หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้าง พัฒนาสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-LTPK-006

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้าง พัฒนาสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถ วิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์วัตถุประสงค์ วิเคราะห์เนื้อหา ออกแบบบทเรียน ออกแบบการดำเนินบทเรียน ออกแบบหน้าจอภาพ เตรียมองค์ประกอบสื่อ/แหล่งเรียนรู้ สร้าง พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ นำสื่อและแหล่งเรียนรู้ไปใช้ ประเมินผลการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ปรับประยุกต์สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทำให้ผู้เรียนสร้างนวัตกรรมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010601

วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้และออกแบบสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ ตามความแตกต่างของบริบทพื้นที่การศึกษา

1) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

1010601.01 174089
1010601

วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้และออกแบบสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ ตามความแตกต่างของบริบทพื้นที่การศึกษา

2) ออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้

1010601.02 174090
1010601

วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้และออกแบบสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ ตามความแตกต่างของบริบทพื้นที่การศึกษา

3) สร้างสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบไว้

1010601.03 174091
1010602

ประเมินผลการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

1) การทำแบบบันทึกข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน หลังการใช้สื่อ

1010602.01 174092
1010602

ประเมินผลการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

2) นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาให้สื่อการสอนมีคุณภาพสูงขึ้น และทันสมัย

1010602.02 174093

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

 1) มีความรู้ความเข้าใจในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการสร้างสื่อการสอน อาทิ ADDIE Model

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ความสามารถในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการ สร้างสื่อและแหล่งเรียนรู้

2)    ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3)    ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ

4)    ความสามารถในด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) 

5)    ความสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ อาทิ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการนำเสนอ และโปรแกรมตารางคำนวณ

6)    ความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการออกแบบพัฒนาและสร้างสื่อและแหล่งเรียนรู้

2)    ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการใช้และปรับปรุงสื่อและแหล่งเรียนรู้

3)    ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4)    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัล (Computer Science)

5)    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

6)    ความรู้เกี่ยวกับการรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ระบุหรืออธิบายหลักการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการออกแบบพัฒนาและสร้างสื่อและแหล่งเรียนรู้

2)    ระบุหรืออธิบายหลักการประเมินการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

3)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับออกแบบ พัฒนา และสร้างสื่อการสอน

14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แสดงผลงานหรือชิ้นงานของสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้สำหรับรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณและภาคอมพิวเตอร์

2)    รายงานการประเมินผลการใช้สื่อการสอนสำหรับรายวิชาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

3)    ใบรับรองผลงานหรือผลการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสื่อการสอนที่เกี่ยวกับที่เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต้นสังกัด, สสวท. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ สถานศึกษา

14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถวิเคราะห์ในกรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แล้วถอดบทเรียนในรายวิชาเพื่อออกแบบ พัฒนา สร้างสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้สำหรับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ ตามแนวทางของ สสวท. ที่ผู้สอนออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ โดยสื่อในที่นี่อาจเป็นสื่อที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม อาทิ เครื่องมืออุปกรณ์หรือวัตถุ (Hardware) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) เกมหรือกิจกรรม (Game or Activity) เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ