หน่วยสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์
สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | CC-KVGC-004 |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2565 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถการในวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณแบบ Unplugged coding เพื่อสร้างแนวคิดและความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการใช้กิจกรรม การเล่นสนุก อาทิ บัตรคำ ปริศนา เกม กระดาน ดินสอสี อุปกรณ์ และสิ่งรอบตัวมาประกอบกันเพื่อเป็นสื่อในการแก้ปัญหา ทำให้เกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจในหลักการพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการคำนวณ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน คิดเป็นระบบ การคิดเชิงตรรกะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นไปตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 |
---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
1010401 จัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ |
1) ออกแบบกิจกรรมที่ฝึกกระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน |
1010401.01 | 174072 |
1010401 จัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ |
2) ออกแบบกิจกรรมที่ฝึกการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ |
1010401.02 | 174073 |
1010401 จัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ |
3) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม |
1010401.03 | 174074 |
1010401 จัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ |
4) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ |
1010401.04 | 174075 |
1010401 จัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ |
5) จัดหาหรือจัดทำสื่อการเรียนการสอนกิจกรรม Unplugged เพื่อฝึกให้ผู้เรียนแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน |
1010401.05 | 174076 |
1010402 จัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล |
1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และอธิบายการทำงานของระบบเบื้องต้นได้ |
1010402.01 | 174077 |
1010402 จัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล |
2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง |
1010402.02 | 174078 |
1010402 จัดกิจกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล |
3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคมที่อยู่ในชีวิตประจำวัน |
1010402.03 | 174079 |
1010403 จัดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร |
1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น |
1010403.01 | 174080 |
1010403 จัดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร |
2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้เท่าทันและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ |
1010403.02 | 174081 |
1010403 จัดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร |
3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเพื่อส่งเสริมนักเรียนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ และป้องกันตนเองจากภัยของการรับข่าวสารบนโลกออนไลน์ |
1010403.03 | 174082 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีความรู้ความเข้าใจในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) ความสามารถในสอนวิทยาการคำนวณแบบ Unplugged coding (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 14.3 คำแนะนำในการประเมิน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ผู้สอนสามารถปฏิบัติการสอนวิทยาการคำนวณในรูปแบบ Unplugged coding โดยเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน โดยจัดแผนการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ |