หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-IGXM-002

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แบ่งผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตรที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด สอดคล้องกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ นำแผนไปปฏิบัติได้จริง มีกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย เขียนบันทึกหลังสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และนำผลมาปรับประยุกต์แผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010201

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตร

1) วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อแบ่งผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ (ตามหลักศึกษาศาสตร์)

1010201.01 174062
1010201

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตร

2) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตรที่มีองค์ประกอบตามรูปแบบที่หน่วยงานกำหนด 

1010201.02 174063
1010201

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตร

3) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และสามารถนำแผนไปปฏิบัติได้จริง ภายใต้บริบททรัพยากรของสถานศึกษา

1010201.03 174064
1010202

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1) เขียนแผนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1010202.01 174065
1010202

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2) จัดการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยวิธีการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์

1010202.02 174066
1010202

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ที่แสดงหลักฐานผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1010202.03 174067

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ความเข้าใจในกรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ความสามารถในการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาการคำนวณและการคิดเชิงคำนวณ

2)    ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3)    ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ

4)    ความสามารถในด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) 

5)    ความสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ อาทิ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการนำเสนอ และโปรแกรมตารางคำนวณ

6)    ความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามหลักศึกษาศาสตร์ 

2)    ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

3)    ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4)    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัล (Computer Science)

5)    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

6)    ความรู้เกี่ยวกับการรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    อธิบายหลักการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

2)    อธิบายหลักการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

3)    อธิบายกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ อาทิ หลักฐานการผ่านการอบรม C4T หรือ C4T Plus

14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 แผนการจัดการเรียนรู้ 

14.3     คำแนะนำในการประเมิน

     เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถปฏิบัติการสอนวิทยาการคำนวณ โดยเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน โดยจัดแผนการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน

15.1 แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการในการปฏิบัติการสอนที่ผู้สอนจัดทำขึ้น ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง  และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

15.2 กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือผู้เรียนและผู้สอนเป็นผู้ร่วมกันกระทำเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ได้กำหนดไว้

15.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง  ค้นหาข้อมูลและแสวงหาความรู้บนอินเทอร์เน็ต การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

15.4 ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ข้อแนะนำ

1.    จัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัด และหลักสูตร แล้วออกแบบการจัดการเรียนรู้ วางแผน เขียนแผนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ชุมชน สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

2.    ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ หลักสูตร C4T, C4T Plus

3.    เขียนบันทึกหลังการสอนเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และมีแนวทางการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ