หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-XWXN-005

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในในการออกแบบกระบวนการวัดและประเมินเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา (Formative Assessment) การสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) ในเชิงคุณภาพของผู้เรียนวิทยาการคำนวณ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010501

วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา (Formative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

1) ออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้

1010501.01 174083
1010501

วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา (Formative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

2) ใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การทดสอบ การสังเกตพฤติกรรม การสอบปากเปล่า การสัมภาษณ์หรือการซักถาม การเขียนสะท้อนการเรียนรู้

1010501.02 174084
1010501

วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา (Formative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

3) การประเมินภาคปฏิบัติ ใช้การการประเมินด้วยเครื่องมือประเมิน อาทิ แฟ้มสะสมงาน การประเมินตนเอง การประเมินตามสภาพจริง  โดยต้องวัดและประเมินผลผู้เรียนในแต่ละช่วงเวลาของการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

1010501.03 174085
1010502

วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

1) กำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้และสามารถสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน /หลักสูตร

1010502.01 174086
1010502

วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

2) ใช้วิธีการหรือรูปแบบการทดสอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับจำนวนและความพร้อมของผู้เรียน เช่น การใช้โปรแกรมทดสอบสำเร็จรูปในการทดสอบแบบออนไลน์ที่สะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง การส่งรายงานหรือโครงงาน

1010502.02 174087
1010502

วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

3) จัดทำเครื่องมือวัดประเมินตามมาตรฐานและตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ อาทิ ชุดข้อสอบหรือแบบทดสอบ

1010502.03 174088

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ความเข้าใจในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ความสามารถหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลได้

2)    ความสามารถออกแบบวิธีการวัดและประเมินผลได้

3)    ความสามารถในการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาการคำนวณและการคิดเชิงคำนวณ

4)    ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5)    ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ

6)    ความสามารถในด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) 

7)    ความสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ อาทิ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการนำเสนอ และโปรแกรมตารางคำนวณ

8)    ความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

2)    ความรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามหลักศึกษาศาสตร์ 

3)    ความรู้เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้

4)    ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5)    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัล (Computer Science)

6)    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

7)    ความรู้เกี่ยวกับการรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    อธิบายหรือระบุความรู้เกี่ยวกับการเนื้อหาการสอนวิทยาการคำนวณและการคิดเชิงคำนวณตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของผู้เรียนตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน

2)    ระบุหรืออธิบายการเลือกและกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล อาทิ แบบสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินในการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้

3)    รายงานหรือผลวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล 

4)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แสดงแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดวิธีการวัดและประเมินผล

2)    เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลตามแผนการจัดการการเรียนรู้

3)    หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ในระดับชั้นการศึกษาที่รับผิดชอบ

4)    แฟ้มสะสมผลงานของผู้สอนและผู้เรียน

5)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองหรือผลการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาครูผู้สอนที่เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต้นสังกัด, สสวท. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ สถานศึกษา

14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถปฏิบัติการวัดและประเมินผู้เรียนในการสอนวิทยาการคำนวณ วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา (Formative Assessment) วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง โดยเชื่อมโยงกับจัดแผนการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน

15.1 วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา (Formative Assessment) หมายถึง วัดและประเมินเพื่อการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง

15.2 วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) หมายถึง วัดและประเมินผลเพื่อสรุปผลการเรียนรู้คุณภาพผู้เรียนวิทยาการคำนวณ ระหว่างการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน/หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง    

ข้อแนะนำ

1.    จัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัด และหลักสูตร แล้วออกแบบการจัดการเรียนรู้ วางแผน เขียนแผนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ชุมชน สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

2.    จัดทำแนวทางการพัฒนาตนเองของผู้เรียน มีการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้หรือแหล่งข้อมูลในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน เพื่อมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติงาน แล้วจัดส่งข้อมูลผลการประเมินย้อนกลับไปให้ครูผู้สอนผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ 

3.    ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา สร้าง เครื่องมือวัดและประเมินผล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ