หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบกิจกรรม Plugged coding ให้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-DRUB-007

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบกิจกรรม Plugged coding ให้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการสอนให้ผู้เรียนเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐานอย่างง่าย โดยให้ความรู้ด้วยวิทยาการคำนวณ เพื่อใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง และการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ความรู้กิจกรรม Plugged coding เพื่อนำไปพัฒนาผลงานในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างนวัตกรรมอื่นๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010701

จัดกิจกรรมการคิดเชิงคำนวณด้วยรูปแบบ Plugged coding

1) จัดกิจกรรมให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ

1010701.01 174094
1010701

จัดกิจกรรมการคิดเชิงคำนวณด้วยรูปแบบ Plugged coding

2) จัดกิจกรรมให้นักเรียนสามารถใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ไขปัญหา บูรณาการการเขียนโปรแกรม การคาดการณ์ผลลัพธ์ การตรวจข้อผิดพลาด

1010701.02 174095
1010702

กิจกรรมความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาการคอมพิวเตอร์

1) จัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เน้นในด้านระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุม

1010702.01 174096
1010702

กิจกรรมความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาการคอมพิวเตอร์

2) จัดกิจกรรมให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การให้บริการหรือคมนาคมที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

1010702.02 174097
1010703

จัดกิจกรรมในรูปแบบโครงงานในชั้นเรียน

1) มีวิธีการและรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

1010703.01 174098
1010703

จัดกิจกรรมในรูปแบบโครงงานในชั้นเรียน

2) ให้คำแนะนำนักเรียนในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

1010703.02 174099

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) มีความรู้ความเข้าใจในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2) ความรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์และการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีความสามารถในเทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณแบบ Plugged coding 

2)    มีทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน อาทิ Scratch, Python ภาษาซี หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้

3)    มีทักษะในการออกแบบและจัดกิจกรรม วิธีการสอนวิทยาการคำนวณแบบ Plugged coding 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

2)    ความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาทิ Scratch, Python ภาษาซี หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้

3)    ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายความสำคัญและการประยุกต์ความรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

2) ระบุหรืออธิบายหลักการพัฒนาโปรแกรมตามวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC)

3) วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน อาทิ Scratch, Python ภาษาซี หรือภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้



14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    ผลงานโครงงานหรือชิ้นงานของนักเรียนจากชั้นเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมและประเมินผล จากรายวิชาที่สอนแบบ Plugged coding  

2)    หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณแบบ Plugged coding

3)    สื่อ ใบงาน ใบกิจกรรม ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สอดคล้องตามแผนการจัดการเรียนรู้

14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถสอนและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐานอย่างง่าย โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการคำนวณ และใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เชื่อมโยงกับการใช้แก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง 

15.1 Plugged coding หมายถึง การเรียนการสอนในวิชาวิทยาการคำนวณจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตจริง หรือพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย

15.2 วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle : PDLC) คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่นักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ใช้ในการสร้างโปรแกรม โดยวงจรการพัฒนาโปรแกรมจะมีแนวทาง และขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งวงจรการพัฒนาโปรแกรมจะมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้

1.    ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)

2.    ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorithm Design)

3.    ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)

4.    ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)

5.    ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)

6.    ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)

คำแนะนำ

1)    ผู้สอนทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามสภาพจริง ดูผลจากการปฏิบัติงานและพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

2)    ผู้สอนทำการประเมินระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียน

3)    ผู้สอนทำการประเมินผลหลังการเรียน ด้วยการทดสอบวัดความรู้และทักษะ การประเมินผลงาน ประเมินโครงงานหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายของผลการเรียนรู้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ