ้ำ



Do…While



การทำงานซ้ำแบบทำก่อน 1 รอบแล้วตรวจสอบ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ